ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งแล้วในพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว ตำบลป่าคลอก และหมู่ที่ 2 ตำบลเชิงทะเล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหา
นายโชตินรินทร์ เกิดสม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ในระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายนของทุกปีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตลักษณะอากาศของท้องถิ่น อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น และความแห้งแล้ง เริ่มแผ่กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง หรือปริมาณน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอื่นๆ
ส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นในบางพื้นที่ โดยขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นแล้ว คือพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อ.เมือง และพื้นที่หมู่ 2 ต.เชิงทะล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รวมทั้ง ต.ป่าคลอก ซึ่งทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตได้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเบื้องต้นโดยการจัดเครื่องสูบน้ำ และรถน้ำเข้าไปประจำในพื้นที่อำเภอถลาง 1 ชุด เพื่อให้บริการเติบน้ำให้กับประชาชน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจำนวน 53 หมู่บ้าน จะมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนกว่า 40,605 คน สำหรับการแก้ไขปัญหานั้นทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้สั่งการให้แก้ไขปัญหาในการจัดการน้ำอย่างมีระบบ ประกอบด้วย การเติมน้ำเข้าสู่ระบบน้ำประปาหมู่บ้านชุมชน การตรวจสอบระบบน้ำบาดาร และการเติมน้ำแบบถึงบ้านให้กับประชาชนที่ไม่ได้ใช้น้ำประปา หรือน้ำบาดาร
นายโชตินรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งนั้น ล่าสุด นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตลงนามด่วนที่สุดถึงหัวหน้าส่วนราช การและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2552 ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่รับผิดชอบ พร้อมกับรายงานให้จังหวัดทราบทุกวันอังคารจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
สำหรับการสำรวจตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั้นจะครอบคลุมในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน และชุมชนเป้าหมายเดิมที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากและพื้นที่ภัยแล้งใหม่ ทั้งรายครัวเรือนและประชาชน พื้นที่ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่นา สวนและพื้นที่ไร่ที่ได้รับความเสียหาย การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรทั้งการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ การซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ ซ่อมสร้าง ฝายหรือทำนบ ขุด ลอก คูคลองแหล่งน้ำธรรมชาติหรือขุมเหมือง
ขณะเดียวกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตยังได้ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เจรจา ติดต่อประสานงานขอใช้น้ำดิบจากขุมเหมืองของภาคเอกชนและน้ำจากขุมเหมืองในที่ดินที่อยู่ในความดูแลของ กรมธนารักษ์เพื่อนำมาเติมในอ่างเก็บน้ำบางวาดหรือขุมเหมืองอื่นๆ เพื่อผลิตน้ำประปาอย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ดี การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2552 ไม่ได้เริ่มขึ้นมาในช่วงนี้เท่านั้น หากแต่หน่วยงาน ราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง พยายามหาแนวทางเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภคมาอย่างต่อเนื่อง
นายโชตินรินทร์ เกิดสม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเกิดปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ในระหว่างเดือนมกราคม-เดือนเมษายนของทุกปีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตลักษณะอากาศของท้องถิ่น อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น และความแห้งแล้ง เริ่มแผ่กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง หรือปริมาณน้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอื่นๆ
ส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นในบางพื้นที่ โดยขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นแล้ว คือพื้นที่ตำบลเกาะแก้ว อ.เมือง และพื้นที่หมู่ 2 ต.เชิงทะล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รวมทั้ง ต.ป่าคลอก ซึ่งทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ตได้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเบื้องต้นโดยการจัดเครื่องสูบน้ำ และรถน้ำเข้าไปประจำในพื้นที่อำเภอถลาง 1 ชุด เพื่อให้บริการเติบน้ำให้กับประชาชน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจำนวน 53 หมู่บ้าน จะมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนกว่า 40,605 คน สำหรับการแก้ไขปัญหานั้นทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้สั่งการให้แก้ไขปัญหาในการจัดการน้ำอย่างมีระบบ ประกอบด้วย การเติมน้ำเข้าสู่ระบบน้ำประปาหมู่บ้านชุมชน การตรวจสอบระบบน้ำบาดาร และการเติมน้ำแบบถึงบ้านให้กับประชาชนที่ไม่ได้ใช้น้ำประปา หรือน้ำบาดาร
นายโชตินรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งนั้น ล่าสุด นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตลงนามด่วนที่สุดถึงหัวหน้าส่วนราช การและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2552 ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่รับผิดชอบ พร้อมกับรายงานให้จังหวัดทราบทุกวันอังคารจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง
สำหรับการสำรวจตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั้นจะครอบคลุมในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน และชุมชนเป้าหมายเดิมที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากและพื้นที่ภัยแล้งใหม่ ทั้งรายครัวเรือนและประชาชน พื้นที่ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่นา สวนและพื้นที่ไร่ที่ได้รับความเสียหาย การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรทั้งการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ การซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ ซ่อมสร้าง ฝายหรือทำนบ ขุด ลอก คูคลองแหล่งน้ำธรรมชาติหรือขุมเหมือง
ขณะเดียวกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตยังได้ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เจรจา ติดต่อประสานงานขอใช้น้ำดิบจากขุมเหมืองของภาคเอกชนและน้ำจากขุมเหมืองในที่ดินที่อยู่ในความดูแลของ กรมธนารักษ์เพื่อนำมาเติมในอ่างเก็บน้ำบางวาดหรือขุมเหมืองอื่นๆ เพื่อผลิตน้ำประปาอย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ดี การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2552 ไม่ได้เริ่มขึ้นมาในช่วงนี้เท่านั้น หากแต่หน่วยงาน ราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง พยายามหาแนวทางเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภคมาอย่างต่อเนื่อง