ระนอง-สาธารณสุขจังหวัดระนอง เตือนนายจ้างให้พาแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ไปตรวจสุขภาพ ตามกำหนด
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชาที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2552ให้ไปตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2552 ณโรงพยาบาลระนอง และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งที่ใกล้บ้านซึ่งควรไปทำตั้งแต่เนิ่น ๆอย่ารอให้ถึงใกล้วันบัตรหมดอายุเพราะจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกเจ้าหน้าที่ตรวจไม่ทันและต้องนำเอกสารต่าง ๆ ไปด้วย
ได้แก่ ใบอนุญาตทำงานหรือใบ ทร.38/1บัตรประกันสุขภาพเดิม รูปถ่ายขนาด1 นิ้ว 2 รูป เงินค่าตรวจสุขภาพ จำนวน600 บาท ค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่าโรคระบาดที่พบในแรงงานต่างด้าวมากที่สุดในปัจจุบันคือวัณโรคหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องก็จะไม่หายขาดโดยเฉพาะแรงงานในเรือประมงที่ต้องออกทะเลซึ่งในแต่ละปีสำนักงานสาธารณสุขต้องเสียงบประมาณในการดูแลรักษาแรงงานต่างด้าวที่เจ็บป่วยและไม่สามารถเรียกเก็บได้ไม่น้อยกว่า10 ล้านบาท
อย่างเช่นปีนี้เพียงแค่ 6 เดือนใช้เงินไปแล้ว 5,800,000 บาทซึ่งยังไม่รวมถึงงบประมาณที่ต้องใช้ในการออกไปควบคุมโรคในพื้นที่เมื่อมีการระบาดของโรคต่างๆ ทั้งนี้จังหวัดระนองมีแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ใบอนุญาตหมดอายุวันที่ 30มิถุนายน 2552 จำนวน 18,494 คน
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชาที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2552ให้ไปตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2552 ณโรงพยาบาลระนอง และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งที่ใกล้บ้านซึ่งควรไปทำตั้งแต่เนิ่น ๆอย่ารอให้ถึงใกล้วันบัตรหมดอายุเพราะจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกเจ้าหน้าที่ตรวจไม่ทันและต้องนำเอกสารต่าง ๆ ไปด้วย
ได้แก่ ใบอนุญาตทำงานหรือใบ ทร.38/1บัตรประกันสุขภาพเดิม รูปถ่ายขนาด1 นิ้ว 2 รูป เงินค่าตรวจสุขภาพ จำนวน600 บาท ค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่าโรคระบาดที่พบในแรงงานต่างด้าวมากที่สุดในปัจจุบันคือวัณโรคหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องก็จะไม่หายขาดโดยเฉพาะแรงงานในเรือประมงที่ต้องออกทะเลซึ่งในแต่ละปีสำนักงานสาธารณสุขต้องเสียงบประมาณในการดูแลรักษาแรงงานต่างด้าวที่เจ็บป่วยและไม่สามารถเรียกเก็บได้ไม่น้อยกว่า10 ล้านบาท
อย่างเช่นปีนี้เพียงแค่ 6 เดือนใช้เงินไปแล้ว 5,800,000 บาทซึ่งยังไม่รวมถึงงบประมาณที่ต้องใช้ในการออกไปควบคุมโรคในพื้นที่เมื่อมีการระบาดของโรคต่างๆ ทั้งนี้จังหวัดระนองมีแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ใบอนุญาตหมดอายุวันที่ 30มิถุนายน 2552 จำนวน 18,494 คน