กระบี่ - จัดงานเมาลิดกลาง จังหวัดกระบี่ สืบสานประเพณีของชาวมุสลิม คาดมีนักท่องเที่ยวเข้าชมงานกว่า 70,000 คน เงินสะพัดกว่า 10 ล้านบาท พ่อค้าแม่ค้าจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ แห่นำเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมุสลิมจำหน่ายภายในงาน
นายนพรัตน์ กาญจนวโรดม ประธานคณะกรรมการจัดงานเมาลิดกลาง จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2552 กล่าวว่า การจัดงานเมาลิดกลาง ถือว่าเป็นงานประเพณีประจำปีของชาวมุสลิมในจังหวัดกระบี่ เพื่อให้ชาวมุสลิมได้ร่วมกันเฉลิมฉลอง วันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างของชาวมุสลิมทั่วโลก อย่างพร้อมเพรียงกัน และเพื่อความสมานฉันท์ ระหว่างชนต่างศาสนิกในการอยู่ร่วมกันในสังคม
รายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดงานเมาลิด จะนำไปสนับสนุนการก่อสร้างมัสยิดกลางของจังหวัดกระบี่ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 90 % ซึ่งตั้งอยู่ติดถนนเพชรเกษม ม.2 บ้านหนองกก ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ โดยใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 20 ล้านบาท
ประธานคณะกรรมการจัดงานเมาลิดกลางจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 28 กล่าวอีกว่า ในแต่ละปีจะมีชาวไทยมุสลิมเดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก ทั้งในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และใกล้เคียง นอกจากนี้คาดว่ายังมีชาวมุสลิมบางส่วนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียเข้าร่วมงานด้วยเช่นกัน
ในปีที่ผ่านมา มีผู้ร่วมเดินทางมาร่วมงานกว่า 50,000 คน มียอดรายได้จากการบริจาคในงานกว่า 1 ล้านบาทสำหรับในปีนี้ (ปี 52) ทางคณะกรรมการการจัดงานเมาลิดกลางจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2552 ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยใช้สถานที่บริเวณหน้ามัสยิดกลางจังหวัดกระบี่ เป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้
“ส่วนกิจกรรมภายในงานก็จะมีการพิธีการ ละหมาดร่วมกัน การอ่านชีวประวัติและสรรเสริญพระศาสดามูฮัมหมัด การบรรยายธรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ และการแสดงความสามารถของเยาวชนมุสลิม การแสดงนิทรรศการ และสัมมนาอาหารฮาลาล การแสดงศิลปวัฒนธรรมอิสลาม ส่วนผู้ที่จะมาเป็นประธานในการเปิดงานในปีนี้ ประกอบด้วย จุฬาราชมนตรี หรือผู้แทน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายก้าหรีม วันแอเลาะ นายกสมาคมคุรุสัมพันธ์แห่งประเทศไทย นายราชันต์ ฮูเซ็น นักสื่อสารมวลชน นายวินัย สะมะอูน และนักวิชาการอีกหลายท่าน”
นายนพรัตน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัดงานในปี 2552 คาดว่า จะมีประชาชนชาวมุสลิมและชนต่างศาสนิกเข้าเที่ยวชมกิจกรรมภายในงานไม่น้อยกว่า 7 หมื่นคน เงินสะพัดไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ส่วนการออกร้านขายสินค้า ขณะนี้มีผู้ประกอบการติดต่อนำสินค้ามาขายภายในงานกว่า 100 ร้านค้า ส่วนใหญ่จะเป็นร้านจำหน่ายหนังสือ และเสื้อผ้าเกี่ยวกับการแต่งกายแบบอิสลาม นอกจากนั้นก็มีร้านขายอาหาร
สำหรับผู้ประกอบการที่นำเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบมุสลิมมาจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าแม่ค้าจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากในพื้นที่อาจจะค้าขายลำบาก เมื่อมีงานของชาวมุสลิมที่จังหวัดกระบี่ จึงนำสินค้ามาจำหน่ายกัน
นายนพรัตน์ กาญจนวโรดม ประธานคณะกรรมการจัดงานเมาลิดกลาง จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2552 กล่าวว่า การจัดงานเมาลิดกลาง ถือว่าเป็นงานประเพณีประจำปีของชาวมุสลิมในจังหวัดกระบี่ เพื่อให้ชาวมุสลิมได้ร่วมกันเฉลิมฉลอง วันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างของชาวมุสลิมทั่วโลก อย่างพร้อมเพรียงกัน และเพื่อความสมานฉันท์ ระหว่างชนต่างศาสนิกในการอยู่ร่วมกันในสังคม
รายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดงานเมาลิด จะนำไปสนับสนุนการก่อสร้างมัสยิดกลางของจังหวัดกระบี่ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 90 % ซึ่งตั้งอยู่ติดถนนเพชรเกษม ม.2 บ้านหนองกก ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ โดยใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 20 ล้านบาท
ประธานคณะกรรมการจัดงานเมาลิดกลางจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 28 กล่าวอีกว่า ในแต่ละปีจะมีชาวไทยมุสลิมเดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก ทั้งในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และใกล้เคียง นอกจากนี้คาดว่ายังมีชาวมุสลิมบางส่วนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียเข้าร่วมงานด้วยเช่นกัน
ในปีที่ผ่านมา มีผู้ร่วมเดินทางมาร่วมงานกว่า 50,000 คน มียอดรายได้จากการบริจาคในงานกว่า 1 ล้านบาทสำหรับในปีนี้ (ปี 52) ทางคณะกรรมการการจัดงานเมาลิดกลางจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2552 ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยใช้สถานที่บริเวณหน้ามัสยิดกลางจังหวัดกระบี่ เป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้
“ส่วนกิจกรรมภายในงานก็จะมีการพิธีการ ละหมาดร่วมกัน การอ่านชีวประวัติและสรรเสริญพระศาสดามูฮัมหมัด การบรรยายธรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ และการแสดงความสามารถของเยาวชนมุสลิม การแสดงนิทรรศการ และสัมมนาอาหารฮาลาล การแสดงศิลปวัฒนธรรมอิสลาม ส่วนผู้ที่จะมาเป็นประธานในการเปิดงานในปีนี้ ประกอบด้วย จุฬาราชมนตรี หรือผู้แทน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายก้าหรีม วันแอเลาะ นายกสมาคมคุรุสัมพันธ์แห่งประเทศไทย นายราชันต์ ฮูเซ็น นักสื่อสารมวลชน นายวินัย สะมะอูน และนักวิชาการอีกหลายท่าน”
นายนพรัตน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัดงานในปี 2552 คาดว่า จะมีประชาชนชาวมุสลิมและชนต่างศาสนิกเข้าเที่ยวชมกิจกรรมภายในงานไม่น้อยกว่า 7 หมื่นคน เงินสะพัดไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ส่วนการออกร้านขายสินค้า ขณะนี้มีผู้ประกอบการติดต่อนำสินค้ามาขายภายในงานกว่า 100 ร้านค้า ส่วนใหญ่จะเป็นร้านจำหน่ายหนังสือ และเสื้อผ้าเกี่ยวกับการแต่งกายแบบอิสลาม นอกจากนั้นก็มีร้านขายอาหาร
สำหรับผู้ประกอบการที่นำเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบมุสลิมมาจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าแม่ค้าจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากในพื้นที่อาจจะค้าขายลำบาก เมื่อมีงานของชาวมุสลิมที่จังหวัดกระบี่ จึงนำสินค้ามาจำหน่ายกัน