สุราษฎร์ธานี - อธิการบดี มรส.ผุด 3 นโยบาย รองรับนักศึกษา-บัณฑิต ข้ามผ่านวิกฤตว่างงาน หนุนบัณฑิตสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการศึกษาต่อปริญญาใบที่ 2 พร้อมจับมือสถานประกอบการ ขยายเวลาฝึกงาน เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในศาสตร์
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิยเผยว่า วิกฤตว่างงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในปี 2552 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้วางนโยบายไว้ 3 ประการ เพื่อช่วยเหลือบัณฑิตและนักศึกษาในภาวะว่างงานดังกล่าว ประการแรก
สำหรับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษามหาวิทยาลัยสนับสนุนให้นักศึกษาเหล่านั้นศึกษาต่อปริญญาใบที่ 2 ในสาขาที่แตกต่างกัน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง และอีกสองปีข้างหน้า เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว แม้วิกฤตว่างงานจะยังไม่ คลี่คลาย แต่เชื่อว่า บัณฑิตที่จบออกไปมีโอกาสที่จะได้งานสูง เพราะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลายศาสตร์ “ยกตัวอย่างเช่น บัณฑิตนิติศาสตร์ที่ ณ วันนี้มีโอกาสตกงานสูง หากศึกษาต่อปริญญาใบที่ 2 ในสาขาอื่น
เช่น สาขาวิชาบัญชี เมื่อจบออกไปแล้วก็มีโอกาสที่จะทำงานได้หลากหลายด้านมากขึ้น หรือหากจะประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีช่องทางที่กว้างขึ้น เพราะสามารถผนวกความรู้ทั้ง 2 ศาสตร์ คือ กฎหมายและการบัญชีเข้าด้วยกัน” อธิการบดี มรส.กล่าว ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ประการที่ 2 ขยายระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาให้นานขึ้น เช่น จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยให้นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนในระดับที่สามารถยังชีพได้ ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานกับสถานประกอบการหลายแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเนื่องจากสถานประกอบการเองก็จะได้รับประโยชน์ในแง่ของบุคลากรและกำลังคน
“การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้น ในระยะยาวจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสถานประกอบการ และตัวนักศึกษาเอง กล่าวคือ นักศึกษาจะมีความเชี่ยวชาญและลุ่มลึกในศาสตร์มากขึ้น ส่วนสถานประกอบการก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพและมีความภักดีต่อองค์กร” ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าว
ส่วนประการสุดท้าย ผศ.ดร.ณรงค์ เปิดเผยรายละเอียดว่า สำหรับบัณฑิต มรส.ที่สำเร็จการศึกษาออกไปก่อนหน้านี้และมีงานทำแล้ว แต่ถูกออกจากงานเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ สามารถนำหลักฐานการออกจากงานมาแสดงกับมหาวิทยาลัย เพื่อลดหย่อนค่าบำรุงการศึกษาในการกลับเข้ามาศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อรับปริญญาใบที่ 2 ได้
“การผลิตบัณฑิตเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยก็จริง แต่ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของนักศึกษา ส่วนครูอาจารย์ก็เปรียบเสมือนพ่อแม่ การโอบอุ้มลูกในวันที่ลูกประสบกับปัญหาจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวเดียวกันไม่อาจละเลยในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้วางนโยบายเหล่านี้เพื่อประคับประคองให้บัณฑิตและนักศึกษาสามารถข้ามผ่านภาวะวิกฤตดังกล่าวไปได้ และในอนาคตหากวิกฤตดังกล่าวยังไม่คลี่คลาย มหาวิทยาลัยก็จะดำเนินการช่วยเหลือด้วยวิธีการอื่นๆ ตามความเหมาะสมต่อไป จะไม่ทอดทิ้งบัณฑิตและนักศึกษาให้เผชิญวิกฤตโดยไม่รู้อนาคตอย่างแน่นอน” อธิการบดี มรส.กล่าวในที่สุด
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิยเผยว่า วิกฤตว่างงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในปี 2552 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้วางนโยบายไว้ 3 ประการ เพื่อช่วยเหลือบัณฑิตและนักศึกษาในภาวะว่างงานดังกล่าว ประการแรก
สำหรับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษามหาวิทยาลัยสนับสนุนให้นักศึกษาเหล่านั้นศึกษาต่อปริญญาใบที่ 2 ในสาขาที่แตกต่างกัน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง และอีกสองปีข้างหน้า เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว แม้วิกฤตว่างงานจะยังไม่ คลี่คลาย แต่เชื่อว่า บัณฑิตที่จบออกไปมีโอกาสที่จะได้งานสูง เพราะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลายศาสตร์ “ยกตัวอย่างเช่น บัณฑิตนิติศาสตร์ที่ ณ วันนี้มีโอกาสตกงานสูง หากศึกษาต่อปริญญาใบที่ 2 ในสาขาอื่น
เช่น สาขาวิชาบัญชี เมื่อจบออกไปแล้วก็มีโอกาสที่จะทำงานได้หลากหลายด้านมากขึ้น หรือหากจะประกอบอาชีพส่วนตัวก็มีช่องทางที่กว้างขึ้น เพราะสามารถผนวกความรู้ทั้ง 2 ศาสตร์ คือ กฎหมายและการบัญชีเข้าด้วยกัน” อธิการบดี มรส.กล่าว ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ประการที่ 2 ขยายระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาให้นานขึ้น เช่น จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยให้นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนในระดับที่สามารถยังชีพได้ ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้ประสานกับสถานประกอบการหลายแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเนื่องจากสถานประกอบการเองก็จะได้รับประโยชน์ในแง่ของบุคลากรและกำลังคน
“การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้น ในระยะยาวจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อสถานประกอบการ และตัวนักศึกษาเอง กล่าวคือ นักศึกษาจะมีความเชี่ยวชาญและลุ่มลึกในศาสตร์มากขึ้น ส่วนสถานประกอบการก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพและมีความภักดีต่อองค์กร” ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าว
ส่วนประการสุดท้าย ผศ.ดร.ณรงค์ เปิดเผยรายละเอียดว่า สำหรับบัณฑิต มรส.ที่สำเร็จการศึกษาออกไปก่อนหน้านี้และมีงานทำแล้ว แต่ถูกออกจากงานเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ สามารถนำหลักฐานการออกจากงานมาแสดงกับมหาวิทยาลัย เพื่อลดหย่อนค่าบำรุงการศึกษาในการกลับเข้ามาศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อรับปริญญาใบที่ 2 ได้
“การผลิตบัณฑิตเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยก็จริง แต่ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของนักศึกษา ส่วนครูอาจารย์ก็เปรียบเสมือนพ่อแม่ การโอบอุ้มลูกในวันที่ลูกประสบกับปัญหาจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวเดียวกันไม่อาจละเลยในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้วางนโยบายเหล่านี้เพื่อประคับประคองให้บัณฑิตและนักศึกษาสามารถข้ามผ่านภาวะวิกฤตดังกล่าวไปได้ และในอนาคตหากวิกฤตดังกล่าวยังไม่คลี่คลาย มหาวิทยาลัยก็จะดำเนินการช่วยเหลือด้วยวิธีการอื่นๆ ตามความเหมาะสมต่อไป จะไม่ทอดทิ้งบัณฑิตและนักศึกษาให้เผชิญวิกฤตโดยไม่รู้อนาคตอย่างแน่นอน” อธิการบดี มรส.กล่าวในที่สุด