คลังจังหวัดพังงา สรุปภาวะเศรษฐกิจ และภาวะการคลัง ประจำเดือนธันวาคม 2551 เผยอยู่ในภาวะชะลอตัว
นางนฤมล โยธารักษ์ คลังจังหวัดพังงา เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจ และภาวะการคลังจังหวัดพังงา ประจำเดือนธันวาคม 2551 ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว พิจารณาได้จาก เศรษฐกิจด้านอุปทานภาคการเกษตร ที่ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักอย่าง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่ราคาผลผลิตยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงด้านการประมงทะเล ที่ยังคงชะลอตัว เนื่องจากสภาพอากาศของภาคใต้ค่อนข้างเย็นและคลื่นลมในทะเลยังมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสัตว์ทะเลเริ่มหายาก ทำให้ชาวประมงส่วนหนึ่งของจังหวัดหยุดทำการประมง
ขณะเดียวกัน อุปทานภาคนอกการเกษตร โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยังคงลดลงเช่นกัน สะท้อนได้จากการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราและการผลิตอุตสาหกรรมไม้อัดแผ่นยางพารา ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากตลาดรับซื้อผลผลิตอุปสงค์ในตัวผลิตภัณฑ์ลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ด้านการบริโภคของจังหวัดเดือนนี้ ชะลอตัวลง ซึ่งพิจารณาได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จำนวนยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่ลดลง
ในขณะที่อุปสงค์ด้านการลงทุนของจังหวัด ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยยอดการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ และจำนวนทุนจดทะเบียนยังคงเพิ่มขึ้น
ด้านการบริการและการท่องเที่ยวของจังหวัด เดือนนี้ยังคงขยายตัว สะท้อนได้จากจำนวนยอดภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรม ที่พัก ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณเงินฝากและปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ ยังคงขยายตัว รวมถึงด้านการจ้างงานของจังหวัดยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ยังคงมีแน้วโน้มลดลง โดยเดือนนี้ อัตราเงินเฟ้อของจังหวัดพังงา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงจาก 4.9 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
นางนฤมล โยธารักษ์ คลังจังหวัดพังงา เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจ และภาวะการคลังจังหวัดพังงา ประจำเดือนธันวาคม 2551 ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว พิจารณาได้จาก เศรษฐกิจด้านอุปทานภาคการเกษตร ที่ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักอย่าง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่ราคาผลผลิตยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงด้านการประมงทะเล ที่ยังคงชะลอตัว เนื่องจากสภาพอากาศของภาคใต้ค่อนข้างเย็นและคลื่นลมในทะเลยังมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสัตว์ทะเลเริ่มหายาก ทำให้ชาวประมงส่วนหนึ่งของจังหวัดหยุดทำการประมง
ขณะเดียวกัน อุปทานภาคนอกการเกษตร โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยังคงลดลงเช่นกัน สะท้อนได้จากการผลิตอุตสาหกรรมยางพาราและการผลิตอุตสาหกรรมไม้อัดแผ่นยางพารา ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากตลาดรับซื้อผลผลิตอุปสงค์ในตัวผลิตภัณฑ์ลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ด้านการบริโภคของจังหวัดเดือนนี้ ชะลอตัวลง ซึ่งพิจารณาได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จำนวนยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่ลดลง
ในขณะที่อุปสงค์ด้านการลงทุนของจังหวัด ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยยอดการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ และจำนวนทุนจดทะเบียนยังคงเพิ่มขึ้น
ด้านการบริการและการท่องเที่ยวของจังหวัด เดือนนี้ยังคงขยายตัว สะท้อนได้จากจำนวนยอดภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรม ที่พัก ที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณเงินฝากและปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ ยังคงขยายตัว รวมถึงด้านการจ้างงานของจังหวัดยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ยังคงมีแน้วโน้มลดลง โดยเดือนนี้ อัตราเงินเฟ้อของจังหวัดพังงา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงจาก 4.9 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา