ระนอง - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง จัดสัปดาห์รณรงค์โรคมาลาเรีย 19-23 มกราคม 2552 หลังมีผู้ป่วยกว่า 2 พันราย เสียชีวิต 3 ราย
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมาจังหวัดระนองมีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าวชาวพม่า รวม 2,027 ราย มีผู้ป่วยคนไทยเสียชีวิต 1 ราย ชาวพม่า 2 ราย
ดังนั้น ในปี 2552 จังหวัดระนองจึงได้กำหนดมาตรการคุมเข้มไข้มาลาเรีย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมวางแผน เพื่อเป็นลดปัญหาการระบาดของโรคมาลาเรียในกลุ่มเสี่ยงทั้งคนไทยและแรงงานพม่าในพื้นที่แพร่เชื้อใช้มาตรการเชิงรุกโดยให้อาสาสมัครมาลาเรียและพนักงานมาลาเรียชุมชนออกตรวจค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรียใช้ชุดตรวจเพื่อวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว
แต่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้การรักษาและควบคุมการระบาดของเชื้อมาลาเรียอย่างทันท่วงทีโดยกำหนดให้วันที่ 19-23 มกราคม 2552 เป็นสัปดาห์รณรงค์โรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีและใช้มุ้งชุบสารเคมี ซึ่งประชาชนสามารถนำมุ้งไปชุบสารเคมีกำจัดยุงฟรี ที่ศูนย์มาลาเรียชุมชน และหน่วยมาลาเรียในพื้นที่ใกล้บ้าน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองพบโรคติดต่อชายแดนไทย-พม่า หลายโรค ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบมาถึงคนไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งโรคเอดส์ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก รวมทั้งโรคมาลาเรีย
ส่วนสาเหตุนั้นมาจากจังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านกว่า 160 กิโลเมตร ประชาชนทั้งสองประเทศเดินทางข้ามไปมาได้อย่างสะดวก ชาวพม่าจำนวนมากอพยพเข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดระนอง ทั้งที่ถูกกฎหมายและลักลอบเข้าเมืองมีสภาพความเป็นอยู่แออัด ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและซึ่งผู้ประกอบกิจการ/นายจ้างควรพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาโรคติดต่อต่างๆ ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่งด้วย
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมาจังหวัดระนองมีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าวชาวพม่า รวม 2,027 ราย มีผู้ป่วยคนไทยเสียชีวิต 1 ราย ชาวพม่า 2 ราย
ดังนั้น ในปี 2552 จังหวัดระนองจึงได้กำหนดมาตรการคุมเข้มไข้มาลาเรีย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมวางแผน เพื่อเป็นลดปัญหาการระบาดของโรคมาลาเรียในกลุ่มเสี่ยงทั้งคนไทยและแรงงานพม่าในพื้นที่แพร่เชื้อใช้มาตรการเชิงรุกโดยให้อาสาสมัครมาลาเรียและพนักงานมาลาเรียชุมชนออกตรวจค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรียใช้ชุดตรวจเพื่อวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว
แต่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้การรักษาและควบคุมการระบาดของเชื้อมาลาเรียอย่างทันท่วงทีโดยกำหนดให้วันที่ 19-23 มกราคม 2552 เป็นสัปดาห์รณรงค์โรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีและใช้มุ้งชุบสารเคมี ซึ่งประชาชนสามารถนำมุ้งไปชุบสารเคมีกำจัดยุงฟรี ที่ศูนย์มาลาเรียชุมชน และหน่วยมาลาเรียในพื้นที่ใกล้บ้าน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองพบโรคติดต่อชายแดนไทย-พม่า หลายโรค ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบมาถึงคนไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งโรคเอดส์ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก รวมทั้งโรคมาลาเรีย
ส่วนสาเหตุนั้นมาจากจังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านกว่า 160 กิโลเมตร ประชาชนทั้งสองประเทศเดินทางข้ามไปมาได้อย่างสะดวก ชาวพม่าจำนวนมากอพยพเข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดระนอง ทั้งที่ถูกกฎหมายและลักลอบเข้าเมืองมีสภาพความเป็นอยู่แออัด ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและซึ่งผู้ประกอบกิจการ/นายจ้างควรพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาโรคติดต่อต่างๆ ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่งด้วย