นครศรีธรรมราช – อาชีวศึกษานครศรีฯ จับมือ อบต.สร้างเครือข่ายศูนย์ซ่อม สร้างขยายฐานซ่อมบำรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ยกระดับรายได้ประชาชนท้องถิ่น
นายประเสริฐ ชูแสง ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า การอาชีวะได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน หรือ Fix-It Center ซึ่งถือเป็นโครงการเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีเป้าหมายที่สำคัญคือการช่วยลดรายจ่ายและช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน
โดยมีการให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษา ซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ สุขอนามัยพื้นฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ซึ่งจะต้องเร่งให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนเป็นการถาวรอย่างน้อย 1 จุดในทุกตำบล และมีการดำเนินการนำร่องในปี 2551 รวม 500 จุด ส่วนระยะต่อไปในปี 2552-2554 จะต้องดำเนินการปีละ 2,500 จุดจนครบเป้าหมาย 4 ปีจำนวน 8,000 จุด เป็นทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ
นายประเสริฐ ชูแสง ประธานอาชีวะศึกษานครศรีธรรมราช ระบุต่อว่าในส่วนของนครศรีธรรมราช มีสถานศึกษาในสังกัดรวม 11 แห่งครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ โดยทุกแห่งนั้นมีการแบ่งภาระกิจหลักรับผิดชอบศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนในระดับองค์การบริหารส่วนตำบลครอบคลุมทุกตำบลในนครศรีธรรมราช เสร็จจนครบทุกตำบล ขั้นตอนที่จะต้องสร้างความเชื่อมโยงคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับสถานศึกษา ทั้งนี้ยังจะได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในการดำเนินการของศูนย์ดังกล่าวด้วย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
ขณะที่ นายบุญวัฒน์ ชีช้าง ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช การประสานความร่วมมือกันระหว่างการอาชีวะศึกษานครศรีธรรมราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ถือว่าเป็นการพัฒนาทำให้เกิดดุลยภาพของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยเฉพาะโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มีรากฐานมั่นคง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตัวเองได้
โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญยังสามารถสร้างสังคมที่มีระเบียบของวิถีชีวิต จิตใจดีงาม ปรับตัวให้เข้ากับวิถีความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อม ซ่อมแซมสิ่งแวดล้อมที่กำลังกลายเป็นภัยทำลายมนุษย์เพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ซึ่งการดำเนินการในโครงการศูนย์ซ่อมสร้างถือเป็นลักษณะของการพึ่งพาเชื่อมโยงเกื้อหนุนสังคมร่วมกันของสถาบันการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและท้องถิ่น นับเป็นการพัฒนาโครงสร้างของสังคมในชุมชนให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
นายประเสริฐ ชูแสง ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า การอาชีวะได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน หรือ Fix-It Center ซึ่งถือเป็นโครงการเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีเป้าหมายที่สำคัญคือการช่วยลดรายจ่ายและช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน
โดยมีการให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษา ซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ สุขอนามัยพื้นฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ซึ่งจะต้องเร่งให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนเป็นการถาวรอย่างน้อย 1 จุดในทุกตำบล และมีการดำเนินการนำร่องในปี 2551 รวม 500 จุด ส่วนระยะต่อไปในปี 2552-2554 จะต้องดำเนินการปีละ 2,500 จุดจนครบเป้าหมาย 4 ปีจำนวน 8,000 จุด เป็นทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ
นายประเสริฐ ชูแสง ประธานอาชีวะศึกษานครศรีธรรมราช ระบุต่อว่าในส่วนของนครศรีธรรมราช มีสถานศึกษาในสังกัดรวม 11 แห่งครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ โดยทุกแห่งนั้นมีการแบ่งภาระกิจหลักรับผิดชอบศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนในระดับองค์การบริหารส่วนตำบลครอบคลุมทุกตำบลในนครศรีธรรมราช เสร็จจนครบทุกตำบล ขั้นตอนที่จะต้องสร้างความเชื่อมโยงคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับสถานศึกษา ทั้งนี้ยังจะได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในการดำเนินการของศูนย์ดังกล่าวด้วย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
ขณะที่ นายบุญวัฒน์ ชีช้าง ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช การประสานความร่วมมือกันระหว่างการอาชีวะศึกษานครศรีธรรมราช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ถือว่าเป็นการพัฒนาทำให้เกิดดุลยภาพของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยเฉพาะโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มีรากฐานมั่นคง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตัวเองได้
โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญยังสามารถสร้างสังคมที่มีระเบียบของวิถีชีวิต จิตใจดีงาม ปรับตัวให้เข้ากับวิถีความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อม ซ่อมแซมสิ่งแวดล้อมที่กำลังกลายเป็นภัยทำลายมนุษย์เพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ซึ่งการดำเนินการในโครงการศูนย์ซ่อมสร้างถือเป็นลักษณะของการพึ่งพาเชื่อมโยงเกื้อหนุนสังคมร่วมกันของสถาบันการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและท้องถิ่น นับเป็นการพัฒนาโครงสร้างของสังคมในชุมชนให้มีความแข็งแรงมากขึ้น