ระนอง - จังหวัดระนองจัดโครงการจัดการฝังกลบขยะอย่างถูกสุขาภิบาล และปรับปรุงวิธีการเก็บขยะภายหลังธรณีพิบัติภัยสึนามิ เพื่อให้บุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการจัดเก็บ และฝังกลบขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
นายนิรวัชช์ ปุญญกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวถึงการจัดทำโครงการจัดการฝังกลบขยะอย่างถูกสุขาภิบาล และปรับปรุงวิธีการเก็บขยะ ภายหลังธรณีพิบัติภัยสึนามิว่า ตามที่จังหวัดระนองได้ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นั้น ผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
รวมทั้งการจัดการในด้านต่างๆ ให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งปัญหาที่ประสบ คือการจัดการฝังกลบขยะ ยังไม่มีวิธีการที่ดำเนินการที่ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงจัดทำโครงการการจัดการฝังกลบขยะอย่างถูกสุขาภิบาล และปรับปรุงวิธีการการเก็บขยะ ภายหลังธรณีภิบัติภัยขึ้น เพื่อให้บุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการจัดเก็บ และฝังกลบขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง
โครงการดังกล่าวได้เริ่มขึ้น โดยความร่วมมือของสหภาพยุโรป โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชน ไบโออะกริคอฟ จากประเทศอิตาลี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง และเทศบาลเมืองระนอง เมื่อปี พ.ศ.2549 โดยได้ทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการขยะหลังจากนั้น ได้จัดทำแผนการสร้างบ่อฝังกลบขยะ ได้ทำการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมในตำบลบางนอน และได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์คัดแยกขยะแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ
และกิจกรรมการจัดการขยะใน 5 พื้นที่ ประกอบด้วย เทศบาลเมืองระนอง ตำบลบางริ้น บ้านทะเลนอกหมู่บ้านหาดทรายขาว และหมู่บ้านบางกล้วยนอก ในการประชุมได้เชิญ อ.ธีระชัย หายทุกข์ อาจารย์ประจำภาควิชาทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผ.ศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพลังงาน และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มาให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว
นายนิรวัชช์ ปุญญกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวถึงการจัดทำโครงการจัดการฝังกลบขยะอย่างถูกสุขาภิบาล และปรับปรุงวิธีการเก็บขยะ ภายหลังธรณีพิบัติภัยสึนามิว่า ตามที่จังหวัดระนองได้ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นั้น ผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
รวมทั้งการจัดการในด้านต่างๆ ให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งปัญหาที่ประสบ คือการจัดการฝังกลบขยะ ยังไม่มีวิธีการที่ดำเนินการที่ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงจัดทำโครงการการจัดการฝังกลบขยะอย่างถูกสุขาภิบาล และปรับปรุงวิธีการการเก็บขยะ ภายหลังธรณีภิบัติภัยขึ้น เพื่อให้บุคลากรที่อยู่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการจัดเก็บ และฝังกลบขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง
โครงการดังกล่าวได้เริ่มขึ้น โดยความร่วมมือของสหภาพยุโรป โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชน ไบโออะกริคอฟ จากประเทศอิตาลี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง และเทศบาลเมืองระนอง เมื่อปี พ.ศ.2549 โดยได้ทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการขยะหลังจากนั้น ได้จัดทำแผนการสร้างบ่อฝังกลบขยะ ได้ทำการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมในตำบลบางนอน และได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์คัดแยกขยะแก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ
และกิจกรรมการจัดการขยะใน 5 พื้นที่ ประกอบด้วย เทศบาลเมืองระนอง ตำบลบางริ้น บ้านทะเลนอกหมู่บ้านหาดทรายขาว และหมู่บ้านบางกล้วยนอก ในการประชุมได้เชิญ อ.ธีระชัย หายทุกข์ อาจารย์ประจำภาควิชาทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผ.ศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพลังงาน และสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มาให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว