กระบี่ - ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเยี่ยม เพาะพันธุ์สัตว์น้ำสัตว์น้ำมูลค่าสูง และปลาทะเลสวยงามได้เกือบครบ เผย เป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมของจังหวัดกระบี่ มีนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเที่ยวชมปีละ 4-5 หมื่นคน
นายไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ได้ทำการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำมูลค่าสูงได้หลายชนิด อาทิ ปลากะรังดอกแดง ปลาเก๋า ปลาช่อนทะเล ปลาหมอทะเล ปลากะพงขาว ปลากุสหลาด เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีตัวเลือกในการนำพันธุ์สัตว์นำเหล่านี้ไปเพาะเลี้ยง ป้องกันความเสี่ยง ในเรื่องของราคาที่ไม่แน่นอน เนื่องบางชนิดก็ราคาสูง แต่บางชนิดก็มีราคาตกต่ำ ขึ้นอยู่กับตลาด
นอกจากนี้ ก็ยังได้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามได้อีกหลายชนิดด้วย เช่น ปลาการ์ตูน ปลานกนางแอ่น ปลาหูช้าง ปลาม้าน้ำ ปลาสลิดหินฟ้าเหลือง ปลาตะกรับลายเสือ ปลานีออนเมเซล ปลากระรังหน้างอน ปลากะรังหงษ์ เป็นต้น
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ยังกล่าวอีกว่า ตอนแรกทางศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ได้มีการเพาะพันธุ์ปลากะรังดอกแดง เนื่องจากประเทศไทยส่งออกปลากะรังดอกแดงมาเป็นอันดับหนึ่ง จากนั้นก็ได้มีการเพาะพันธุ์ปลากะรังเสือและปลากะรังหน้างอน หรือปลากะรังหงษ์ ซึ่งมีราคาสู ตกกิโลกรัมละประมาณ 4,000-5,000 บาท
ในปีนี้ศูนย์วิจัยฯประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาหมอทะเล และปลากุสหลาด ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาสูง ส่วนปลากะรังก็เป็นปลาที่นิยมบริโภคกันมาก นับว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ สามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้เกือบทุกชนิดแล้ว นี่คือ ความภาคภูมิใจ และยังเป็นผลดีกับเกษตรกรที่จะได้มีทางเลือก ในการประกอบอาชีพ และนอกจากจะเป็นศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำมูลค่าสูงหลายชนิดแล้ว ยังมีการเพาะพันธุ์ปลาทะเลสวยงามอีกด้วย
“ตอนแรกได้มีการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเพียงอย่างเดียว จากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชม และรู้สึกชอบ จึงบอกกันปากต่อปากจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมมมากขึ้น ทำให้จังหวัดเห็นความสำคัญ โดยในปี พ.ศ.2548 จังหวัดได้สนับสนุนงบประมาณ 8 ล้านบาท เพื่อปรับภูมิทัศน์บริเวณบ่อเลี้ยงปลา แต่รูปแบบก็ยังเป็นการแสดงขั้นตอนการเพาะเลี้ยง การดำเนินการ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วปีละประมาณ 4-5 หมื่นคน และสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจ คือ มีนักเรียน นักศึกษาเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งด้วย”
นายไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ได้ทำการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำมูลค่าสูงได้หลายชนิด อาทิ ปลากะรังดอกแดง ปลาเก๋า ปลาช่อนทะเล ปลาหมอทะเล ปลากะพงขาว ปลากุสหลาด เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรได้มีตัวเลือกในการนำพันธุ์สัตว์นำเหล่านี้ไปเพาะเลี้ยง ป้องกันความเสี่ยง ในเรื่องของราคาที่ไม่แน่นอน เนื่องบางชนิดก็ราคาสูง แต่บางชนิดก็มีราคาตกต่ำ ขึ้นอยู่กับตลาด
นอกจากนี้ ก็ยังได้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามได้อีกหลายชนิดด้วย เช่น ปลาการ์ตูน ปลานกนางแอ่น ปลาหูช้าง ปลาม้าน้ำ ปลาสลิดหินฟ้าเหลือง ปลาตะกรับลายเสือ ปลานีออนเมเซล ปลากระรังหน้างอน ปลากะรังหงษ์ เป็นต้น
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ยังกล่าวอีกว่า ตอนแรกทางศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ได้มีการเพาะพันธุ์ปลากะรังดอกแดง เนื่องจากประเทศไทยส่งออกปลากะรังดอกแดงมาเป็นอันดับหนึ่ง จากนั้นก็ได้มีการเพาะพันธุ์ปลากะรังเสือและปลากะรังหน้างอน หรือปลากะรังหงษ์ ซึ่งมีราคาสู ตกกิโลกรัมละประมาณ 4,000-5,000 บาท
ในปีนี้ศูนย์วิจัยฯประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาหมอทะเล และปลากุสหลาด ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาสูง ส่วนปลากะรังก็เป็นปลาที่นิยมบริโภคกันมาก นับว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ สามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้เกือบทุกชนิดแล้ว นี่คือ ความภาคภูมิใจ และยังเป็นผลดีกับเกษตรกรที่จะได้มีทางเลือก ในการประกอบอาชีพ และนอกจากจะเป็นศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำมูลค่าสูงหลายชนิดแล้ว ยังมีการเพาะพันธุ์ปลาทะเลสวยงามอีกด้วย
“ตอนแรกได้มีการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเพียงอย่างเดียว จากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชม และรู้สึกชอบ จึงบอกกันปากต่อปากจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมมมากขึ้น ทำให้จังหวัดเห็นความสำคัญ โดยในปี พ.ศ.2548 จังหวัดได้สนับสนุนงบประมาณ 8 ล้านบาท เพื่อปรับภูมิทัศน์บริเวณบ่อเลี้ยงปลา แต่รูปแบบก็ยังเป็นการแสดงขั้นตอนการเพาะเลี้ยง การดำเนินการ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วปีละประมาณ 4-5 หมื่นคน และสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจ คือ มีนักเรียน นักศึกษาเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งด้วย”