นครศรีธรรมราช - พื้นที่โดยรอบลุ่มแม่น้ำปากพนังนครศรีฯ 6 อำเภอ ระทมหลังน้ำท่วมขังนานนับเดือน น้ำเริ่มเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น เหตุน้ำไม่สามารถระบายออกทะเลได้ วอนเปิดประตูเขื่อนลุ่มแม่น้ำปากพนังเป็นระยะ
วันนี้ (9 ธ.ค.) หลังจากสถานการณ์ฝนตกในระลอกที่ 3 ส่งผลให้พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมเดิม 22 อำเภอ ระดับน้ำที่ลดลงเกือบเป็นปกติเพิ่มสงขึ้นอีกครั้งและไหลบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร ถนนหนทาง และบ้านเรือนของชาวบ้านที่ปลูกในที่ลุ่ม ในขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 6 อำเภอที่ถูกน้ำท่วมหนักนานนับเดือนประกอบด้วย อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ชะอวด อ.เมืองบางส่วน ระดับน้ำในพื้นที่ยังสูงกว่า 1 เมตร โดยเฉพาะในอำเภอปากพนัง น้ำที่ท่วมขังทุ่งนาและบริเวณป่าพรุต่างๆได้เริ่มน้ำเน่าเสีย จากซากพืชที่จมน้ำเป็นเวลานานจนตายและเน่า จนน้ำมีสีคล้ำชาวบ้านไม่กล้าเดินลุยน้ำ เพราะกลัวเชื้อโรคร้ายที่มากับน้ำ ซึ่งมีชาวบ้านป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมาก
นายวิโรจน์ ธีระกุล อายุ 70 ปี มีบ้านอยู่ข้างวัดบางไทร ต.บางศาลา อ.ปากพนัง กล่าวว่า ในขณะนี้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยราชการยุติไปหมดแล้ว แต่ชาวบ้านในลุ่มน้ำปากพนังกลับได้รับความเดือดร้อนหนักมากยิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำท่วมขังนานนับเดือนแล้ว น้ำก็เน่าส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง เพราะไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ สัตว์เลี้ยงก็อยู่บนถนนและขาดอาหารผอมโซ ชาวบ้านก็ไม่สามารถลงจากบ้านไปประกอบอาชีพได้ เป็นความเดือดร้อนหนักกว่าช่วงแรกๆ ที่ถูกน้ำท่วมเสียอีก
“ตามวัดต่างๆ พระภิกษุ สามเณร ก็เดือดร้อนเพราะเมื่อชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพได้ พระภิกษุออกบิณฑบาตไม่ได้ไม่มีอาหารฉันท์ ทั้งชาวบ้านและพระภิกษุต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ สงสารพระอาจารย์ไพศาลวิริยกิจ หรือพระอาจารย์เนียม วัดบางไทร พระเกจิชื่อดังเมืองนครศรีธรรมราช ที่ในแต่ละวันนั่งจับเจ่าอยู่บนกุฏิ ชาวบ้านต้องพยายามที่จะหาอาหารมาถวายให้พระอาจารย์เนียม และพระเณรในวัดได้ฉันพอประทังความหิวไปวันๆ เป็นสถานการณ์ที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งยังมีพระภิกษุ สามเณรอีกหลายวัดรวมทั้งชาวบ้านในหลายพื้นที่ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในสภาพเดียวกัน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลจนกว่าน้ำจะลดเป็นปกติ” นายวิโรจน์กล่าว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังได้ปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ตลอดเวลา เนื่องจากระดับน้ำทะเลได้หนุนเป็นระยะอย่างต่อเนื่องทำให้การระบายน้ำในพื้นที่เป็นไปอย่างล้าช้า
ประกอบกับอำเภอปากพนังเป็นพื้นที่รับน้ำหลักก่อนที่จะระบายลงสู่อ่าวไทย ซึ่งหากเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบดูแลแลเปิดเปิดประตูระบายน้ำเป็นระยะๆ โดยเมื่อน้ำทะเลหนุนก็ให้ปิดประตูเขื่อน เมื่อน้ำทะเลลงก็เปิดประตูเขื่อนน้ำที่ท่วมขังเต็มพื้นที่ก็จะสามารถระบายออกสู่ทะเลได้หมดแล้ว ทางโครงการลุ่มน้ำปากพนังหรือผู้ที่มีอำนาจช่วยพิจารณาการปิดเปิดประตูระบายน้ำอย่างเร่งด่วน
วันนี้ (9 ธ.ค.) หลังจากสถานการณ์ฝนตกในระลอกที่ 3 ส่งผลให้พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมเดิม 22 อำเภอ ระดับน้ำที่ลดลงเกือบเป็นปกติเพิ่มสงขึ้นอีกครั้งและไหลบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร ถนนหนทาง และบ้านเรือนของชาวบ้านที่ปลูกในที่ลุ่ม ในขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 6 อำเภอที่ถูกน้ำท่วมหนักนานนับเดือนประกอบด้วย อ.ปากพนัง อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ชะอวด อ.เมืองบางส่วน ระดับน้ำในพื้นที่ยังสูงกว่า 1 เมตร โดยเฉพาะในอำเภอปากพนัง น้ำที่ท่วมขังทุ่งนาและบริเวณป่าพรุต่างๆได้เริ่มน้ำเน่าเสีย จากซากพืชที่จมน้ำเป็นเวลานานจนตายและเน่า จนน้ำมีสีคล้ำชาวบ้านไม่กล้าเดินลุยน้ำ เพราะกลัวเชื้อโรคร้ายที่มากับน้ำ ซึ่งมีชาวบ้านป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมาก
นายวิโรจน์ ธีระกุล อายุ 70 ปี มีบ้านอยู่ข้างวัดบางไทร ต.บางศาลา อ.ปากพนัง กล่าวว่า ในขณะนี้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยราชการยุติไปหมดแล้ว แต่ชาวบ้านในลุ่มน้ำปากพนังกลับได้รับความเดือดร้อนหนักมากยิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำท่วมขังนานนับเดือนแล้ว น้ำก็เน่าส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง เพราะไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ สัตว์เลี้ยงก็อยู่บนถนนและขาดอาหารผอมโซ ชาวบ้านก็ไม่สามารถลงจากบ้านไปประกอบอาชีพได้ เป็นความเดือดร้อนหนักกว่าช่วงแรกๆ ที่ถูกน้ำท่วมเสียอีก
“ตามวัดต่างๆ พระภิกษุ สามเณร ก็เดือดร้อนเพราะเมื่อชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพได้ พระภิกษุออกบิณฑบาตไม่ได้ไม่มีอาหารฉันท์ ทั้งชาวบ้านและพระภิกษุต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ สงสารพระอาจารย์ไพศาลวิริยกิจ หรือพระอาจารย์เนียม วัดบางไทร พระเกจิชื่อดังเมืองนครศรีธรรมราช ที่ในแต่ละวันนั่งจับเจ่าอยู่บนกุฏิ ชาวบ้านต้องพยายามที่จะหาอาหารมาถวายให้พระอาจารย์เนียม และพระเณรในวัดได้ฉันพอประทังความหิวไปวันๆ เป็นสถานการณ์ที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งยังมีพระภิกษุ สามเณรอีกหลายวัดรวมทั้งชาวบ้านในหลายพื้นที่ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในสภาพเดียวกัน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลจนกว่าน้ำจะลดเป็นปกติ” นายวิโรจน์กล่าว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำไม่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังได้ปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ตลอดเวลา เนื่องจากระดับน้ำทะเลได้หนุนเป็นระยะอย่างต่อเนื่องทำให้การระบายน้ำในพื้นที่เป็นไปอย่างล้าช้า
ประกอบกับอำเภอปากพนังเป็นพื้นที่รับน้ำหลักก่อนที่จะระบายลงสู่อ่าวไทย ซึ่งหากเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบดูแลแลเปิดเปิดประตูระบายน้ำเป็นระยะๆ โดยเมื่อน้ำทะเลหนุนก็ให้ปิดประตูเขื่อน เมื่อน้ำทะเลลงก็เปิดประตูเขื่อนน้ำที่ท่วมขังเต็มพื้นที่ก็จะสามารถระบายออกสู่ทะเลได้หมดแล้ว ทางโครงการลุ่มน้ำปากพนังหรือผู้ที่มีอำนาจช่วยพิจารณาการปิดเปิดประตูระบายน้ำอย่างเร่งด่วน