ตรัง - 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง จับมือแก้ปัญหาขยะ โดยนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อเป็นพลังงานทดแทน
วันนี้ (12 ม.ค.) รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ อาจารย์ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดตรัง จำนวน 12 แห่ง เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง เทศบาลนครตรัง เทศบาลตำบลห้วยยอด เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ เทศบาลตำบลท่าข้าม เทศบาลตำบลโคกหล่อ อบต.ควนธานี อบต.ควนปริง อบต.นาโยงเหนือ อบต.นาโยงใต้ ฯลฯ ได้ร่วมลงนามดำเนินโครงการศึกษา และพัฒนาสิ่งแวดล้อมจากมูลขยะ เพื่อพลังงานสะอาดสู่ชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน คือ ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 5 จังหวัดตรัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง วิทยาลัยการอาชีพตรัง และ บริษัท เอส.อี.เอ.เพาเวอร์ จำกัด
ทั้งนี้ จะมีการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหามูลขยะจากท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาทำการอบ ฆ่าเชื้อ และลดปริมาตรในการกำจัดมูลขยะ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวยังสามารถผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อนำไปใช้เป็นกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างอาคาร และการลงทุน รวมทั้งสิ้นกว่า 2,400 ล้านบาท ณ บริเวณกองขยะทุ่งแจ้ง (ไสลาว) ซึ่งเป็นสถานที่ทิ้งขยะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง
เนื่องจากปัญหาจากมูลขยะในปัจจุบัน ถือเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพอนามัย และด้านระบบนิเวศน์ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้น ภาคราชการ ทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น จึงมีความตระหนักในการแก้ไขปัญหามูลขยะ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมกับร่วมกันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดปัญหาด้านมลพิษน้อยที่สุดในชุมชน
ขณะเดียวกัน กระบวนการแก้ไขปัญหามูลขยะดังกล่าวถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในการกำจัดขยะของประเทศไทย และเป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่าการดำเนินการอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการดำเนินการในระบบการกำจัดขยะลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวจะกำจัดมูลขยะได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและชุมชน จนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สามารถไว้วางใจและเชื่อมั่นได้
ส่วนการผลิตเป็นพลังงานทดแทนกระแสไฟฟ้านั้น ทางคณะผู้ลงทุนจะดำเนินการเป็น 3 ส่วน คือ การนำกระแสไฟฟ้าที่ได้มาใช้ภายในโรงงาน การนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ไปแบ่งปันให้กับชุมชนที่นำมูลขยะมาเข้าร่วมโครงการ และการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ไปจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการต่อไปในอนาคต
วันนี้ (12 ม.ค.) รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ อาจารย์ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดตรัง จำนวน 12 แห่ง เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง เทศบาลนครตรัง เทศบาลตำบลห้วยยอด เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ เทศบาลตำบลท่าข้าม เทศบาลตำบลโคกหล่อ อบต.ควนธานี อบต.ควนปริง อบต.นาโยงเหนือ อบต.นาโยงใต้ ฯลฯ ได้ร่วมลงนามดำเนินโครงการศึกษา และพัฒนาสิ่งแวดล้อมจากมูลขยะ เพื่อพลังงานสะอาดสู่ชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน คือ ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 5 จังหวัดตรัง วิทยาลัยเทคนิคตรัง วิทยาลัยการอาชีพตรัง และ บริษัท เอส.อี.เอ.เพาเวอร์ จำกัด
ทั้งนี้ จะมีการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหามูลขยะจากท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาทำการอบ ฆ่าเชื้อ และลดปริมาตรในการกำจัดมูลขยะ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวยังสามารถผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อนำไปใช้เป็นกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างอาคาร และการลงทุน รวมทั้งสิ้นกว่า 2,400 ล้านบาท ณ บริเวณกองขยะทุ่งแจ้ง (ไสลาว) ซึ่งเป็นสถานที่ทิ้งขยะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง
เนื่องจากปัญหาจากมูลขยะในปัจจุบัน ถือเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพอนามัย และด้านระบบนิเวศน์ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้น ภาคราชการ ทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น จึงมีความตระหนักในการแก้ไขปัญหามูลขยะ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมกับร่วมกันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดปัญหาด้านมลพิษน้อยที่สุดในชุมชน
ขณะเดียวกัน กระบวนการแก้ไขปัญหามูลขยะดังกล่าวถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในการกำจัดขยะของประเทศไทย และเป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่าการดำเนินการอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการดำเนินการในระบบการกำจัดขยะลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวจะกำจัดมูลขยะได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและชุมชน จนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สามารถไว้วางใจและเชื่อมั่นได้
ส่วนการผลิตเป็นพลังงานทดแทนกระแสไฟฟ้านั้น ทางคณะผู้ลงทุนจะดำเนินการเป็น 3 ส่วน คือ การนำกระแสไฟฟ้าที่ได้มาใช้ภายในโรงงาน การนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ไปแบ่งปันให้กับชุมชนที่นำมูลขยะมาเข้าร่วมโครงการ และการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ไปจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการต่อไปในอนาคต