สุราษฎร์ธานี - อธิการบดี มรส.ส่งสัญญาณถึง รมว.ศึกษาธิการ กระจายโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพทางการศึกษา ชี้ รัฐต้องดูแลสถาบันอุดมศึกษาด้วยฐานเดียวกัน เพื่อให้มหาวิทยาลัยใหม่มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพทัดเทียมมหาวิทยาลัยเก่า
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่งตั้ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า นายจุรินทร์ เป็นคนมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง และมีลักษณะของการประนีประนอมสูง กอปรกับการที่ นายจุรินทร์ เป็นประธานร่างนโยบายรัฐบาลย่อมทำให้มองเห็นภาพรวมนโยบายของรัฐบาลในทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถขับเคลื่อนกระทรวงศึกษาธิการโดยล้อไปกับภาพรวมได้
รวมทั้งการบูรณาการงานด้านการศึกษาเข้ากับภารกิจด้านอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย ทั้งนี้ ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผศ.ดร.ณรงค์ ได้ฝากถึงกระทรวงศึกษาธิการ ว่า รัฐต้องจัดให้มีกระบวนการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ปล่อยให้การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้เปรียบในสังคม และเลือกหยิบฉวยคุณภาพที่ดีไปก่อน
“ทุกวันนี้รัฐบาลลงทุนกับสถาบันอุดมศึกษาในจำนวนมหาศาล แต่เน้นให้กับมหาวิทยาลัยเดิมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่มีโอกาสทางสังคมอยู่แล้ว ในขณะที่มหาวิทยาลัยใหม่กลับได้รับการดูแลน้อยกว่า ดังนั้น รัฐควรลดการจำแนกความต่างโดยฐานของมหาวิทยาลัย แล้วเน้นการส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ตอบสนองคนในท้องถิ่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยใหม่ๆ มีโอกาสได้พัฒนาเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยเก่าๆ ซึ่งมีคุณภาพในระดับหนึ่งแล้ว” อธิการบดี มรส.กล่าว
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่งตั้ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า นายจุรินทร์ เป็นคนมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง และมีลักษณะของการประนีประนอมสูง กอปรกับการที่ นายจุรินทร์ เป็นประธานร่างนโยบายรัฐบาลย่อมทำให้มองเห็นภาพรวมนโยบายของรัฐบาลในทุกกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถขับเคลื่อนกระทรวงศึกษาธิการโดยล้อไปกับภาพรวมได้
รวมทั้งการบูรณาการงานด้านการศึกษาเข้ากับภารกิจด้านอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย ทั้งนี้ ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผศ.ดร.ณรงค์ ได้ฝากถึงกระทรวงศึกษาธิการ ว่า รัฐต้องจัดให้มีกระบวนการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ปล่อยให้การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้เปรียบในสังคม และเลือกหยิบฉวยคุณภาพที่ดีไปก่อน
“ทุกวันนี้รัฐบาลลงทุนกับสถาบันอุดมศึกษาในจำนวนมหาศาล แต่เน้นให้กับมหาวิทยาลัยเดิมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่มีโอกาสทางสังคมอยู่แล้ว ในขณะที่มหาวิทยาลัยใหม่กลับได้รับการดูแลน้อยกว่า ดังนั้น รัฐควรลดการจำแนกความต่างโดยฐานของมหาวิทยาลัย แล้วเน้นการส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ตอบสนองคนในท้องถิ่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยใหม่ๆ มีโอกาสได้พัฒนาเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยเก่าๆ ซึ่งมีคุณภาพในระดับหนึ่งแล้ว” อธิการบดี มรส.กล่าว