ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการทางทะเลห่วงการก่อสร้างบนเกาะโหลน จังหวัดภูเก็ต ส่งผลกระทบทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแนวปะการังรอบเกาะ หากไม่มีมาตรการป้องกันที่ดีพอ
นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีตำบลเทศบาลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่ตำบลราไวย์ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้ามาลงทุนทางด้านโรงแรม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลงทุนจะนำมาซึ่งความเจริญ แต่ก็จะต้องไม่กระทบกับวิถีชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะหากธรรมชาติยังคงมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้ราไวย์ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญตลอดไป
โดยขณะนี้ในพื้นที่มีการลงทุนโครงการโรงแรมขนาดใหญ่อีก 1 แห่ง บนเกาะโหลน ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยจะมีการก่อสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 136 ไร่ จากการพูดคุยกับทางเจ้าของโครงการ ทราบว่า จะใช้พื้นที่ก่อสร้างเพียง 15% และได้รับคำยืนยันว่าจะไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนก็ได้เน้นกำชับเพิ่มเติมในส่วนของการขนถ่ายอุปกรณ์ในการก่อสร้างว่าจะต้องไม่ดำเนินการในช่วงที่น้ำลด และจะต้องไม่กระทบกับแนวปะการัง โดยขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทางด้าน นางสาวสาลินี ทองแถม นักวิชาการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวถึงการก่อสร้างโรงแรมมบนเกาะโหลน ว่า เนื่องจากโครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่เกาะ ดังนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องของมาตรการการป้องกันไม่ให้เศษดิน และหินจากโครงการไหลชะล้างลงไปในทะเล เนื่องจากเกาะโหลนเป็นสถานที่ที่มีธรรมชาติสมบูรณ์ มีชายหาดสวยงามถึง 3 แห่ง และรอบๆ พื้นที่มีแนวปะการังอยู่ด้วย
จากการขึ้นไปสำรวจดูบนเกาะเบื้องต้น พบว่า ทางโครงการเริ่มมีการก่อสร้างบนพื้นที่เนินเขา แต่ยังไม่มีการวางกระสอบทรายป้องกันดินถูกชะล้างลงทะเล เพราะในระยะยาวหากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็จะมีเรือและนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังในบริเวณนั้นได้ เนื่องจากปะการังส่วนใหญ่เป็นแนวปะการังเขากวางซึ่งจะเสียหายได้ง่าย นอกจากนี้มีความเป็นห่วงในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย เพราะผลกระทบดังกล่าวอาจจะขยายวงกว้างไปยังพื้นที่เกาะเฮ และเกาะแอว ซึ่งอยู่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย
นักวิชาการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ระบุว่า พื้นที่เกาะโหลน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์พืช ซึ่งการก่อสร้างสิ่งต่างๆ จะดำเนินการไม่ได้ ยกเว้นต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหากจะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือจะต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนแรกซึ่งจะต้องนำเข้าสู่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำระดับจังหวัดพิจารณาต่อไป
นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีตำบลเทศบาลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่ตำบลราไวย์ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้ามาลงทุนทางด้านโรงแรม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลงทุนจะนำมาซึ่งความเจริญ แต่ก็จะต้องไม่กระทบกับวิถีชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะหากธรรมชาติยังคงมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้ราไวย์ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญตลอดไป
โดยขณะนี้ในพื้นที่มีการลงทุนโครงการโรงแรมขนาดใหญ่อีก 1 แห่ง บนเกาะโหลน ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยจะมีการก่อสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 136 ไร่ จากการพูดคุยกับทางเจ้าของโครงการ ทราบว่า จะใช้พื้นที่ก่อสร้างเพียง 15% และได้รับคำยืนยันว่าจะไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนก็ได้เน้นกำชับเพิ่มเติมในส่วนของการขนถ่ายอุปกรณ์ในการก่อสร้างว่าจะต้องไม่ดำเนินการในช่วงที่น้ำลด และจะต้องไม่กระทบกับแนวปะการัง โดยขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทางด้าน นางสาวสาลินี ทองแถม นักวิชาการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวถึงการก่อสร้างโรงแรมมบนเกาะโหลน ว่า เนื่องจากโครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่เกาะ ดังนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องของมาตรการการป้องกันไม่ให้เศษดิน และหินจากโครงการไหลชะล้างลงไปในทะเล เนื่องจากเกาะโหลนเป็นสถานที่ที่มีธรรมชาติสมบูรณ์ มีชายหาดสวยงามถึง 3 แห่ง และรอบๆ พื้นที่มีแนวปะการังอยู่ด้วย
จากการขึ้นไปสำรวจดูบนเกาะเบื้องต้น พบว่า ทางโครงการเริ่มมีการก่อสร้างบนพื้นที่เนินเขา แต่ยังไม่มีการวางกระสอบทรายป้องกันดินถูกชะล้างลงทะเล เพราะในระยะยาวหากโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็จะมีเรือและนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังในบริเวณนั้นได้ เนื่องจากปะการังส่วนใหญ่เป็นแนวปะการังเขากวางซึ่งจะเสียหายได้ง่าย นอกจากนี้มีความเป็นห่วงในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย เพราะผลกระทบดังกล่าวอาจจะขยายวงกว้างไปยังพื้นที่เกาะเฮ และเกาะแอว ซึ่งอยู่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย
นักวิชาการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ระบุว่า พื้นที่เกาะโหลน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์พืช ซึ่งการก่อสร้างสิ่งต่างๆ จะดำเนินการไม่ได้ ยกเว้นต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหากจะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือจะต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนแรกซึ่งจะต้องนำเข้าสู่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำระดับจังหวัดพิจารณาต่อไป