ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯภูเก็ต ร่วมส่งชาวภูเก็ต พังงา กระบี่ ออกเดินทางประกอบพิธีฮัจญ์ เที่ยวบินแรก 250 คน เผยปีนี้มีผู้ร่วมเดินทางกว่าพันคน
วันนี้ (9 พ.ย.) ที่บริเวณอากาศอเนกประสงค์ ท่าอากาศยานภูเก็ต นายปรีชา เรื่องจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีอำนวยพรแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประจำปี 2551 แก่พี่น้องชาวไทยมุสลิมจากจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และระนอง เที่ยวบินปฐมฤกษ์ 250 คน โดยมี นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดภูเก็ต นายปกรณ์ ตันสกุล รองอธิบดีกรมการศาสนา นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายบำรุง สำเภารัตน์ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนญาติพี่น้องของผู้เดินทางร่วมกันอำนวยพร
นายทวิชาติ กล่าวว่า การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นบทบัญญัติของศาสนาอิสลามข้อที่ 5 ที่กำหนดให้ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีความสามารถในชั่วชีวิตหนึ่งที่จะได้ไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ดังนั้น ชาวมุสลิมจากทั่วโลก รวมถึงพี่น้องชาวไทยมุสลิม จึงต้องพยายามที่จะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอันสำคัญดังกล่าวให้ได้ และในปีนี้มีผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต 1,100 คน เป็นชาวไทยมุสลิมจาก จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ และระนอง
กรมการศาสนาในฐานะสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยความสะดวกผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ประจำปี 2551 ให้มีหน้าที่อำนวยความสะดวกและเตรียมความพร้อมต่างๆ ให้ผู้ที่จะเดินทางไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์และญาติพี่น้องที่มาส่งเป็นจำนวนมากในแต่ละเที่ยวบิน ซึ่งการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ นั้น มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้ผู้ที่เดนทางไปประกอบพิธีมีความพร้อมในทุกด้าน มีความมั่นใจ มีความสะดวกสบายในการเดินทาง ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบียได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์ ทังนี้ เพื่อให้เพื่อให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมได้ประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมว่าประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา และส่งเสริมทุกศาสนาอย่างแท้จริง
นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นับเป็นวันมหาบุญอีกวันหนึ่งที่จะใช้เที่ยวบินเที่ยวนี้เป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในการไปประกอบศาสนกิจ ณ ดินแดนที่อิสลามิกชนทุกคนปรารถนาจะไปให้ถึง ซึ่งปัจจุบันนครเมกะถือว่าไม่ไกลไปจากใจอิสลามิกชนทุกคนที่ต้องไปให้ถึง เราสัมผัสกันด้วยใจมานานแล้ว นับตั้งแต่เราได้สู่ครรลองขององค์ศาสดา และต่อจากนี้ก็จะเป็นการเดินทางไปเพื่อสัมผัสสถานที่จริง
นอกจากการประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะแล้ว ยังต้องไปที่สุสานขององค์ศาสดา ศาสนกิจที่ต้องไปทำนั้นเป็นความยิ่งใหญ่ของชาวอิสลามิกชน ซึ่งทุกคนใฝ่ฝันและปรารถนา แสงสว่างแห่งธรรมกับคำสอนในคัมภีร์จะไม่มีประโยชน์เลยหากปล่อยให้อยู่เพียงในคัมภีร์ แสงธรรมคำสั่งสอนขององค์ศาสดานั้นจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อเรานำมาปฏิบัติให้บังเกิดผล และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
นายปรีชา กล่าวด้วยว่า การไปประกอบพิธีเช่นนี้นั้น แม้จะมีกติกาว่าขอสัมผัสสักครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีอยู่ แต่ในบางคนอาจจะไป 2-3 ครั้งหรือมากกว่านั้น ซึ่งจากที่ได้มีโอกาสคุยกับผู้รู้ทราบว่ายังมีอิสลามิกชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ไปด้วยติดระบบโควตาหรืออื่นๆ จึงอยากให้ช่วยกันคิดว่า หากเปิดโอกาสให้กับคนที่ยังไม่ได้ไปได้ไปบ้างจะทำให้บารมีขององค์ศาสดาแผ่ไปทั่วทุกหนแห่ง ซึ่งคงต้องไปคิดกันต่อส่าจะมีการจัดสรรเพิ่มเติมหรืไม่อย่างไรในเรื่องของปริมาณ
แต่อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้อยากให้มีการแบ่งปันกันไปบ้าง ไปแล้ว 1-2 ครั้ง ก็หยุดเปิดโอกาสให้กับผู้อื่นบ้าง หากทำได้ก็จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเดินทางไปร่วมประกอบพิธีทางศาสนา ฝากทุกคนที่ไปให้ปฏิบัติตามกฎกติกาของทางราชการอย่างเคร่งครัด ให้ระลึกเสมอว่าเราไปปฏิบัติศาสนกิจ เหมือนเป็นตัวแทนของประเทศไทย และเมื่อกลับมาก็ขอให้กลับมาอย่างสง่างาม เช่นนี้ทั่วโลกเขาจะได้มั่นใจว่าเรานั้นเป็นผู้ที่เคร่งครัดในระเบียบ วินัยและคัมภีร์อย่างแท้จริง คนรุ่นหลังก็จะได้ก้าวตามไปอย่างราบรื่นไม่พบพร่อง และสง่างามได้ ขอให้ทุกคนไปปฏิบัติศาสนกิจอย่างบรรลุผล
วันนี้ (9 พ.ย.) ที่บริเวณอากาศอเนกประสงค์ ท่าอากาศยานภูเก็ต นายปรีชา เรื่องจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีอำนวยพรแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประจำปี 2551 แก่พี่น้องชาวไทยมุสลิมจากจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และระนอง เที่ยวบินปฐมฤกษ์ 250 คน โดยมี นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดภูเก็ต นายปกรณ์ ตันสกุล รองอธิบดีกรมการศาสนา นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายบำรุง สำเภารัตน์ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนญาติพี่น้องของผู้เดินทางร่วมกันอำนวยพร
นายทวิชาติ กล่าวว่า การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นบทบัญญัติของศาสนาอิสลามข้อที่ 5 ที่กำหนดให้ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีความสามารถในชั่วชีวิตหนึ่งที่จะได้ไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ดังนั้น ชาวมุสลิมจากทั่วโลก รวมถึงพี่น้องชาวไทยมุสลิม จึงต้องพยายามที่จะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอันสำคัญดังกล่าวให้ได้ และในปีนี้มีผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต 1,100 คน เป็นชาวไทยมุสลิมจาก จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ และระนอง
กรมการศาสนาในฐานะสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยความสะดวกผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ประจำปี 2551 ให้มีหน้าที่อำนวยความสะดวกและเตรียมความพร้อมต่างๆ ให้ผู้ที่จะเดินทางไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์และญาติพี่น้องที่มาส่งเป็นจำนวนมากในแต่ละเที่ยวบิน ซึ่งการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ นั้น มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้ผู้ที่เดนทางไปประกอบพิธีมีความพร้อมในทุกด้าน มีความมั่นใจ มีความสะดวกสบายในการเดินทาง ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบียได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์ ทังนี้ เพื่อให้เพื่อให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมได้ประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมว่าประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา และส่งเสริมทุกศาสนาอย่างแท้จริง
นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นับเป็นวันมหาบุญอีกวันหนึ่งที่จะใช้เที่ยวบินเที่ยวนี้เป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในการไปประกอบศาสนกิจ ณ ดินแดนที่อิสลามิกชนทุกคนปรารถนาจะไปให้ถึง ซึ่งปัจจุบันนครเมกะถือว่าไม่ไกลไปจากใจอิสลามิกชนทุกคนที่ต้องไปให้ถึง เราสัมผัสกันด้วยใจมานานแล้ว นับตั้งแต่เราได้สู่ครรลองขององค์ศาสดา และต่อจากนี้ก็จะเป็นการเดินทางไปเพื่อสัมผัสสถานที่จริง
นอกจากการประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะแล้ว ยังต้องไปที่สุสานขององค์ศาสดา ศาสนกิจที่ต้องไปทำนั้นเป็นความยิ่งใหญ่ของชาวอิสลามิกชน ซึ่งทุกคนใฝ่ฝันและปรารถนา แสงสว่างแห่งธรรมกับคำสอนในคัมภีร์จะไม่มีประโยชน์เลยหากปล่อยให้อยู่เพียงในคัมภีร์ แสงธรรมคำสั่งสอนขององค์ศาสดานั้นจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อเรานำมาปฏิบัติให้บังเกิดผล และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
นายปรีชา กล่าวด้วยว่า การไปประกอบพิธีเช่นนี้นั้น แม้จะมีกติกาว่าขอสัมผัสสักครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีอยู่ แต่ในบางคนอาจจะไป 2-3 ครั้งหรือมากกว่านั้น ซึ่งจากที่ได้มีโอกาสคุยกับผู้รู้ทราบว่ายังมีอิสลามิกชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ไปด้วยติดระบบโควตาหรืออื่นๆ จึงอยากให้ช่วยกันคิดว่า หากเปิดโอกาสให้กับคนที่ยังไม่ได้ไปได้ไปบ้างจะทำให้บารมีขององค์ศาสดาแผ่ไปทั่วทุกหนแห่ง ซึ่งคงต้องไปคิดกันต่อส่าจะมีการจัดสรรเพิ่มเติมหรืไม่อย่างไรในเรื่องของปริมาณ
แต่อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้อยากให้มีการแบ่งปันกันไปบ้าง ไปแล้ว 1-2 ครั้ง ก็หยุดเปิดโอกาสให้กับผู้อื่นบ้าง หากทำได้ก็จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเดินทางไปร่วมประกอบพิธีทางศาสนา ฝากทุกคนที่ไปให้ปฏิบัติตามกฎกติกาของทางราชการอย่างเคร่งครัด ให้ระลึกเสมอว่าเราไปปฏิบัติศาสนกิจ เหมือนเป็นตัวแทนของประเทศไทย และเมื่อกลับมาก็ขอให้กลับมาอย่างสง่างาม เช่นนี้ทั่วโลกเขาจะได้มั่นใจว่าเรานั้นเป็นผู้ที่เคร่งครัดในระเบียบ วินัยและคัมภีร์อย่างแท้จริง คนรุ่นหลังก็จะได้ก้าวตามไปอย่างราบรื่นไม่พบพร่อง และสง่างามได้ ขอให้ทุกคนไปปฏิบัติศาสนกิจอย่างบรรลุผล