ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา จัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งส่งผลกระทบทางอ้อมต่อครอบครัวของผู้เสียหายต้องได้รับความเดือดร้อน ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเยียยาอย่างเร่งด่วนและพอเพียง
ขณะที่รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ญาติผู้ที่เสียชีวิต และผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายโดยผ่านหน่วยงานต่างๆ มากมาย ทั้งที่เป็นการเยียวยาด้วยเงิน ทรัพย์สิน และด้านจิตใจ มาโดยตลอด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ข้อมูลการประชาสัมพันธ์เยียวยาฯ สู่สาธารณะรับทราบมีน้อยมาก และไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนในพื้นที่คลางแคลงใจและมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อการดำเนินนโยบายช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ
นายอำพล บุญจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กล่าวว่า กรมประชาสัมพันธ์ จึงได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในพื้นที่สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาสและ สงขลา
ทั้งนี้ มีศูนย์กลางข้อมูลอยู่ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6 โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านทางเว๊บไซต์ www.prdcc.com เพื่อเป็นสื่อกลางให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการเยียวยาได้มากขึ้น รวมทั้งสื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจได้รับทราบกิจกรรมและงานเยียวยาฯ ของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
นอกจากนี้ วันนี้ (11 ก.พ.) ได้มีการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เยียวยาฯ และการเสวนาเรื่อง มุมมองการประชาสัมพันธ์เยียวยาฯ โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายปิยะโชติ อินทรนิวาส หัวหน้าศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการภาคใต้ นายมหรรณพ นวลสุวรรณ หัวหน้าศูนย์ข่าว อสมท ภาคใต้ และนางซามีนา อาแว ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ทั้งนี้ จากการเสวนาในมุมมองของสื่อมวลชน มองการประชาสัมพันธ์เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบว่า ปัจจุบันการทำข่าวเยียวยาฯ ต้องก้าวให้พ้นข่าวเชิงสังคมสงเคราะห์ โดยการขยายปริมณฑลข่าวให้กว้างขึ้นและต้องมุ่งเน้นการทำข่าวแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับและเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกัน นักข่าวต้องคิดสร้างสรรค์ประเด็นข่าวขึ้นมาเองด้วย และต้องมองมุมข่าวในองค์รวมหรือมองโครงสร้างข่าวให้ออก รวมทั้งสร้างเอกภาพในนโยบายรัฐ ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน
สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งส่งผลกระทบทางอ้อมต่อครอบครัวของผู้เสียหายต้องได้รับความเดือดร้อน ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเยียยาอย่างเร่งด่วนและพอเพียง
ขณะที่รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ญาติผู้ที่เสียชีวิต และผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายโดยผ่านหน่วยงานต่างๆ มากมาย ทั้งที่เป็นการเยียวยาด้วยเงิน ทรัพย์สิน และด้านจิตใจ มาโดยตลอด
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ข้อมูลการประชาสัมพันธ์เยียวยาฯ สู่สาธารณะรับทราบมีน้อยมาก และไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนในพื้นที่คลางแคลงใจและมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อการดำเนินนโยบายช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ
นายอำพล บุญจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กล่าวว่า กรมประชาสัมพันธ์ จึงได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในพื้นที่สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาสและ สงขลา
ทั้งนี้ มีศูนย์กลางข้อมูลอยู่ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6 โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านทางเว๊บไซต์ www.prdcc.com เพื่อเป็นสื่อกลางให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการเยียวยาได้มากขึ้น รวมทั้งสื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจได้รับทราบกิจกรรมและงานเยียวยาฯ ของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
นอกจากนี้ วันนี้ (11 ก.พ.) ได้มีการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เยียวยาฯ และการเสวนาเรื่อง มุมมองการประชาสัมพันธ์เยียวยาฯ โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายปิยะโชติ อินทรนิวาส หัวหน้าศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการภาคใต้ นายมหรรณพ นวลสุวรรณ หัวหน้าศูนย์ข่าว อสมท ภาคใต้ และนางซามีนา อาแว ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ทั้งนี้ จากการเสวนาในมุมมองของสื่อมวลชน มองการประชาสัมพันธ์เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบว่า ปัจจุบันการทำข่าวเยียวยาฯ ต้องก้าวให้พ้นข่าวเชิงสังคมสงเคราะห์ โดยการขยายปริมณฑลข่าวให้กว้างขึ้นและต้องมุ่งเน้นการทำข่าวแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับและเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกัน นักข่าวต้องคิดสร้างสรรค์ประเด็นข่าวขึ้นมาเองด้วย และต้องมองมุมข่าวในองค์รวมหรือมองโครงสร้างข่าวให้ออก รวมทั้งสร้างเอกภาพในนโยบายรัฐ ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกัน