พังงา - จังหวัดพังงา จัดงานวันเอดส์โลก รณรงค์ และป้องกันโรคเอดส์ ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ลดลง และเป็นการให้ความรู้แก่เยาวชนที่เป็นกลุ่มเสียง
ที่หอประชุมโรงเรียนทุ่งโพธิ์วิทยา อำเภอตะทั่วทุ่ง จังหวัดพังงา นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันเอดส์โลก ทั้งนี้ จังหวัดพังงา จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้ในระดับหนึ่ง แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ยังไม่ลดลง จากสถานการณ์เอดส์ของจังหวัดพังงา มีผู้ป่วยเอดส์สะสม ตั้งแต่ปี 2534 ถึงเดือนตุลาคม 2551 พบผู้ป่วยเอดส์ 1,308 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 25-29 ปี ร้อยละ 24.2 รองลงมาอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 23.8
ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุ 0-14 ปี ร้อยละ 5.4 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2.0 โดยพบในผู้ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอตะกั่วป่า รองลงมา อำเภอท้ายเหมือง ส่วนอัตราป่วยต่อแสนประชาชนเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปี 2546 พบมากที่สุด แต่ลดลงในปี 2547 และประมาณการว่าจนถึงสิ้นปี 2551 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดพังงาสะสมมากกว่า 2,000 ราย
โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กลุ่มเยาวชนมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน มีคู่นอนหลายคน และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ขาดความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การป้องกันการติดเชื้อ การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง และเนื่องด้วยวันที่ 1 ธันวาคม 2551 องค์การอนามัยโลก และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้ทั่วโลกร่วมจัดงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยมีคำขวัญว่า “Stop AIDS.Keep the Promise” ซึ่งถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวและส่งเสริมให้เกิดความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภัยคุกคาม และผลกระทบจากโรคเอดส์ รวมทั้ง เป็นการร่วมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ซึ่งในปีนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการ ในจังหวัดพังงา และชมรมต่างๆ ได้ร่วมกันจัดงานวันเอดส์โลกขึ้นเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการต่อต้านเอดส์
โดยมีแนวคิดว่าการต่อต้านเอดส์เป็นภารกิจของทุกคนและให้ทุกคนหันมาร่วมมือกันและรักษาสัญญาที่จะทำงานด้านป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ร่วมกัน มีกิจกรรมการเดินรณรงค์ของประชาชน นักเรียน และชมรมต่างๆ กิจกรรมโต้วาที การประกวดวาดภาพ การแสดงละครเวที ทอล์กโชว์ และนิทรรศการเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์
ที่หอประชุมโรงเรียนทุ่งโพธิ์วิทยา อำเภอตะทั่วทุ่ง จังหวัดพังงา นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันเอดส์โลก ทั้งนี้ จังหวัดพังงา จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้ในระดับหนึ่ง แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ยังไม่ลดลง จากสถานการณ์เอดส์ของจังหวัดพังงา มีผู้ป่วยเอดส์สะสม ตั้งแต่ปี 2534 ถึงเดือนตุลาคม 2551 พบผู้ป่วยเอดส์ 1,308 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 25-29 ปี ร้อยละ 24.2 รองลงมาอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 23.8
ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุ 0-14 ปี ร้อยละ 5.4 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2.0 โดยพบในผู้ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอตะกั่วป่า รองลงมา อำเภอท้ายเหมือง ส่วนอัตราป่วยต่อแสนประชาชนเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และปี 2546 พบมากที่สุด แต่ลดลงในปี 2547 และประมาณการว่าจนถึงสิ้นปี 2551 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดพังงาสะสมมากกว่า 2,000 ราย
โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กลุ่มเยาวชนมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน มีคู่นอนหลายคน และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ขาดความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การป้องกันการติดเชื้อ การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง และเนื่องด้วยวันที่ 1 ธันวาคม 2551 องค์การอนามัยโลก และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้ทั่วโลกร่วมจัดงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยมีคำขวัญว่า “Stop AIDS.Keep the Promise” ซึ่งถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวและส่งเสริมให้เกิดความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภัยคุกคาม และผลกระทบจากโรคเอดส์ รวมทั้ง เป็นการร่วมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ซึ่งในปีนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการ ในจังหวัดพังงา และชมรมต่างๆ ได้ร่วมกันจัดงานวันเอดส์โลกขึ้นเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการต่อต้านเอดส์
โดยมีแนวคิดว่าการต่อต้านเอดส์เป็นภารกิจของทุกคนและให้ทุกคนหันมาร่วมมือกันและรักษาสัญญาที่จะทำงานด้านป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ร่วมกัน มีกิจกรรมการเดินรณรงค์ของประชาชน นักเรียน และชมรมต่างๆ กิจกรรมโต้วาที การประกวดวาดภาพ การแสดงละครเวที ทอล์กโชว์ และนิทรรศการเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์