พัทลุง - สภาลานวัดตะโหมด ร่วมกับชาวบ้าน 2 จังหวัดจัดกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวย้อนยุควิถีชีวิตชาวนาในอดีต เป็นทางเลือกที่จะลดต้นทุนการผลิตในการประกอบอาชีพทำนา ยุควิกฤตเศรษฐกิจ
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่ทุ่งนาบ้านตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านจาก อ.บางแก้ว อ.กงหรา อ.ป่าบอน อ.ตะโหมด จ.พัทลุง และชาวบ้านจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กว่า 300 คนร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าวในทุ่งนา 16 ไร่ ที่ทางสภาลานวัดตะโหมด ร่วมกับนักศึกษา 4 สถาบัน และชาวบ้านปลูกไว้
โดยพระครูสังฆรักษ์วิชาญ พระผู้นำในกิจกรรมดังกล่าวระบุว่า สาเหตุที่จัดกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวขึ้นนั้น เพื่อย้อนยุคไปยังวิถีชีวิตชาวนาในอดีตที่สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้กว่าครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาในยุคปัจจุบัน โดยในกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว ชาวบ้านที่มาร่วมงานจะแบ่งหน้าที่ไปคนล่ะฝ่าย ทั้งฝ่ายการจัดหาข้าวปลาอาหาร ฝ่ายที่ลงนาเพื่อเก็บข้าวด้วยแกละ ฝ่ายร้องรำทำเพลง เพื่อสร้างความครื้นเครงในกิจกรรม นอกจากนั้นแล้วทางสภาลานวัดตะโหมด ยังจัดพิธีการทำขวัญข้าว แบบดั้งเดิมเพื่อให้ชาวนาได้ระลึกถึงพระคุณของพระแม่โพสพ ให้ผู้ทีมาร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย
สำหรับผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดจะแบ่งให้ผู้ที่มาร่วมลงแขกเกี่ยวข้าว 40 เปอร์เซ็น ส่วนอีก 60 เปอร์เซ็นจะขอความร่วมมือให้ทางเทศบาลตำบลตะโหมด เป็นผู้สีข้าว และบรรจุถุงเพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุ และผู้ที่ยากไร้ในชุมชน
กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากบรรดาเด็กๆ และชาวบ้านเป็นอย่างมากเนื่องจากในยุคปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป ทำให้กิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าววิถีชีวิตที่ผูกพันกับชาวนาในอดีตค่อยๆ เลือนหายไป ทั้งที่การลงแขกเกี่ยวข้าวน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของยุควิกฤษเศรษฐกิจได้ดีอีกทาง
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่ทุ่งนาบ้านตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านจาก อ.บางแก้ว อ.กงหรา อ.ป่าบอน อ.ตะโหมด จ.พัทลุง และชาวบ้านจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช กว่า 300 คนร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าวในทุ่งนา 16 ไร่ ที่ทางสภาลานวัดตะโหมด ร่วมกับนักศึกษา 4 สถาบัน และชาวบ้านปลูกไว้
โดยพระครูสังฆรักษ์วิชาญ พระผู้นำในกิจกรรมดังกล่าวระบุว่า สาเหตุที่จัดกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวขึ้นนั้น เพื่อย้อนยุคไปยังวิถีชีวิตชาวนาในอดีตที่สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้กว่าครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาในยุคปัจจุบัน โดยในกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว ชาวบ้านที่มาร่วมงานจะแบ่งหน้าที่ไปคนล่ะฝ่าย ทั้งฝ่ายการจัดหาข้าวปลาอาหาร ฝ่ายที่ลงนาเพื่อเก็บข้าวด้วยแกละ ฝ่ายร้องรำทำเพลง เพื่อสร้างความครื้นเครงในกิจกรรม นอกจากนั้นแล้วทางสภาลานวัดตะโหมด ยังจัดพิธีการทำขวัญข้าว แบบดั้งเดิมเพื่อให้ชาวนาได้ระลึกถึงพระคุณของพระแม่โพสพ ให้ผู้ทีมาร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย
สำหรับผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดจะแบ่งให้ผู้ที่มาร่วมลงแขกเกี่ยวข้าว 40 เปอร์เซ็น ส่วนอีก 60 เปอร์เซ็นจะขอความร่วมมือให้ทางเทศบาลตำบลตะโหมด เป็นผู้สีข้าว และบรรจุถุงเพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุ และผู้ที่ยากไร้ในชุมชน
กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากบรรดาเด็กๆ และชาวบ้านเป็นอย่างมากเนื่องจากในยุคปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป ทำให้กิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าววิถีชีวิตที่ผูกพันกับชาวนาในอดีตค่อยๆ เลือนหายไป ทั้งที่การลงแขกเกี่ยวข้าวน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของยุควิกฤษเศรษฐกิจได้ดีอีกทาง