พัทลุง – การระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในโคเนื้อ –โคนม จ.พัทลุง น่าเป็นห่วง ป่วยตายไปแล้ว 2 ตัว - คาดพ่อค้าซื้อโคติดเชื้อมาพักไว้ไม่มีการควบคุมโรค
วันนี้ (9 ธ.ค.) สถานการณ์การระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในโคเนื้อ-โคนมพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังคงน่าเป็นห่วง ล่าสุดโคเนื้อของนายพลัด ภักดีวานิช อายุ 77 ปี จำนวน 30 ตัวในพื้นที่ หมู่ 9 ต.นาโหนด อ.เมืองพัทลุง ป่วยตายไปแล้ว 2 ตัว แม้ทางปศุสัตว์จะลงพื้นที่ ฆ่าเชื้อทั่วบริเวณคอกและฉีดยาโคที่ป่วยแล้วก็ตาม ส่วนโคที่เหลือทางเจ้าของได้คัดแยกโคออกไปอยู่อีกคอก และเฝ้าระวังการป่วยเป็นอย่างดี
ในขณะที่เจ้าหน้าที่จากสำนักปศุสัตว์เข้าทำการฉีดยาปฏิชีวนะและแนะนำให้ใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้โรคระบาดแพร่กระจายออกไปยังคอกอื่นๆ เนื่องจากสภาพพื้นที่ ที่เลี้ยงมีน้ำแฉะและเมื่อฝนตกน้ำจะไหลออกตลอดเวลา ซึ่งสภาพดับกล่าวเอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค โดยในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงพบโคของเกษตรกรป่วยเป็นโรคเพิ่มอีก 3 ราย รวมในพื้นที่ที่โคมีอาการป่วยกว่า 100 ตัว
ทั้งนี้ สาเหตุการระบาดของโรคในเบื้องต้นคาดน่าจะมาจากการที่พ่อค้ากว๊านชื้อโคที่ติดเชื้อ มาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร เพื่อนำส่งขายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมาพักไว้ในพื้นที่ อ.กงหรา ก่อนส่งขายโดยไม่มีการควบคุมโรค
วันนี้ (9 ธ.ค.) สถานการณ์การระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในโคเนื้อ-โคนมพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังคงน่าเป็นห่วง ล่าสุดโคเนื้อของนายพลัด ภักดีวานิช อายุ 77 ปี จำนวน 30 ตัวในพื้นที่ หมู่ 9 ต.นาโหนด อ.เมืองพัทลุง ป่วยตายไปแล้ว 2 ตัว แม้ทางปศุสัตว์จะลงพื้นที่ ฆ่าเชื้อทั่วบริเวณคอกและฉีดยาโคที่ป่วยแล้วก็ตาม ส่วนโคที่เหลือทางเจ้าของได้คัดแยกโคออกไปอยู่อีกคอก และเฝ้าระวังการป่วยเป็นอย่างดี
ในขณะที่เจ้าหน้าที่จากสำนักปศุสัตว์เข้าทำการฉีดยาปฏิชีวนะและแนะนำให้ใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้โรคระบาดแพร่กระจายออกไปยังคอกอื่นๆ เนื่องจากสภาพพื้นที่ ที่เลี้ยงมีน้ำแฉะและเมื่อฝนตกน้ำจะไหลออกตลอดเวลา ซึ่งสภาพดับกล่าวเอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค โดยในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงพบโคของเกษตรกรป่วยเป็นโรคเพิ่มอีก 3 ราย รวมในพื้นที่ที่โคมีอาการป่วยกว่า 100 ตัว
ทั้งนี้ สาเหตุการระบาดของโรคในเบื้องต้นคาดน่าจะมาจากการที่พ่อค้ากว๊านชื้อโคที่ติดเชื้อ มาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร เพื่อนำส่งขายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมาพักไว้ในพื้นที่ อ.กงหรา ก่อนส่งขายโดยไม่มีการควบคุมโรค