สตูล – จังหวัดสตูลเร่งกวาดล้างแรงงานต่างด้าว หลังพบยังคงมีเดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มีคนไทยรับจ้างเป็นนายหน้าจัดหาแรงงานต่างด้าว จัดหางานให้โดยแรงงานจะถูกหักค่าหัวคิว ในการเดินทางเข้ามาทำงาน ในโรงงาน และเป็นลูกเรือประมง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดสตูลเป็นเส้นทางหนึ่งที่มีกลุ่มแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะส่วนใหญ่จะเข้ามาเป็นแรงชาวประมง รองลงมา คือ การเป็นลูกจ้างตามโรงงานใหญ่ๆ ภายใน จ.สตูล
ในขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารร้อย ร.5021 จ.สตูล ติดตามการขบวนการของกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ตลอด พร้อมจากการสืบทราบผลของขบวนการเหล่านี้ที่มีการลักลอบขนเข้ามาทำงานโดย ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยที่รับจ้างเป็นนายหน้า จัดหาแรงงานต่างด้าวจัดหางานให้ ซึ่งจะต้องมีข้อตกลงระหว่างแรงงานกับชาวต่างด้าว ที่อยากจะเดินทางเข้ามาทำงานใน จ.สตูล หรือประเทศเพื่อนบ้าน และต้องยอมแลกกับความเสี่ยงที่จะถูกจับ และถูกหักค่าหัวคิวในการเดินทางเข้ามาทำงานตามโรงงาน และเป็นลูกเรือประมง
ล่าสุด พ.ท.สุรเทพ หนูแก้ว ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 5 ส่วนหน้า (ผบ.ฉก.ร.5 สน.) พร้อมกำลัง ร.อ.จตุพร ธานีพัฒน์ ผบ.ร้อย ร.5021 สตูล นำกำลังเจ้าหน้าที่ทหารปิดล้อมเข้าตรวจโรงงานอิฐเอสทีซี ต.ควนขัน อ.เมือง จ.สตูล สามารถจับกุมตัวแรงงานต่างด้าวสองผัวเมียได้ขณะอยู่ภายในบ้านพักคนงาน ทราบชื่อ นางเอ๋ อายุ 32 ปี เป็นชาวมอญ และ นายอาชานวิน อายุ 25 ปี ชาวพม่า ทั้งคู่มีภูมิลำเนาอยู่ นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงควบคุมตัวในข้อหา “หลบหนีเข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต”
พร้อมกันนี้ นางเอ๋ เล่าว่า ตนได้เดินทางเข้ามาทำงานที่ อ.แม่สอด จ.ตาก มาเป็นเวลานานถึง 7 ปีแล้ว โดยทำอาชีพค้าขายภายในโรงงาน และไม่เคยถูกจับกุมเลย เพราะมีบัตรแรงงาน จนเข้าสู่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาได้ตัดสินใจเดินทางมาทำงานที่โรงอิฐจังหวัดสตูล เพราะสามีคือนายอาชานวิน ชักชวน โดยบอกว่าที่สตูลมีเพื่อน ซึ่งเป็นชาวพม่าเข้ามาทำอยู่ก่อนแล้ว และได้รับรายได้ดี จึงเดินทางเข้ามาดังกล่าว
ทั้งนี้ ตนได้เดินทางมากับรถทัวร์จากแม่สอด จ.ตาก มาถึงกรุงเทพฯนั่งรถทัวร์ต่อมาจนถึงสตูล โดยมีนายหน้าจัดการซื้อตั๋วให้ และต้องเสียเงินให้กับนายหน้าคนละ 3,500 บาท สองคนสามีภรรยาเป็นเงิน 7,000 บาท หากคิดจะเดินกลับบ้าน ก็ต้องติดต่อนายหน้าให้มารับตัวกลับซึ่งต้องเสียเงินให้อีกคนละ 3,500 บาท เช่นกัน
สำหรับการเข้ามาทำงานที่โรงอิฐแห่งนี้ นางเอ๋ เล่าอีกว่า ได้รับค่าจ้างวันละ 230 บาท คิดเป็นค่าเงินพม่าจำนวน 9,000 จัต ซึ่งการเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะมีเงินเหลือเก็บเพราะไม่ต้องเสียค่าที่พัก ทั้งนี้ หากจะส่งกลับบ้านก็ต้องเสียค่าส่งอีกพันละ 50 บาท (เงิน 1,000 บาท เสีย 50 บาท) ซึ่งมีนายหน้าคนไทยเป็นคนจัดส่งให้ เรียกกลุ่มนี้ว่า “โพยก๊วน” (นายหน้ารับเงินเพื่อส่งกลับบ้านให้แก่ลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือค่าหัวคิว )
สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในโรงอิฐแห่งนี้ นางเอ๋ เผยว่า ได้ใช้ความไวหลบหนีเจ้าหน้าที่ไปหมดแล้ว และไม่ทราบที่อยู่ของกลุ่มดังกล่าว และถ้าคิดทำงานในประเทศไทยจะต้องเป็นคนขยันและไม่ขี้เกียจ แต่ถ้าอู้งานก็จะถูกหักเงิน และส่งขายต่อไปประเทศเพื่อนบ้าน
ด้าน พ.ท.สุรเทพ หนูแก้ว ผบ.ทหารร้อย ร.5021 ส่วนหน้า กล่าวว่า ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสตูลนั้น ยังไม่ใช่ปัญหาโดยตรง เพียงแต่จำนวนแรงงานต่างด้าวนั้นมีจำนวนพอสมควรซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกเรือประมง ซึ่งทางจังหวัดเองก็ได้มีการทำบัตรขึ้นทะเบียนให้มีบัตรประจำแรงงาน จังหวัดสตูลนั้นมีแรงงานต่างด้าวอยู่ประมาณกว่า 1,000 คน โดยทางทหารเองได้มีการเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหนของแรงงานที่เข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ในส่วนที่ไม่ขึ้นทะเบียน ก็ถือว่าเป็นแรงงานเถื่อนจะมีการจับกุม และดำเนินการตามกฎหมาย
สำหรับการออกตรวจ จะมีการรวบรวมข้อมูลในขั้นต้นโดยจะเข้าไปตรวจสอบกับกิจการต่างๆโดยเฉพาะ พ่อค้า นักธุรกิจที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามา ถ้าเป็นแรงงานเถื่อนก็จะมีการจับกุมและผลักดันออกไป
สำหรับการเดินทางเข้ามาของแรงงานต่างด้าว พ.ท.สุรเทพ หนูแก้ว กล่าวอีกว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย ก็ได้เรียกแรงงานต่างด้าว เพื่อมาใช้งานตามกิจการต่างๆ ต้องการ ถ้าไม่มีการขึ้นทะเบียนก็เรียกแรงงานเถื่อน สำหรับแรงงานเถื่อนที่ผิดกฎหมายส่วนใหญ่ที่เข้ามาจะเข้ามาทางเรือประมง ซึ่งจะเข้ามาเป็นลูกจ้างของเรือประมงเป็นส่วนใหญ่
การเดินทางมาก็ปกติจะเดินทางมาเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีสัมภาระเข้ามามากๆ ก็ต้องรวบรวมเงินมาในส่วนของคนที่ต้องการมาทำงาน ส่วนการเข้ามานั้นน่าจะมีคนที่นำพาเข้ามา ซึ่งขณะนี้ทางทหาร ทางจังหวัด ก็ต้องมีการตรวจสอบ และได้ชี้แจงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยและความมั่นคงของไทย ที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวที่ไม่ขึ้นทะเบียน โดยขณะนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ไม่รุนแรง เนื่องจากมีการควบคุมที่เป็นระบบและระเบียบที่ชัดเจน
สำหรับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ขอใบอนุญาตทำงาน ข้อมูล ณวันที่ 25 เม.ย.2552 จำนวนทั้งสิ้น 791 ราย แบ่งเป็นพม่า 750 ราย ลาว 29 ราย และกัมพูชา 12 ราย ในส่วนสถิติผลการจับกุมผู้กระทำผิด ตาม พ.ร.บ.2522 ปี 2551 ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล จำนวนรวม 389 คน สัญชาติพม่า 293 คน สัญชาติลาว 6 คน สัญชาติกัมพูชา 78 คน มาเลเซีย 1 คน ไร้สัญชาติอีก 1 คน
สถิติผลการส่งกลับผู้กระทำผิด พ.ร.บ.2522 ปี 2551 ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล รวม 495 คน แบ่งเป็นพม่า 382 คน ลาว 8 คน กัมพูชา 99 คน เวียดนาม 1 คน และมาเลเซีย 5 คน สำหรับสถิติผลการจับกุมผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.2522 ปี 2552 ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูลจำนวน 20 คน แบ่งเป็นพม่า 5 คน กัมพูชา 15 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดสตูลเป็นเส้นทางหนึ่งที่มีกลุ่มแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะส่วนใหญ่จะเข้ามาเป็นแรงชาวประมง รองลงมา คือ การเป็นลูกจ้างตามโรงงานใหญ่ๆ ภายใน จ.สตูล
ในขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารร้อย ร.5021 จ.สตูล ติดตามการขบวนการของกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ตลอด พร้อมจากการสืบทราบผลของขบวนการเหล่านี้ที่มีการลักลอบขนเข้ามาทำงานโดย ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยที่รับจ้างเป็นนายหน้า จัดหาแรงงานต่างด้าวจัดหางานให้ ซึ่งจะต้องมีข้อตกลงระหว่างแรงงานกับชาวต่างด้าว ที่อยากจะเดินทางเข้ามาทำงานใน จ.สตูล หรือประเทศเพื่อนบ้าน และต้องยอมแลกกับความเสี่ยงที่จะถูกจับ และถูกหักค่าหัวคิวในการเดินทางเข้ามาทำงานตามโรงงาน และเป็นลูกเรือประมง
ล่าสุด พ.ท.สุรเทพ หนูแก้ว ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 5 ส่วนหน้า (ผบ.ฉก.ร.5 สน.) พร้อมกำลัง ร.อ.จตุพร ธานีพัฒน์ ผบ.ร้อย ร.5021 สตูล นำกำลังเจ้าหน้าที่ทหารปิดล้อมเข้าตรวจโรงงานอิฐเอสทีซี ต.ควนขัน อ.เมือง จ.สตูล สามารถจับกุมตัวแรงงานต่างด้าวสองผัวเมียได้ขณะอยู่ภายในบ้านพักคนงาน ทราบชื่อ นางเอ๋ อายุ 32 ปี เป็นชาวมอญ และ นายอาชานวิน อายุ 25 ปี ชาวพม่า ทั้งคู่มีภูมิลำเนาอยู่ นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า จึงควบคุมตัวในข้อหา “หลบหนีเข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต”
พร้อมกันนี้ นางเอ๋ เล่าว่า ตนได้เดินทางเข้ามาทำงานที่ อ.แม่สอด จ.ตาก มาเป็นเวลานานถึง 7 ปีแล้ว โดยทำอาชีพค้าขายภายในโรงงาน และไม่เคยถูกจับกุมเลย เพราะมีบัตรแรงงาน จนเข้าสู่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาได้ตัดสินใจเดินทางมาทำงานที่โรงอิฐจังหวัดสตูล เพราะสามีคือนายอาชานวิน ชักชวน โดยบอกว่าที่สตูลมีเพื่อน ซึ่งเป็นชาวพม่าเข้ามาทำอยู่ก่อนแล้ว และได้รับรายได้ดี จึงเดินทางเข้ามาดังกล่าว
ทั้งนี้ ตนได้เดินทางมากับรถทัวร์จากแม่สอด จ.ตาก มาถึงกรุงเทพฯนั่งรถทัวร์ต่อมาจนถึงสตูล โดยมีนายหน้าจัดการซื้อตั๋วให้ และต้องเสียเงินให้กับนายหน้าคนละ 3,500 บาท สองคนสามีภรรยาเป็นเงิน 7,000 บาท หากคิดจะเดินกลับบ้าน ก็ต้องติดต่อนายหน้าให้มารับตัวกลับซึ่งต้องเสียเงินให้อีกคนละ 3,500 บาท เช่นกัน
สำหรับการเข้ามาทำงานที่โรงอิฐแห่งนี้ นางเอ๋ เล่าอีกว่า ได้รับค่าจ้างวันละ 230 บาท คิดเป็นค่าเงินพม่าจำนวน 9,000 จัต ซึ่งการเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะมีเงินเหลือเก็บเพราะไม่ต้องเสียค่าที่พัก ทั้งนี้ หากจะส่งกลับบ้านก็ต้องเสียค่าส่งอีกพันละ 50 บาท (เงิน 1,000 บาท เสีย 50 บาท) ซึ่งมีนายหน้าคนไทยเป็นคนจัดส่งให้ เรียกกลุ่มนี้ว่า “โพยก๊วน” (นายหน้ารับเงินเพื่อส่งกลับบ้านให้แก่ลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือค่าหัวคิว )
สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในโรงอิฐแห่งนี้ นางเอ๋ เผยว่า ได้ใช้ความไวหลบหนีเจ้าหน้าที่ไปหมดแล้ว และไม่ทราบที่อยู่ของกลุ่มดังกล่าว และถ้าคิดทำงานในประเทศไทยจะต้องเป็นคนขยันและไม่ขี้เกียจ แต่ถ้าอู้งานก็จะถูกหักเงิน และส่งขายต่อไปประเทศเพื่อนบ้าน
ด้าน พ.ท.สุรเทพ หนูแก้ว ผบ.ทหารร้อย ร.5021 ส่วนหน้า กล่าวว่า ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสตูลนั้น ยังไม่ใช่ปัญหาโดยตรง เพียงแต่จำนวนแรงงานต่างด้าวนั้นมีจำนวนพอสมควรซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกเรือประมง ซึ่งทางจังหวัดเองก็ได้มีการทำบัตรขึ้นทะเบียนให้มีบัตรประจำแรงงาน จังหวัดสตูลนั้นมีแรงงานต่างด้าวอยู่ประมาณกว่า 1,000 คน โดยทางทหารเองได้มีการเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหนของแรงงานที่เข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ในส่วนที่ไม่ขึ้นทะเบียน ก็ถือว่าเป็นแรงงานเถื่อนจะมีการจับกุม และดำเนินการตามกฎหมาย
สำหรับการออกตรวจ จะมีการรวบรวมข้อมูลในขั้นต้นโดยจะเข้าไปตรวจสอบกับกิจการต่างๆโดยเฉพาะ พ่อค้า นักธุรกิจที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามา ถ้าเป็นแรงงานเถื่อนก็จะมีการจับกุมและผลักดันออกไป
สำหรับการเดินทางเข้ามาของแรงงานต่างด้าว พ.ท.สุรเทพ หนูแก้ว กล่าวอีกว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย ก็ได้เรียกแรงงานต่างด้าว เพื่อมาใช้งานตามกิจการต่างๆ ต้องการ ถ้าไม่มีการขึ้นทะเบียนก็เรียกแรงงานเถื่อน สำหรับแรงงานเถื่อนที่ผิดกฎหมายส่วนใหญ่ที่เข้ามาจะเข้ามาทางเรือประมง ซึ่งจะเข้ามาเป็นลูกจ้างของเรือประมงเป็นส่วนใหญ่
การเดินทางมาก็ปกติจะเดินทางมาเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีสัมภาระเข้ามามากๆ ก็ต้องรวบรวมเงินมาในส่วนของคนที่ต้องการมาทำงาน ส่วนการเข้ามานั้นน่าจะมีคนที่นำพาเข้ามา ซึ่งขณะนี้ทางทหาร ทางจังหวัด ก็ต้องมีการตรวจสอบ และได้ชี้แจงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยและความมั่นคงของไทย ที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวที่ไม่ขึ้นทะเบียน โดยขณะนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ไม่รุนแรง เนื่องจากมีการควบคุมที่เป็นระบบและระเบียบที่ชัดเจน
สำหรับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ขอใบอนุญาตทำงาน ข้อมูล ณวันที่ 25 เม.ย.2552 จำนวนทั้งสิ้น 791 ราย แบ่งเป็นพม่า 750 ราย ลาว 29 ราย และกัมพูชา 12 ราย ในส่วนสถิติผลการจับกุมผู้กระทำผิด ตาม พ.ร.บ.2522 ปี 2551 ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล จำนวนรวม 389 คน สัญชาติพม่า 293 คน สัญชาติลาว 6 คน สัญชาติกัมพูชา 78 คน มาเลเซีย 1 คน ไร้สัญชาติอีก 1 คน
สถิติผลการส่งกลับผู้กระทำผิด พ.ร.บ.2522 ปี 2551 ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล รวม 495 คน แบ่งเป็นพม่า 382 คน ลาว 8 คน กัมพูชา 99 คน เวียดนาม 1 คน และมาเลเซีย 5 คน สำหรับสถิติผลการจับกุมผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.2522 ปี 2552 ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูลจำนวน 20 คน แบ่งเป็นพม่า 5 คน กัมพูชา 15 คน