ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สถาบันวิจัยฯภูเก็ตประสบความสำเร็จเพาะขยายพันธุ์ “กุ้งตัวตลก” สำเร็จ แก้ปัญหาจับกุ้งส่วยงานตามแนวปะการัง
ดร.สมชัย บุศราวิช หัวหน้ากลุ่มพิพิธภัณฑ์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน กล่าวถึงการพัฒนาวิจัยและขยายพันธุ์สัตว์ทะเล เพื่อลดการจับสัตว์ทะเลสวยงามจากทะเล เพื่อนำมาแสดงในสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล ว่า การนำสัตว์ทะเลสวยงามมาจัดแสดงนั้นจะต้องมีการจับสัตว์สัตว์ทะเลสวยงามมาจากทะเล เพื่อจัดแสดงโชว์ให้ผู้เข้าชมได้ชม
โดยที่ผ่านมา มีชาวบ้านบางกลุ่มที่ลักลอบจับปลาสวยงาม และกุ้งสวยงามจากทะเลไปจับหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติและเพื่อลดจำนวนการจับสัตว์ทะเลสวยงามจากทะเลทางสถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน จึงได้จัดให้มีการศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์สัตว์ทะเลสวยงามเพื่อลดการจับสัตว์ทะเลสวยงามจากทะเล
โดยขณะนี้ทางสถานบันประสบความสำเร็จการวิจัยเพาะขยายพันธ์กุ้งสวยงามจำนวน 2 ชนิด คือ กุ้งตัวตลก และ กุ้งมดแดง ซึ่งนำมาจัดแสดงโชว์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล จังหวัดภูเก็ต ซึ่งกุ้งทะเลทั้ง 2 ชนิดเป็นกุ้งสวยงามที่ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก โดยใช้เวลาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ประมาณ 1 ปี และขณะนี้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว แต่โอกาสรอดของกุ้งทั้ง 2 ชนิดยังมีไม่มากนัก เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องของอาหารทำให้โอกาสรอดของกุ้งยังมีไม่สูง
แต่อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันยังมีความพยายามที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อลดปัญหาการจับกุ้งสวยงามจากทะเลไปจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการค้าปลาสวยงาม
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีการเพาะขยายพันธุ์กุ้งตัวตลก และ กุ้งมดแดง สำเร็จแล้วทางสถาบันยังสมารถเพาะขยายพันธุ์ม้าน้ำและหมึกกระเป๋าสำรวจด้วย นอกจากนั้น ยังมีการวิจัยเพาะขยายพันธุ์สัตว์ทะเลสวยงามอื่นๆ อีกหลายชนิด
ดร.สมชัย บุศราวิช หัวหน้ากลุ่มพิพิธภัณฑ์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน กล่าวถึงการพัฒนาวิจัยและขยายพันธุ์สัตว์ทะเล เพื่อลดการจับสัตว์ทะเลสวยงามจากทะเล เพื่อนำมาแสดงในสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล ว่า การนำสัตว์ทะเลสวยงามมาจัดแสดงนั้นจะต้องมีการจับสัตว์สัตว์ทะเลสวยงามมาจากทะเล เพื่อจัดแสดงโชว์ให้ผู้เข้าชมได้ชม
โดยที่ผ่านมา มีชาวบ้านบางกลุ่มที่ลักลอบจับปลาสวยงาม และกุ้งสวยงามจากทะเลไปจับหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติและเพื่อลดจำนวนการจับสัตว์ทะเลสวยงามจากทะเลทางสถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง และป่าชายเลน จึงได้จัดให้มีการศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์สัตว์ทะเลสวยงามเพื่อลดการจับสัตว์ทะเลสวยงามจากทะเล
โดยขณะนี้ทางสถานบันประสบความสำเร็จการวิจัยเพาะขยายพันธ์กุ้งสวยงามจำนวน 2 ชนิด คือ กุ้งตัวตลก และ กุ้งมดแดง ซึ่งนำมาจัดแสดงโชว์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์และพืชทะเล จังหวัดภูเก็ต ซึ่งกุ้งทะเลทั้ง 2 ชนิดเป็นกุ้งสวยงามที่ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก โดยใช้เวลาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ประมาณ 1 ปี และขณะนี้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว แต่โอกาสรอดของกุ้งทั้ง 2 ชนิดยังมีไม่มากนัก เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องของอาหารทำให้โอกาสรอดของกุ้งยังมีไม่สูง
แต่อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันยังมีความพยายามที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเพื่อลดปัญหาการจับกุ้งสวยงามจากทะเลไปจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการค้าปลาสวยงาม
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีการเพาะขยายพันธุ์กุ้งตัวตลก และ กุ้งมดแดง สำเร็จแล้วทางสถาบันยังสมารถเพาะขยายพันธุ์ม้าน้ำและหมึกกระเป๋าสำรวจด้วย นอกจากนั้น ยังมีการวิจัยเพาะขยายพันธุ์สัตว์ทะเลสวยงามอื่นๆ อีกหลายชนิด