นราธิวาส – สาธารณสุขนราฯ ตื่นป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่กำลังระบาดอย่างหนักในพื้นที่ สั่งเจ้าหน้าสาธารณสุขทุกระดับชั้นทั้ง 13 อำเภอให้รวมรณรงค์ปราบยุงลายป้องกันการระบาดในโรงเรียนช่วงเปิดภาคเรียนนี้
วันนี้ (12 พ.ค.) ที่โรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ ประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ม.7 บ.ลุโบ๊ะสาวอ ต.ลุโบ๊ะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส นางสาวนิวรา เส้งสีแดง หัวหน้าสาธารณสุข อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส และนางสุดาพร ทิพยวัลย์ หัวหน้าอนามัย ต.ลูโบ๊ะสาวอ ได้ประชุมนักเรียนชั้น ม.1-ม.6 รวม 568 คน โดยเชิญ อสม.จาก 7 หมู่บ้าน ใน ต.ลูโบ๊ะสาวอ จำนวน 70 คน มาร่วมประชุมด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจให้นักเรียนเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา และการป้องกันดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว
ทั้งนี้ อสม.ได้ร่วมเป็นแกนนำในการชักชวนผู้ปกครองและชาวบ้านใน ต.ลูโบ๊ะสาวอ ซึ่งมี 2,010 ครัวเรือน จำนวน 6,525 คน ให้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะของโรคปวดข้อชิคุนกุนยา พร้อมกันนี้คณะเจ้าหน้าที่ได้ฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารเรียน เพื่อฆ่ายุงลายที่ซ่อนตัวอยู่ตามห้องเรียนในโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ทุกห้องด้วย
ด้าน นายแพทย์ศิริชัย ลีวรรณนภาใส สาธารณสุข จ.นราธิวาส กล่าวว่า โรคปวดข้อชิคุนกุนยาได้แพร่ระบาดขึ้นเป็นจุดแรกที่ อ.ยี่งอในเดือนกันยายน 2551จากนั้นเชื้อโรคนี้ได้แพร่ระบาดขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นอีกหลายจังหวัด ทั้งนี้เพราะในช่วงที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคใต้ได้เกิดภาวะฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแหล่งน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในสวนยางพารา จึงทำให้เชื้อโรคนี้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เพื่อตัดวงจรของลูกน้ำยุงลาย และเพื่อป้องกันโรคปวดข้อชิคุนกุนยาจะแพร่ระบาดเข้าไปยังสถานศึกษา เช่น โรงเรียนที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำที่มีน้ำท่วมขัง และโรงเรียนที่อยู่ติดกับสวนยางพารา ล่าสุดจึงสั่งการให้หัวหน้าสาธารณสุขอำเภอทั้ง 13 อำเภอ เรียกประชุมนักเรียนทั้ง 3 เขตการศึกษาใน จ.นราธิวาส รวม 387 โรงเรียน เพื่อชักชวนให้นักเรียน, ผู้ปกครองนักเรียน และชาวบ้านเข้ามามีบทบาทในการช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายร่วมกับเจ้าหน้าที่
วันนี้ (12 พ.ค.) ที่โรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ ประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ม.7 บ.ลุโบ๊ะสาวอ ต.ลุโบ๊ะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส นางสาวนิวรา เส้งสีแดง หัวหน้าสาธารณสุข อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส และนางสุดาพร ทิพยวัลย์ หัวหน้าอนามัย ต.ลูโบ๊ะสาวอ ได้ประชุมนักเรียนชั้น ม.1-ม.6 รวม 568 คน โดยเชิญ อสม.จาก 7 หมู่บ้าน ใน ต.ลูโบ๊ะสาวอ จำนวน 70 คน มาร่วมประชุมด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจให้นักเรียนเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา และการป้องกันดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว
ทั้งนี้ อสม.ได้ร่วมเป็นแกนนำในการชักชวนผู้ปกครองและชาวบ้านใน ต.ลูโบ๊ะสาวอ ซึ่งมี 2,010 ครัวเรือน จำนวน 6,525 คน ให้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะของโรคปวดข้อชิคุนกุนยา พร้อมกันนี้คณะเจ้าหน้าที่ได้ฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารเรียน เพื่อฆ่ายุงลายที่ซ่อนตัวอยู่ตามห้องเรียนในโรงเรียนเจริญวิทยานุสรณ์ทุกห้องด้วย
ด้าน นายแพทย์ศิริชัย ลีวรรณนภาใส สาธารณสุข จ.นราธิวาส กล่าวว่า โรคปวดข้อชิคุนกุนยาได้แพร่ระบาดขึ้นเป็นจุดแรกที่ อ.ยี่งอในเดือนกันยายน 2551จากนั้นเชื้อโรคนี้ได้แพร่ระบาดขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นอีกหลายจังหวัด ทั้งนี้เพราะในช่วงที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคใต้ได้เกิดภาวะฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแหล่งน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในสวนยางพารา จึงทำให้เชื้อโรคนี้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เพื่อตัดวงจรของลูกน้ำยุงลาย และเพื่อป้องกันโรคปวดข้อชิคุนกุนยาจะแพร่ระบาดเข้าไปยังสถานศึกษา เช่น โรงเรียนที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำที่มีน้ำท่วมขัง และโรงเรียนที่อยู่ติดกับสวนยางพารา ล่าสุดจึงสั่งการให้หัวหน้าสาธารณสุขอำเภอทั้ง 13 อำเภอ เรียกประชุมนักเรียนทั้ง 3 เขตการศึกษาใน จ.นราธิวาส รวม 387 โรงเรียน เพื่อชักชวนให้นักเรียน, ผู้ปกครองนักเรียน และชาวบ้านเข้ามามีบทบาทในการช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายร่วมกับเจ้าหน้าที่