พัทลุง – ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงประกาศยุทธศาสตร์ 5 รั้วเกราะป้องกันยาเสพติด เพราะยาเสพติดมีพิษภัยต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งในวัยแรงงาน เยาวชนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
วันนี้ (21 มิ.ย.) นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ปัญหายาเสพติดต้องควบคุมดูแลอย่างจริงจัง และใกล้ชิดเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด “5 รั้วป้องกัน” คือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ให้การปฏิบัติบังเกิดผล และบรรลุเป้าหมาย เพราะยาเสพติดมีพิษภัยต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งในวัยแรงงาน เยาวชนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
ครอบครัววงศ์ตระกูล ต้องเดือดร้อนเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการกระทำของบุคคลในครอบครัวที่ติดยาเสพติด นอกจากนั้นยังทำให้คนในชุมชนเดือดร้อน ระแวงภัยจากผู้ติดยาเพสติด ซึ่งเป็นการสร้างปัญหาให้กับสังคม ประการสำคัญ ประเทศ ที่มีพลเมืองติดยาเสพติดมากพลเมืองจะขาดคุณภาพ ประเทศจะขาดการพัฒนาและเสื่อมถอย จึงถือได้ว่ายาเสพติดมีผลกระทบร้ายแรงทั้งผู้เสพ ครอบครัว ชุมชน สังคม และความมั่นคงของประเทศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงยังกล่าวอีกว่า ตนจึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์ “5 รั้ว” อย่างจริงจัง โดยมีพลังประชาชนเป็นพลังแผ่นดินที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติให้บังเกิดผลและบรรลุเป้าหมายโดย
รั้วแรก คือ รั้วชายแดน ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการผลิตภายในประเทศ แต่เกิดขึ้นจากการผลิตในประเทศใกล้เคียงหรือประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีรั้วป้องกันไม่ให้เข้ามา ภารกิจนี้กองบัญชาการกองทัพไทย กอ.รมน. กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักหรือบทบาทสำคัญในการสกัดกั้น โดยมีพลังของชุมชนตามแนวชายแดนเป็นแนวร่วมที่สำคัญในการสกัดกั้นยาเสพติดไม่ให้ทะลักเข้ามา
รั้วที่สอง คือ รั้วชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้เกิดจากความอ่อนแอของหมู่บ้านและชุมชน ถ้าหากหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหานี้ก็จะสามารถทำได้ง่าย ภารกิจนี้กระทรวงมหาดไทย กอ.รมน. ทั้งระดับภาค ระดับจังหวัด สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกันดำเนินงาน โดยมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญ
นอกจากนั้นต้องมี ระบบอาสาสมัคร ด้วยการอาศัยภาคประชาสังคม และองค์กรภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยการปลุกจิตสาธารณะของคนทุกกลุ่มในการสร้างรั้วให้กับชุมชนเพื่อป้องกันยาเสพติดไม่ให้เข้าสู่ชุมชนได้
รั้วที่สาม คือ รั้วสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเด็กและเยาวชน ซึ่งเด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้น เกิดจากหลายพื้นที่ในสังคม ที่ดึงให้คนเหล่านี้เข้าไปพัวพันกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง สถานบริการที่ผิดกฎหมาย หอพักที่ถูกใช้เป็นแหล่งมั่วสุม ร้านเกมส์ ร้านอินเทอร์เน็ต โต๊ะสนุกเกอร์ โต๊ะพนันบอล หรือการมั่วสุมในเรื่องของแก็งค์มอเตอร์ไซค์
ไปจนถึงเรื่องของการเที่ยวเตร่เวลากลางคืน นับเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่อนทำลายเยาวชนและดึงเข้าไปสู่ในเรื่องของยาเสพติด การแก้ปัญหาเหล่านี้สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างพื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ให้เยาวชน ที่ต้องใช้ทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการและอีกหลายหน่วยงานเพื่อเพิ่มพื้นที่บวก เช่น ลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรม ห้องสมุด ศูนย์เยาวชน ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ
รั้วที่สี่ คือ รั้วโรงเรียน นับเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกฝังและการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเด็กนักเรียนและเยาวชน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องของการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักสูตร เรื่องคุณภาพของครู เพื่อที่จะให้โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการสร้างคนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นในส่วนของรั้วที่เกี่ยวข้องของโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รั้วที่ห้า คือ รั้วครอบครัว นับเป็นหน่วยพื้นฐานที่สุด ถ้าสามารถทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง เป็นหน่วยทางสังคมที่มีความพร้อมในการดูแลคนหรือสมาชิกในครอบครัวอย่างแท้จริงปัญหาต่างๆ ก็จะเบาบางลงไป
นายวิญญูยังกล่าวอีกว่า คงไม่มีใครต้องการเห็นลูกหลานตกเป็นทาสยาเสพติดและคงไม่มีใครต้องการเห็นประเทศชาติต้องอ่อนแอล่มจมเพราะยาเสพติด ดังนั้น การแก้ปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่ภารกิจของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ภารกิจของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันสร้างรั้วป้องกันเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่มหันตภัยจากยาเสพติดจะคืบคลานมาถึงตัวท่านหรือบุคคลในครอบครัว
วันนี้ (21 มิ.ย.) นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ปัญหายาเสพติดต้องควบคุมดูแลอย่างจริงจัง และใกล้ชิดเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด “5 รั้วป้องกัน” คือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ให้การปฏิบัติบังเกิดผล และบรรลุเป้าหมาย เพราะยาเสพติดมีพิษภัยต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งในวัยแรงงาน เยาวชนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
ครอบครัววงศ์ตระกูล ต้องเดือดร้อนเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการกระทำของบุคคลในครอบครัวที่ติดยาเสพติด นอกจากนั้นยังทำให้คนในชุมชนเดือดร้อน ระแวงภัยจากผู้ติดยาเพสติด ซึ่งเป็นการสร้างปัญหาให้กับสังคม ประการสำคัญ ประเทศ ที่มีพลเมืองติดยาเสพติดมากพลเมืองจะขาดคุณภาพ ประเทศจะขาดการพัฒนาและเสื่อมถอย จึงถือได้ว่ายาเสพติดมีผลกระทบร้ายแรงทั้งผู้เสพ ครอบครัว ชุมชน สังคม และความมั่นคงของประเทศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงยังกล่าวอีกว่า ตนจึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์ “5 รั้ว” อย่างจริงจัง โดยมีพลังประชาชนเป็นพลังแผ่นดินที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติให้บังเกิดผลและบรรลุเป้าหมายโดย
รั้วแรก คือ รั้วชายแดน ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการผลิตภายในประเทศ แต่เกิดขึ้นจากการผลิตในประเทศใกล้เคียงหรือประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีรั้วป้องกันไม่ให้เข้ามา ภารกิจนี้กองบัญชาการกองทัพไทย กอ.รมน. กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักหรือบทบาทสำคัญในการสกัดกั้น โดยมีพลังของชุมชนตามแนวชายแดนเป็นแนวร่วมที่สำคัญในการสกัดกั้นยาเสพติดไม่ให้ทะลักเข้ามา
รั้วที่สอง คือ รั้วชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้เกิดจากความอ่อนแอของหมู่บ้านและชุมชน ถ้าหากหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหานี้ก็จะสามารถทำได้ง่าย ภารกิจนี้กระทรวงมหาดไทย กอ.รมน. ทั้งระดับภาค ระดับจังหวัด สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกันดำเนินงาน โดยมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญ
นอกจากนั้นต้องมี ระบบอาสาสมัคร ด้วยการอาศัยภาคประชาสังคม และองค์กรภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยการปลุกจิตสาธารณะของคนทุกกลุ่มในการสร้างรั้วให้กับชุมชนเพื่อป้องกันยาเสพติดไม่ให้เข้าสู่ชุมชนได้
รั้วที่สาม คือ รั้วสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเด็กและเยาวชน ซึ่งเด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดนั้น เกิดจากหลายพื้นที่ในสังคม ที่ดึงให้คนเหล่านี้เข้าไปพัวพันกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง สถานบริการที่ผิดกฎหมาย หอพักที่ถูกใช้เป็นแหล่งมั่วสุม ร้านเกมส์ ร้านอินเทอร์เน็ต โต๊ะสนุกเกอร์ โต๊ะพนันบอล หรือการมั่วสุมในเรื่องของแก็งค์มอเตอร์ไซค์
ไปจนถึงเรื่องของการเที่ยวเตร่เวลากลางคืน นับเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่อนทำลายเยาวชนและดึงเข้าไปสู่ในเรื่องของยาเสพติด การแก้ปัญหาเหล่านี้สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างพื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ให้เยาวชน ที่ต้องใช้ทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการและอีกหลายหน่วยงานเพื่อเพิ่มพื้นที่บวก เช่น ลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรม ห้องสมุด ศูนย์เยาวชน ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ
รั้วที่สี่ คือ รั้วโรงเรียน นับเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกฝังและการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเด็กนักเรียนและเยาวชน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องของการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักสูตร เรื่องคุณภาพของครู เพื่อที่จะให้โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการสร้างคนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นในส่วนของรั้วที่เกี่ยวข้องของโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รั้วที่ห้า คือ รั้วครอบครัว นับเป็นหน่วยพื้นฐานที่สุด ถ้าสามารถทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง เป็นหน่วยทางสังคมที่มีความพร้อมในการดูแลคนหรือสมาชิกในครอบครัวอย่างแท้จริงปัญหาต่างๆ ก็จะเบาบางลงไป
นายวิญญูยังกล่าวอีกว่า คงไม่มีใครต้องการเห็นลูกหลานตกเป็นทาสยาเสพติดและคงไม่มีใครต้องการเห็นประเทศชาติต้องอ่อนแอล่มจมเพราะยาเสพติด ดังนั้น การแก้ปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่ภารกิจของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ภารกิจของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันสร้างรั้วป้องกันเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่มหันตภัยจากยาเสพติดจะคืบคลานมาถึงตัวท่านหรือบุคคลในครอบครัว