กาฬสินธุ์ - ชาวอำเภอฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ร่วมกันบริจาคข้าวเปลือกเพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พร้อมกับจัดกิจกรรม บุญคูณลานสู่ขวัญข้าว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนา
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 ที่บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ ปลัดจังหวัดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดงานกองทุนพัฒนาหมู่บ้านแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พร้อมกับกิจกรรมความเชื่อของชาวนาไทย ในงานบุญคูณลานสู่ขวัญข้าวประจำปี 2552 ซึ่งประชาชนชาวอำเภอฆ้องชัยร่วมกันจัดขึ้น เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรมของชาวนาไทย โดยมีนายฐานวัฒน์ ธนโชคชัยอนันท์ นายอำเภอฆ้องชัยและชาวบ้านในอำเภอฆ้องชัยเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน
นายอำเภอฆ้องชัย กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ขณะนี้ ได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนา โดยชาวบ้านทั้งอำเภอได้ร่วมกันนำข้าวเปลือกเข้ามาบริจาค ซึ่งมีมากถึง 22 ตัน ที่ได้นำเข้ามาใช้ในการประกอบพิธี บุญคูณลานสู่ขวัญข้าว ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวนาไทย ที่เป็นการขอพรพระแม่โพสพที่ให้ผลผลิตข้าวแก่ชาวนา โดยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แต่มักจะประสบปัญหาภัยธรรมชาติอยู่เป็นประจำ ดังนั้นในการจัดกิจกรรม นอกจากการตั้งกองทุนแก้ปัญหาภัยแล้งยังเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับชาวนาด้วย
สำหรับกิจกรรมในงานยังมีการจัดประกวดการตำส้มตำ การแข่งขันพื้นบ้าน และการแสดงความสามารถจากควายไทยที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 ที่บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ ปลัดจังหวัดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดงานกองทุนพัฒนาหมู่บ้านแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พร้อมกับกิจกรรมความเชื่อของชาวนาไทย ในงานบุญคูณลานสู่ขวัญข้าวประจำปี 2552 ซึ่งประชาชนชาวอำเภอฆ้องชัยร่วมกันจัดขึ้น เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรมของชาวนาไทย โดยมีนายฐานวัฒน์ ธนโชคชัยอนันท์ นายอำเภอฆ้องชัยและชาวบ้านในอำเภอฆ้องชัยเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน
นายอำเภอฆ้องชัย กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ขณะนี้ ได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนา โดยชาวบ้านทั้งอำเภอได้ร่วมกันนำข้าวเปลือกเข้ามาบริจาค ซึ่งมีมากถึง 22 ตัน ที่ได้นำเข้ามาใช้ในการประกอบพิธี บุญคูณลานสู่ขวัญข้าว ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวนาไทย ที่เป็นการขอพรพระแม่โพสพที่ให้ผลผลิตข้าวแก่ชาวนา โดยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน แต่มักจะประสบปัญหาภัยธรรมชาติอยู่เป็นประจำ ดังนั้นในการจัดกิจกรรม นอกจากการตั้งกองทุนแก้ปัญหาภัยแล้งยังเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับชาวนาด้วย
สำหรับกิจกรรมในงานยังมีการจัดประกวดการตำส้มตำ การแข่งขันพื้นบ้าน และการแสดงความสามารถจากควายไทยที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก