ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตพร้อมหนุนตั้งศูนย์วัฒนธรรมฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่ ผวจ.เผยตั้งงบดำเนินการไว้แล้วกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่นายกเทศบาลตำบลราไวย์พร้อมเข้าไปแก้ไขปัญหาชาวไทยใหม่ราไวย์ทั้งระบบคาดจะต้องใช้งบประมาณกว่า 100 ล้าน แต่สิ่งแรกที่จะต้องแก้ไขคือเรื่องของปัญหาที่ดินซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการร้องให้มีการสอบสวนสิทธิที่ดิน
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ปัญหาของกลุ่มชาวเล หรือชาวไทยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของชาวเลหรือชาวไทยใหม่ในพื้นที่ ทั้งปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องระบบสาธารณูปโภค ปัญหาเรื่องของชาติพันธ์และปัญหาอื่นๆ ว่า ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวเลหรือชาวไทยใหม่นั้นในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฎิบัติงานระดับจังหวัดเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตเรียบร้อยแล้ว เพื่อจะได้ประสานและดำเนินงานแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่รับผิดชอบ และดำเนินการตามนโยบายของคณะอำนวยการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล รวบรวมข้อมูลวิถีชีวิตชาวเลเพื่อจัดทำแผนโครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ ตลอดจนบูรณาการกับหน่วยงาน/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวเลในพื้นที่
นายวิชัย กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมี 5 ชุมชนตามแนวความคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ลงมาพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและต้องการให้ชาวเลแต่ละกลุ่มตั้งศูนย์วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ขึ้น เพื่อรักษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังว่า ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีชุมชนชาวไทยใหม่ 5 แห่งด้วยกันประกอบด้วย ชุมชนบ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ หาดราไวย์ บ้านสะปำ บ้านหินลูกเดียว และบ้านแหลมหลา
โดยในเรื่องของการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมนั้นตนเห็นด้วยเพื่อที่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเลหรือชาวไทยใหม่ไว้ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ทางจังหวัดภูเก็ตได้ตั้งงบประมาณประจำปี 2553ไว้แล้วจำนวน 10.8 ล้านบาท เพื่อให้แต่ละชุมชนจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมฯของตนเองขึ้นมา ซึ่งนอกจากการฟื้นฟูแล้วจะต้องมีการถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่ เพื่อจะได้เกิดการสานต่อและคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชนให้ยั่งยืน
ขณะที่ นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งมีชุมชนชาวไทยใหม่หาดราไวย์อยู่ในพื้นที่ กล่าวว่า ในส่วนของเทศบาลตำบลราไวย์นั้นพร้อมที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวเลหรือชาวไทยใหม่ทั้งระบบ
โดยเฉพาะเรื่องของระบบสาธารณูปโภค และเรื่องของการสร้างลานวัฒนธรรมที่จะจัดสร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาวไทยใหม่หรือชาวเลไปสู่คนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวไทยใหม่ให้สืบทอดต่อไป และใช้ลานวัฒนธรรมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเพื่อที่นักท่องเที่ยวจะได้พบกับวิถีชีวิตของชาวไทยใหม่หรือชาวเลที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชาวไทยใหม่อีกทางหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าไปพัฒนาหมู่บ้านชาวไทยใหม่หาดราไวย์ยังดำเนินการไม่ได้เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของของที่ดินซึ่งปรากกฎหลักฐานนว่าเป็นที่ดินของเอกชนซึ่งขณะนี้ชาวบ้านได้มีการยื่นเรื่องให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวขึ้นซึ่งผลการตรวจพิสูจน์สิทธิยังไม่ออกมา ซึ่งการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เรื่องของที่ดิน ถ้าผลออกมาอย่างไรก็จะต้องมีการปรับแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป
นายอรุณ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบของชาวไทยใหม่นั้นทางเทศบาลตำบลราไวย์ คาดว่า จะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 100ล้านบาท ซึ่งถ้าผลการพิสูจน์สิทธิที่ดินออกมาว่าเป็นของเอกชนก็อาจจะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อที่ดินประมาณ 60 ล้านบาท และส่วนที่เหลือก็จะใช้ในเรื่องของการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เชื่อว่าถ้าสามารถปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคทั้งระบบได้จะสามารถพัฒนาหมู่บ้านชาวไทยใหม่ให้ดีขึ้น และมีคนเดินทางเข้าไปในพื้นที่มากขึ้นแน่นอน
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ปัญหาของกลุ่มชาวเล หรือชาวไทยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของชาวเลหรือชาวไทยใหม่ในพื้นที่ ทั้งปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องระบบสาธารณูปโภค ปัญหาเรื่องของชาติพันธ์และปัญหาอื่นๆ ว่า ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวเลหรือชาวไทยใหม่นั้นในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฎิบัติงานระดับจังหวัดเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตเรียบร้อยแล้ว เพื่อจะได้ประสานและดำเนินงานแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่รับผิดชอบ และดำเนินการตามนโยบายของคณะอำนวยการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล รวบรวมข้อมูลวิถีชีวิตชาวเลเพื่อจัดทำแผนโครงการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ ตลอดจนบูรณาการกับหน่วยงาน/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวเลในพื้นที่
นายวิชัย กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมี 5 ชุมชนตามแนวความคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ลงมาพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและต้องการให้ชาวเลแต่ละกลุ่มตั้งศูนย์วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ขึ้น เพื่อรักษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังว่า ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีชุมชนชาวไทยใหม่ 5 แห่งด้วยกันประกอบด้วย ชุมชนบ้านแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ หาดราไวย์ บ้านสะปำ บ้านหินลูกเดียว และบ้านแหลมหลา
โดยในเรื่องของการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมนั้นตนเห็นด้วยเพื่อที่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเลหรือชาวไทยใหม่ไว้ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ทางจังหวัดภูเก็ตได้ตั้งงบประมาณประจำปี 2553ไว้แล้วจำนวน 10.8 ล้านบาท เพื่อให้แต่ละชุมชนจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมฯของตนเองขึ้นมา ซึ่งนอกจากการฟื้นฟูแล้วจะต้องมีการถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่ เพื่อจะได้เกิดการสานต่อและคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชนให้ยั่งยืน
ขณะที่ นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งมีชุมชนชาวไทยใหม่หาดราไวย์อยู่ในพื้นที่ กล่าวว่า ในส่วนของเทศบาลตำบลราไวย์นั้นพร้อมที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวเลหรือชาวไทยใหม่ทั้งระบบ
โดยเฉพาะเรื่องของระบบสาธารณูปโภค และเรื่องของการสร้างลานวัฒนธรรมที่จะจัดสร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาวไทยใหม่หรือชาวเลไปสู่คนรุ่นหลัง ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวไทยใหม่ให้สืบทอดต่อไป และใช้ลานวัฒนธรรมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเพื่อที่นักท่องเที่ยวจะได้พบกับวิถีชีวิตของชาวไทยใหม่หรือชาวเลที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชาวไทยใหม่อีกทางหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าไปพัฒนาหมู่บ้านชาวไทยใหม่หาดราไวย์ยังดำเนินการไม่ได้เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของของที่ดินซึ่งปรากกฎหลักฐานนว่าเป็นที่ดินของเอกชนซึ่งขณะนี้ชาวบ้านได้มีการยื่นเรื่องให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวขึ้นซึ่งผลการตรวจพิสูจน์สิทธิยังไม่ออกมา ซึ่งการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เรื่องของที่ดิน ถ้าผลออกมาอย่างไรก็จะต้องมีการปรับแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป
นายอรุณ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบของชาวไทยใหม่นั้นทางเทศบาลตำบลราไวย์ คาดว่า จะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 100ล้านบาท ซึ่งถ้าผลการพิสูจน์สิทธิที่ดินออกมาว่าเป็นของเอกชนก็อาจจะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อที่ดินประมาณ 60 ล้านบาท และส่วนที่เหลือก็จะใช้ในเรื่องของการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เชื่อว่าถ้าสามารถปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคทั้งระบบได้จะสามารถพัฒนาหมู่บ้านชาวไทยใหม่ให้ดีขึ้น และมีคนเดินทางเข้าไปในพื้นที่มากขึ้นแน่นอน