ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - บีโอไอการลงทุนภาคใต้ 8 เดือนยังไม่สดใส เม็ดเงินลงทุนลดลง 53.29% โดยนักลงทุนยังคงให้ความสนใจในกิจการเกษตรกรรม-ผลิตผลทางการเกษตร และกิจการบริการ-สาธารณูปโภคเป็นหลัก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ จว.ฝั่งอันดามัน ขณะที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมี จ.สงขลา เป็นพื้นที่ลงทุนหลัก ซึ่งแม้จะมีแนวโน้มเม็ดเงินลงทุนลดลง แต่กลับมีสัญญาณบวกในพื้นที่ จ.ยะลาและปัตตานี ซึ่งนักลงทุนมั่นใจใน 3 โครงการในกิจการผลิตยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และโรงแรม ซิวเงินลงทุนแล้ว 511 ล้านบาท
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการส่งเสริมการลงทุน 14 จังหวัดภาคใต้ 8 เดือน ที่ผ่านมาของปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน พบว่ามีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 43 โครงการ ลดลงร้อยละ 24.56 เงินลงทุน 14,983.20 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.29 และการจ้างแรงงานไทย 5,265 คน ลดลงร้อยละ 25.82
สัดส่วนการถือหุ้นทั้ง 43 โครงการ เป็นโครงการที่มีคนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น 15 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 34.88 การร่วมทุนระหว่างคนไทยกับต่างชาติ (มาเลเซีย, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, สิงคโปร์, อังกฤษ, ฮ่องกง, เนเธอร์แลนด์ และศรีลังกา) จำนวน 21 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 48.84 และต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น (อังกฤษ, สิงคโปร์, มาเลเซีย และญี่ปุ่น) จำนวน 7 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 16.28
การลงทุนสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ โครงการของบริษัทบ้านทวาราวดี จำกัด เป็นกิจการโรงแรมขนาด 176 ห้อง เงินลงทุน 2,640 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 410 คน ร่วมทุนระหว่างคนไทยกับฮ่องกง ตั้งโครงการที่ จ.ภูเก็ต
อันดับ 2 คือ โครงการของบริษัท สิริ ภูเก็ต จำกัด เป็นกิจการโรงแรมขนาด 107 ห้อง เงินลงทุน 2,584 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 408 คน ถือหุ้นโดยชาวสิงคโปร์ทั้งสิ้น ตั้งโครงการที่ จ.ภูเก็ต
อันดับ 3 โครงการของบริษัท เอ็มเมอรัลด์ เบย์ รีสอร์ท จำกัด เป็นกิจการโรงแรม ขนาด 150 ห้อง เงินลงทุน 2,199.50 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 400 คน ถือหุ้นโดยชาวบริติชเวอร์จิ้น ตั้งโครงการที่ จ.ภูเก็ต
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 17 โครงการ เงินลงทุน 6,015.90 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,384 คน ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น 3 โครงการ ยางแท่ง 4 โครงการ ยางแผ่นรมควัน น้ำมันเมล็ดในปาล์ม 5 โครงการการผลิตเนยขาวและเนยเหลือง การผลิตไบโอดีเซล 2 โครงการ และ การผลิตวัสดุปลูกพืชจากขุยมะพร้าว
กิจการบริการและสาธารณูปโภค มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 16 โครงการ เงินลงทุน 8,431.80 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,481 คน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 5 โครงการ การขนถ่ายสินค้าทั่วไป เรือเฟอร์รี/เรือยอชต์ 2 โครงการ โรงแรม 4 โครงการ กิจการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน กิจการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และ โครงการบ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ
อุตสาหกรรมเบา มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ เงินลงทุน 444.60 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 2,232 คน ได้แก่ การผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 3 โครงการ การผลิตของเล่นจากไม้ และ การผลิตเทียนไข
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 2 โครงการ เงินลงทุน 16 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 18 คน ได้แก่ การผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้างและ การผลิตเครื่องรีดยาง
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ เงินลงทุน 31 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 43 คน ได้แก่ การผลิตขวดพลาสติก
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิก และโลหะพื้นฐาน มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ เงินลงทุน 40 ล้านบาท การจ้างแรงงานไทย 89 คน ได้แก่ การผลิตยิปซัม และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ เงินลงทุน 3.9 ล้านบาท การจ้างแรงงานไทย 18 คน ได้แก่ ซอฟแวร์
เมื่อพิจารณาจากสถานที่ตั้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนมาก-น้อย ดังนี้ จ.สุราษฎร์ธานี 14 โครงการ เงินลงทุน 4,556.60 ล้านบาท ได้แก่ น้ำยางข้น 2 โครงการเนยขาวและเนยเหลือง การขนถ่ายสินค้าทั่วไป เรือเฟอร์รี่ ยางแท่ง ไบโอดีเซล 2 โครงการ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม 3 โครงการ ธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ การผลิตเครื่องรีดยาง และ วัสดุปลูกพืชจากขุยมะพร้าว จ้างงานคนไทย 563 คน
จ.สงขลา 10 โครงการ เงินลงทุน 1,267.90 ล้านบาท ได้แก่ น้ำยางข้น ยางแท่ง 2 โครงการ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 3 โครงการ การผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง การผลิตเทียนไข การผลิตยิปซัม และ การผลิตซอฟต์แวร์ จ้างงานคนไทย 994 คน
จ.ภูเก็ต 7 โครงการ เงินลงทุน 7,735.10 ล้านบาท ได้แก่ โรงแรม 3 โครงการ เรือยอชต์ กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน บ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ และกิจการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ จ้างงานคนไทย 1,321 คน
จ.กระบี่ 4 โครงการ เงินลงทุน 355 ล้านบาท ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ การจ้างงานคนไทย 34 คน
จ.ตรัง 3 โครงการ เงินลงทุน 426.60 ล้านบาท ได้แก่ การผลิตของเล่นจากไม้ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพและ การผลิตน้ำมันเมล็ดในปาล์ม จ้างงานคนไทย 1,767 คน
จ.ยะลา 2 โครงการ เงินลงทุน 356 ล้านบาท ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน และโรงแรม จ้างงานคนไทย 443 คน
ส่วนจังหวัดที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช เงินลงทุน 31 ล้านบาท ผลิตขวดพลาสติกจ้างงานคนไทย 43 คน, จ.ปัตตานี มี เงินลงทุน 155 ล้านบาท ผลิตยางแท่ง จ้างงานคนไทย 52 คน และ จ.ระนอง เงินลงทุน 100 ล้านบาท ผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จ้างงานคนไทย 48 คน
ส่วนจังหวัดพังงา ชุมพร พัทลุง นราธิวาส และสตูล ยังไม่มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน
สำหรับ 5 จังหวัดชายแดนใต้ สถิติโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ปี 2548-2551 (มกราคม-สิงหาคม) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ 63 โครงการ เงินลงทุน 22,758 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 11,808 คน โดยโครงการส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในจังหวัดสงขลาเป็นหลัก
ปี 2551 (มกราคม-สิงหาคม) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 13 โครงการ เงินลงทุน 1,778.90 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,489 คน ได้แก่ จ.สงขลา จำนวน 10โครงการ มีแนวโน้มลดลงมากเมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อน, จ.ยะลา 2 โครงการ และ จ.ปัตตานี 1 โครงการ ซึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีการฟื้นตัวของการลงทุนในปีนี้ดีมาก ยกเว้น จ.นราธิวาสซึ่งไม่มีโครงการอนุมัติลงทุนมาร่วม 3 ปี เช่นเดียวกับ จ.สตูล นั้นทิ้งช่วงมานาน 2 ปี ซึ่งต้องลุ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายว่าจะมีโครงการอนุมัติหรือไม่
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการส่งเสริมการลงทุน 14 จังหวัดภาคใต้ 8 เดือน ที่ผ่านมาของปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน พบว่ามีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 43 โครงการ ลดลงร้อยละ 24.56 เงินลงทุน 14,983.20 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.29 และการจ้างแรงงานไทย 5,265 คน ลดลงร้อยละ 25.82
สัดส่วนการถือหุ้นทั้ง 43 โครงการ เป็นโครงการที่มีคนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น 15 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 34.88 การร่วมทุนระหว่างคนไทยกับต่างชาติ (มาเลเซีย, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, สิงคโปร์, อังกฤษ, ฮ่องกง, เนเธอร์แลนด์ และศรีลังกา) จำนวน 21 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 48.84 และต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น (อังกฤษ, สิงคโปร์, มาเลเซีย และญี่ปุ่น) จำนวน 7 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 16.28
การลงทุนสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ โครงการของบริษัทบ้านทวาราวดี จำกัด เป็นกิจการโรงแรมขนาด 176 ห้อง เงินลงทุน 2,640 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 410 คน ร่วมทุนระหว่างคนไทยกับฮ่องกง ตั้งโครงการที่ จ.ภูเก็ต
อันดับ 2 คือ โครงการของบริษัท สิริ ภูเก็ต จำกัด เป็นกิจการโรงแรมขนาด 107 ห้อง เงินลงทุน 2,584 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 408 คน ถือหุ้นโดยชาวสิงคโปร์ทั้งสิ้น ตั้งโครงการที่ จ.ภูเก็ต
อันดับ 3 โครงการของบริษัท เอ็มเมอรัลด์ เบย์ รีสอร์ท จำกัด เป็นกิจการโรงแรม ขนาด 150 ห้อง เงินลงทุน 2,199.50 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 400 คน ถือหุ้นโดยชาวบริติชเวอร์จิ้น ตั้งโครงการที่ จ.ภูเก็ต
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 17 โครงการ เงินลงทุน 6,015.90 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,384 คน ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น 3 โครงการ ยางแท่ง 4 โครงการ ยางแผ่นรมควัน น้ำมันเมล็ดในปาล์ม 5 โครงการการผลิตเนยขาวและเนยเหลือง การผลิตไบโอดีเซล 2 โครงการ และ การผลิตวัสดุปลูกพืชจากขุยมะพร้าว
กิจการบริการและสาธารณูปโภค มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 16 โครงการ เงินลงทุน 8,431.80 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,481 คน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 5 โครงการ การขนถ่ายสินค้าทั่วไป เรือเฟอร์รี/เรือยอชต์ 2 โครงการ โรงแรม 4 โครงการ กิจการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน กิจการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และ โครงการบ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ
อุตสาหกรรมเบา มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ เงินลงทุน 444.60 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 2,232 คน ได้แก่ การผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 3 โครงการ การผลิตของเล่นจากไม้ และ การผลิตเทียนไข
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 2 โครงการ เงินลงทุน 16 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 18 คน ได้แก่ การผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้างและ การผลิตเครื่องรีดยาง
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ เงินลงทุน 31 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 43 คน ได้แก่ การผลิตขวดพลาสติก
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิก และโลหะพื้นฐาน มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ เงินลงทุน 40 ล้านบาท การจ้างแรงงานไทย 89 คน ได้แก่ การผลิตยิปซัม และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ เงินลงทุน 3.9 ล้านบาท การจ้างแรงงานไทย 18 คน ได้แก่ ซอฟแวร์
เมื่อพิจารณาจากสถานที่ตั้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนมาก-น้อย ดังนี้ จ.สุราษฎร์ธานี 14 โครงการ เงินลงทุน 4,556.60 ล้านบาท ได้แก่ น้ำยางข้น 2 โครงการเนยขาวและเนยเหลือง การขนถ่ายสินค้าทั่วไป เรือเฟอร์รี่ ยางแท่ง ไบโอดีเซล 2 โครงการ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม 3 โครงการ ธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ การผลิตเครื่องรีดยาง และ วัสดุปลูกพืชจากขุยมะพร้าว จ้างงานคนไทย 563 คน
จ.สงขลา 10 โครงการ เงินลงทุน 1,267.90 ล้านบาท ได้แก่ น้ำยางข้น ยางแท่ง 2 โครงการ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 3 โครงการ การผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง การผลิตเทียนไข การผลิตยิปซัม และ การผลิตซอฟต์แวร์ จ้างงานคนไทย 994 คน
จ.ภูเก็ต 7 โครงการ เงินลงทุน 7,735.10 ล้านบาท ได้แก่ โรงแรม 3 โครงการ เรือยอชต์ กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน บ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ และกิจการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ จ้างงานคนไทย 1,321 คน
จ.กระบี่ 4 โครงการ เงินลงทุน 355 ล้านบาท ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ การจ้างงานคนไทย 34 คน
จ.ตรัง 3 โครงการ เงินลงทุน 426.60 ล้านบาท ได้แก่ การผลิตของเล่นจากไม้ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพและ การผลิตน้ำมันเมล็ดในปาล์ม จ้างงานคนไทย 1,767 คน
จ.ยะลา 2 โครงการ เงินลงทุน 356 ล้านบาท ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน และโรงแรม จ้างงานคนไทย 443 คน
ส่วนจังหวัดที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช เงินลงทุน 31 ล้านบาท ผลิตขวดพลาสติกจ้างงานคนไทย 43 คน, จ.ปัตตานี มี เงินลงทุน 155 ล้านบาท ผลิตยางแท่ง จ้างงานคนไทย 52 คน และ จ.ระนอง เงินลงทุน 100 ล้านบาท ผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จ้างงานคนไทย 48 คน
ส่วนจังหวัดพังงา ชุมพร พัทลุง นราธิวาส และสตูล ยังไม่มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน
สำหรับ 5 จังหวัดชายแดนใต้ สถิติโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ปี 2548-2551 (มกราคม-สิงหาคม) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติ 63 โครงการ เงินลงทุน 22,758 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 11,808 คน โดยโครงการส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในจังหวัดสงขลาเป็นหลัก
ปี 2551 (มกราคม-สิงหาคม) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 13 โครงการ เงินลงทุน 1,778.90 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,489 คน ได้แก่ จ.สงขลา จำนวน 10โครงการ มีแนวโน้มลดลงมากเมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อน, จ.ยะลา 2 โครงการ และ จ.ปัตตานี 1 โครงการ ซึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีการฟื้นตัวของการลงทุนในปีนี้ดีมาก ยกเว้น จ.นราธิวาสซึ่งไม่มีโครงการอนุมัติลงทุนมาร่วม 3 ปี เช่นเดียวกับ จ.สตูล นั้นทิ้งช่วงมานาน 2 ปี ซึ่งต้องลุ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายว่าจะมีโครงการอนุมัติหรือไม่