พัทลุง - จังหวัดพัทลุงเร่งพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ตามนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร หลังพบบางแห่งปล่อยให้รฏร้าง ในขณะเดียวกันพร้อมจัดตั้งชุดเฉพาะกิจตรวจเขียง
นางสาวดวงใจ ช.บุญพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้เรียกประชุมคณะทำงานโครงการจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์มาตรฐานจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จาก 11 อำเภอ เข้าร่วมประชุม หลังการก่อสร้างตามงบผู้ว่าฯซีอีโอ 54 ล้านบาท แต่ก่อสร้างเสร็จไม่ได้รับการตอบรับจากเจ้าของเขียงเท่าที่ควร จึงทำให้โรงฆ่าสัตว์ถูกปล่อยทิ้งร้าง
นายไพโรจน์ อินทรศรี ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า โรงฆ่าสัตว์ที่ก่อสร้างโดยการใช้งบผู้ว่าฯซีอีโอ ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีทั้งสิ้น 11 แห่ง กระจายในทุกอำเภอ แต่ก่อสร้างเสร็จมาระยะหลัง การชำเหละเนื้อสัตว์ไปสู่การบริโภค ไม่ได้ผ่านโรงฆ่าสัตว์ ที่ได้มาตรฐาน บางแห่งได้ปล่อยให้มีการทิ้งร้าง เสียดายงบประมาณ โดยหลังจากพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตามนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร หรือฟู้ดเซฟตี้ สู่ผู้บริโภคที่ปลอดภัย
นายไพโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้เตรียมตั้งชุดเฉพาะกิจ ระหว่าง ตำรวจ สาธารณสุข ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อออกตรวจตามเขียงต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด เพื่อเอาผิดกับเขียงเถื่อน โดยให้ผู้ซื้อได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย ซึ่งคาดว่าชุดปฏิบัติการดังกล่าวสามารถออดำเนินการได้ในต้นเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
สำหรับจังหวัดพัทลุงเกษตรกรประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์จำนวน 34,828 ครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดพัทลุง ประมาณ 2 พันล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ในอนาคตคาดว่าจะมีการบูรณาการ ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรต่อไป
นางสาวดวงใจ ช.บุญพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้เรียกประชุมคณะทำงานโครงการจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์มาตรฐานจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จาก 11 อำเภอ เข้าร่วมประชุม หลังการก่อสร้างตามงบผู้ว่าฯซีอีโอ 54 ล้านบาท แต่ก่อสร้างเสร็จไม่ได้รับการตอบรับจากเจ้าของเขียงเท่าที่ควร จึงทำให้โรงฆ่าสัตว์ถูกปล่อยทิ้งร้าง
นายไพโรจน์ อินทรศรี ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า โรงฆ่าสัตว์ที่ก่อสร้างโดยการใช้งบผู้ว่าฯซีอีโอ ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีทั้งสิ้น 11 แห่ง กระจายในทุกอำเภอ แต่ก่อสร้างเสร็จมาระยะหลัง การชำเหละเนื้อสัตว์ไปสู่การบริโภค ไม่ได้ผ่านโรงฆ่าสัตว์ ที่ได้มาตรฐาน บางแห่งได้ปล่อยให้มีการทิ้งร้าง เสียดายงบประมาณ โดยหลังจากพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตามนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร หรือฟู้ดเซฟตี้ สู่ผู้บริโภคที่ปลอดภัย
นายไพโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้เตรียมตั้งชุดเฉพาะกิจ ระหว่าง ตำรวจ สาธารณสุข ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อออกตรวจตามเขียงต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด เพื่อเอาผิดกับเขียงเถื่อน โดยให้ผู้ซื้อได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย ซึ่งคาดว่าชุดปฏิบัติการดังกล่าวสามารถออดำเนินการได้ในต้นเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
สำหรับจังหวัดพัทลุงเกษตรกรประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์จำนวน 34,828 ครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดพัทลุง ประมาณ 2 พันล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ในอนาคตคาดว่าจะมีการบูรณาการ ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรต่อไป