ระนอง - ปศุสัตว์จังหวัดระนองออกคำแนะนำเกษตรกร ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร
นายสมเกียรติ รุ้งพราย ปศุสัตว์จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระนองได้ออกคำแนะนำสำหรับเกษตรกรในการป้องและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร โดยให้ปฏิบัติ ดังนี้ การป้องกันโรค
1.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี ได้แก่ ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อนหรือถูกฝนมากเกินไป ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร เพื่อความเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์ เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ และเกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ลี้ยงสุกรและผู้บริโภค
2.สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอ โดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกรจะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ภายใน 24 ชั่วโมง
3.หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และไข้หวัดสุกร 4.ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกรหรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใน ให้รีบพบแพทย์ทันที
ปศุสัตว์จังหวัดระนอง กล่าวว่า สำหรับการควบคุมโรค ให้ปฏิบัติดังนี้ 1.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฏิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฏิชีวนะโดยผสมให้สุกรกิน ลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ 2.ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก 3.งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย หากมีข้อสงสัยใดๆ ให้เกษตรกรติดต่อขอรายละเอียดคำแนะนำได้ ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
นายสมเกียรติ รุ้งพราย ปศุสัตว์จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระนองได้ออกคำแนะนำสำหรับเกษตรกรในการป้องและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร โดยให้ปฏิบัติ ดังนี้ การป้องกันโรค
1.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี ได้แก่ ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อนหรือถูกฝนมากเกินไป ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร เพื่อความเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์ เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ และเกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ลี้ยงสุกรและผู้บริโภค
2.สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอ โดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกรจะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ภายใน 24 ชั่วโมง
3.หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และไข้หวัดสุกร 4.ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกรหรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใน ให้รีบพบแพทย์ทันที
ปศุสัตว์จังหวัดระนอง กล่าวว่า สำหรับการควบคุมโรค ให้ปฏิบัติดังนี้ 1.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฏิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฏิชีวนะโดยผสมให้สุกรกิน ลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ 2.ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก 3.งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย หากมีข้อสงสัยใดๆ ให้เกษตรกรติดต่อขอรายละเอียดคำแนะนำได้ ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด