ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ เผย สหประชาชาติระบุสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยอยู่ในขั้นรุนแรง พร้อมระบุทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (10 ก.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด กล่าวในการเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์สำหรับพนักงานอัยการ ซึ่งทางศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ (ศตม.) สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ จัดขึ้นโดยมีพนักงานอัยการเขต 8 ทั้งหมด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เข้าร่วม 50 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว เดิมจะปรากฏในรูปแบบของการบังคับหญิงและเด็กให้บริการทางเพศภายในประเทศ และการหลอกลวงไปขายบริการทางเพศในต่างประเทศ การลักพาเด็ก
ต่อมาความเจริญของการคมนาคม เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดภาวะโลกไร้พรมแดน ส่งผลให้การค้ามนุษย์ กระทำได้สะดวกและมีรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนั้น อาชญากรได้กระทำการเป็นเครือข่ายและมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งประชาคมโลกได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเรียกร้องให้แต่ละประเทศต้องร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการกระทำดังกล่าวอย่างจริงจัง
ในส่วนของรัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง จึงกำหนดเป็นนโยบายและระเบียบวาระแห่งชาติ โดยในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้ให้ความสำคัญการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างมาก เช่น ในปี 2546 สำนักอัยการสูงสุดได้ลงนามข้อตกลง 2 ฉบับ กับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการร่วมกันกรณีการค้าหญิงและเด็ก ในปี 2550 ในพื้นที่อัยการจังหวัด 6 จังหวัดพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและอัยการจังหวัด 8 จังหวัด
ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้ร่วมกันลงนามกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในบันทึกข้อตกลงเพื่อวางแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้วย
ทางด้าน นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่สังคมโลกให้ความสนใจมาก ซึ่งจากการสำรวจการค้ามนุษย์ทั่วโลกเมื่อปี 2549 ของสหประชาชาติ พบว่า การค้ามนุษย์ในแถบเอเชียมีค่อนข้างสูง และไทยเป็นประเทศลำดับต้นๆ ของเอเชีย และของโลกที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากเป็นทั้งต้นทางซึ่งคนไทยไปค้ามนุษย์ในประเทศอื่น เป็นทางผ่านซึ่งประเทศรอบบ้านใช้เราเป็นทางผ่านในการนำเหยื่อส่งต่อไปประเทศอื่นๆ และปลายทาง ซึ่งมีต่างชาติเข้ามาค้ามนุษย์ในเมืองไทย มีทั้งเหยื่อที่เป็นหญิงโสเภณี เด็ก ขอทาน ผู้ชาย บังคับใช้แรงงานต่างๆ
ดังนั้น เมื่อสหประชาชาติให้ความสนใจในประเด็นที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ประเทศต่างๆ ก็พุ่งมาที่ประเทศไทย ว่า มีการบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างไร และรัฐบาลเองก็มีระเบียบวาระแห่งชาติในการดำเนินการเรื่องนี้ และเราก็เป็นที่ยอมรับว่ามีความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดเช่นกัน จึงได้มีการตั้งศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา มีหน้าที่ติดตามประเมินสถานการณ์ แก้ปัญหา
รวมทั้งชี้แจงตอบข้อซักถามของต่างชาติที่ให้ความสนใจ เช่น คดีการลักลอบขนแรงงานพม่า เสียชีวิตในรถห้องเย็น ที่ จ.ระนอง ซึ่งสอบถามกันว่าเป็นการค้ามนุษย์หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายและเป็นคดีกันอยู่ เป็นต้น
นายจุมพล กล่าวด้วยว่า สหประชาชาติได้ให้เครื่องหมายว่า ประเทศไทยมีสถานการณ์ค้ามนุษย์อยู่ในขั้นรุนแรงและเป็นพื้นที่สีแดง ซึ่งในแถบเอเชียนอกจากประเทศไทยแล้วยังมีประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงต้องช่วยกันทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือเพื่อให้ปัญหาลดความรุนแรงลง ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นต่างชาติ มีทั้งในกลุ่มของหญิง เด็ก ชาย และแรงงาน ส่วนของจำนวนสถิติขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีการรวบรวม
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (10 ก.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด กล่าวในการเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์สำหรับพนักงานอัยการ ซึ่งทางศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ (ศตม.) สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ จัดขึ้นโดยมีพนักงานอัยการเขต 8 ทั้งหมด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน เข้าร่วม 50 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้ว เดิมจะปรากฏในรูปแบบของการบังคับหญิงและเด็กให้บริการทางเพศภายในประเทศ และการหลอกลวงไปขายบริการทางเพศในต่างประเทศ การลักพาเด็ก
ต่อมาความเจริญของการคมนาคม เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดภาวะโลกไร้พรมแดน ส่งผลให้การค้ามนุษย์ กระทำได้สะดวกและมีรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนั้น อาชญากรได้กระทำการเป็นเครือข่ายและมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งประชาคมโลกได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเรียกร้องให้แต่ละประเทศต้องร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการกระทำดังกล่าวอย่างจริงจัง
ในส่วนของรัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง จึงกำหนดเป็นนโยบายและระเบียบวาระแห่งชาติ โดยในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้ให้ความสำคัญการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างมาก เช่น ในปี 2546 สำนักอัยการสูงสุดได้ลงนามข้อตกลง 2 ฉบับ กับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการร่วมกันกรณีการค้าหญิงและเด็ก ในปี 2550 ในพื้นที่อัยการจังหวัด 6 จังหวัดพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและอัยการจังหวัด 8 จังหวัด
ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้ร่วมกันลงนามกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในบันทึกข้อตกลงเพื่อวางแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้วย
ทางด้าน นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่สังคมโลกให้ความสนใจมาก ซึ่งจากการสำรวจการค้ามนุษย์ทั่วโลกเมื่อปี 2549 ของสหประชาชาติ พบว่า การค้ามนุษย์ในแถบเอเชียมีค่อนข้างสูง และไทยเป็นประเทศลำดับต้นๆ ของเอเชีย และของโลกที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากเป็นทั้งต้นทางซึ่งคนไทยไปค้ามนุษย์ในประเทศอื่น เป็นทางผ่านซึ่งประเทศรอบบ้านใช้เราเป็นทางผ่านในการนำเหยื่อส่งต่อไปประเทศอื่นๆ และปลายทาง ซึ่งมีต่างชาติเข้ามาค้ามนุษย์ในเมืองไทย มีทั้งเหยื่อที่เป็นหญิงโสเภณี เด็ก ขอทาน ผู้ชาย บังคับใช้แรงงานต่างๆ
ดังนั้น เมื่อสหประชาชาติให้ความสนใจในประเด็นที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ประเทศต่างๆ ก็พุ่งมาที่ประเทศไทย ว่า มีการบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างไร และรัฐบาลเองก็มีระเบียบวาระแห่งชาติในการดำเนินการเรื่องนี้ และเราก็เป็นที่ยอมรับว่ามีความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดเช่นกัน จึงได้มีการตั้งศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา มีหน้าที่ติดตามประเมินสถานการณ์ แก้ปัญหา
รวมทั้งชี้แจงตอบข้อซักถามของต่างชาติที่ให้ความสนใจ เช่น คดีการลักลอบขนแรงงานพม่า เสียชีวิตในรถห้องเย็น ที่ จ.ระนอง ซึ่งสอบถามกันว่าเป็นการค้ามนุษย์หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายและเป็นคดีกันอยู่ เป็นต้น
นายจุมพล กล่าวด้วยว่า สหประชาชาติได้ให้เครื่องหมายว่า ประเทศไทยมีสถานการณ์ค้ามนุษย์อยู่ในขั้นรุนแรงและเป็นพื้นที่สีแดง ซึ่งในแถบเอเชียนอกจากประเทศไทยแล้วยังมีประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงต้องช่วยกันทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือเพื่อให้ปัญหาลดความรุนแรงลง ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นต่างชาติ มีทั้งในกลุ่มของหญิง เด็ก ชาย และแรงงาน ส่วนของจำนวนสถิติขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีการรวบรวม