ระนอง - สำนักงานสาธารณสุขเผยผลการตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร พบสารปนเปื้อน 6 ตัวอย่าง จากจำนวน 1,412 ตัวอย่าง
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่าจากการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารในตลาดสด โดยรถตรวจสอบเคลื่อนที่ ซึ่งเน้นตรวจสอบสารอันตรายปนเปื้อนในอาหาร 8 ชนิด คือ บอแรกซ์ ฟอร์มาลีนสารกันรา สารฟอกขาว สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเร่งเนื้อแดง สารโพลาร์ และอะฟลาท็อกซินระหว่างเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จำนวน 1,412 ตัวอย่าง ผลปรากฏว่าพบสารปนเปื้อน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.42 โดยพบสารเคมีกำจัดวัชพืช ในผักขึ้นฉ่ายและผักกาดขาว 2 ตัวอย่าง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ เกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงป่น เกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง
นอกจากนี้ยังได้สุ่มเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนจากสถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่าย
จำนวน 7 ตัวอย่างผลผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารทุกตัวอย่าง
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า จึงขอแนะนำการป้องกันผักและอาหารที่สารอันตรายปนเปื้อนดังนี้ ผัก ต้องล้างให้สะอาดก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อลดปริมาณสารพิษ ลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกทิ้ง แช่น้ำสะอาด 10-15 นาที หรือใช้ผงฟูหรือน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะหรือด่างทับทิม 20-33 เกล็ด ผสมน้ำ 1 กะละมังแช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง
ส่วนน้ำมันทอดซ้ำ หากซื้อของทอดให้สังเกตน้ำมันในกระทะถ้าพบว่ามีสีดำ เหนียวข้น ฟองมาก เหม็นไหม้ ให้หลีกเลี่ยงการซื้อ สำหรับถั่วลิสง ควรซื้อที่ทำเสร็จใหม่ ๆ ไม่มีคราบสีเขียว เหลือง ดำ หรือขาวดมแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นอบ หลีกเลี่ยงการซื้อถั่งลิสงป่นสำเร็จรูป หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารติดต่อได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง โทร.0-7782-4880 ในวันและเวลาราชการ
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่าจากการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารในตลาดสด โดยรถตรวจสอบเคลื่อนที่ ซึ่งเน้นตรวจสอบสารอันตรายปนเปื้อนในอาหาร 8 ชนิด คือ บอแรกซ์ ฟอร์มาลีนสารกันรา สารฟอกขาว สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเร่งเนื้อแดง สารโพลาร์ และอะฟลาท็อกซินระหว่างเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จำนวน 1,412 ตัวอย่าง ผลปรากฏว่าพบสารปนเปื้อน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.42 โดยพบสารเคมีกำจัดวัชพืช ในผักขึ้นฉ่ายและผักกาดขาว 2 ตัวอย่าง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ เกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงป่น เกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง
นอกจากนี้ยังได้สุ่มเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนจากสถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่าย
จำนวน 7 ตัวอย่างผลผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารทุกตัวอย่าง
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า จึงขอแนะนำการป้องกันผักและอาหารที่สารอันตรายปนเปื้อนดังนี้ ผัก ต้องล้างให้สะอาดก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อลดปริมาณสารพิษ ลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกทิ้ง แช่น้ำสะอาด 10-15 นาที หรือใช้ผงฟูหรือน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะหรือด่างทับทิม 20-33 เกล็ด ผสมน้ำ 1 กะละมังแช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง
ส่วนน้ำมันทอดซ้ำ หากซื้อของทอดให้สังเกตน้ำมันในกระทะถ้าพบว่ามีสีดำ เหนียวข้น ฟองมาก เหม็นไหม้ ให้หลีกเลี่ยงการซื้อ สำหรับถั่วลิสง ควรซื้อที่ทำเสร็จใหม่ ๆ ไม่มีคราบสีเขียว เหลือง ดำ หรือขาวดมแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นอบ หลีกเลี่ยงการซื้อถั่งลิสงป่นสำเร็จรูป หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารติดต่อได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง โทร.0-7782-4880 ในวันและเวลาราชการ