สุราษฎร์ธานี - อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ชี้ทางออกรัฐบาลกรณีขาดดุลงบประมาณ แนะเฉือนงบไม่จำเป็นทิ้ง พร้อมเตือนรัฐบาลอย่าทิ้งการศึกษา ลั่น “เมล็ดพันธุ์การศึกษา” ต้องหว่านให้มากและสม่ำเสมอ
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยถึงกรณีฐานะการคลังของรัฐบาลขาดดุลงบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท ทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญกับภาวะขาดดุลต่อไปข้างหน้าอีกหลายปี ส่งผลให้รัฐบาลประกาศตัดงบประมาณประจำปี 2553 ลงเป็นจำนวนเงิน 200,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลตัดงบประมาณจะก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมใน 3 ส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ส่วนราชการ ประชาชน และการเมือง โดยในส่วนราชการนั้น รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกระทรวง ทบวง กรมอย่างสมเหตุผล ส่วนใดที่จำเป็นก็จะต้องอุดหนุนงบประมาณต่อไป ส่วนใดที่จำเป็นน้อยลงก็อุดหนุนน้อยลง ส่วนใดที่อุดหนุนตามธรรมเนียมก็ต้องตัดออก
อยากให้รัฐบาลเปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณกับการหว่านเมล็ดพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์ที่สำคัญก็ต้องหว่าน จะไปลดจำนวนและความถี่ในการหว่านไม่ได้ เมล็ดพันธุ์ที่สำคัญน้อยลงมาก็สามารถลดปริมาณลงได้ เช่น เมล็ดพันธุ์การศึกษาเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ลดจำนวนและความถี่ในการหว่านไม่ได้ เพราะเกี่ยวพันกับอนาคตของชาติอย่างสำคัญหรือเมล็ดพันธุ์ที่เกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหลาย หากพิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วนก็อาจชะลอการหว่านบางส่วนเอาไว้ก่อน
อธิการบดี มรส.กล่าวอีกว่า ในส่วนของประชาชน อะไรก็ตามที่ทำแล้วประชาชนได้ประโยชน์ก็ต้องทำต่อไป อะไรที่ทำแล้วไม่ถึงมือประชาชนหรือประชาชนได้รับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่คุ้มค่ากับที่ลงทุนก็สมควรตัดงบประมาณในส่วนนั้นออกไป ส่วนแรงกระเพื่อมทางการเมืองต้องมีอย่างแน่นอน เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็ต้องการดึงงบประมาณเข้าสู่พื้นที่ของตน หากตัดงบประมาณในส่วนนี้ก็อาจมีแรงสะท้อนกลับหรือมีการตีรวนทางการเมืองเกิดขึ้น เช่น การไม่ยกมือสนับสนุนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือขู่ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม
“ผมเห็นว่านายกรัฐมนตรีจะต้องทำงบประมาณเชิงอุดมการณ์และเข้มแข็งกับการตีรวนทางการเมือง เพราะนี่ไม่ใช่เพียงผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เรามีผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นเดิมพัน”
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยถึงกรณีฐานะการคลังของรัฐบาลขาดดุลงบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท ทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญกับภาวะขาดดุลต่อไปข้างหน้าอีกหลายปี ส่งผลให้รัฐบาลประกาศตัดงบประมาณประจำปี 2553 ลงเป็นจำนวนเงิน 200,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลตัดงบประมาณจะก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมใน 3 ส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ส่วนราชการ ประชาชน และการเมือง โดยในส่วนราชการนั้น รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกระทรวง ทบวง กรมอย่างสมเหตุผล ส่วนใดที่จำเป็นก็จะต้องอุดหนุนงบประมาณต่อไป ส่วนใดที่จำเป็นน้อยลงก็อุดหนุนน้อยลง ส่วนใดที่อุดหนุนตามธรรมเนียมก็ต้องตัดออก
อยากให้รัฐบาลเปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณกับการหว่านเมล็ดพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์ที่สำคัญก็ต้องหว่าน จะไปลดจำนวนและความถี่ในการหว่านไม่ได้ เมล็ดพันธุ์ที่สำคัญน้อยลงมาก็สามารถลดปริมาณลงได้ เช่น เมล็ดพันธุ์การศึกษาเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ลดจำนวนและความถี่ในการหว่านไม่ได้ เพราะเกี่ยวพันกับอนาคตของชาติอย่างสำคัญหรือเมล็ดพันธุ์ที่เกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหลาย หากพิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วนก็อาจชะลอการหว่านบางส่วนเอาไว้ก่อน
อธิการบดี มรส.กล่าวอีกว่า ในส่วนของประชาชน อะไรก็ตามที่ทำแล้วประชาชนได้ประโยชน์ก็ต้องทำต่อไป อะไรที่ทำแล้วไม่ถึงมือประชาชนหรือประชาชนได้รับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่คุ้มค่ากับที่ลงทุนก็สมควรตัดงบประมาณในส่วนนั้นออกไป ส่วนแรงกระเพื่อมทางการเมืองต้องมีอย่างแน่นอน เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลต่างก็ต้องการดึงงบประมาณเข้าสู่พื้นที่ของตน หากตัดงบประมาณในส่วนนี้ก็อาจมีแรงสะท้อนกลับหรือมีการตีรวนทางการเมืองเกิดขึ้น เช่น การไม่ยกมือสนับสนุนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือขู่ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม
“ผมเห็นว่านายกรัฐมนตรีจะต้องทำงบประมาณเชิงอุดมการณ์และเข้มแข็งกับการตีรวนทางการเมือง เพราะนี่ไม่ใช่เพียงผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เรามีผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นเดิมพัน”