ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รองผู้ว่าฯ ภูเก็ตเน้นย้ำอนุญาตโครงการจัดสรรที่ดินต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องของการระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องของน้ำท่วมขัง
วันนี้ (7 ส.ค.) ที่ห้องประชุมหอทะเบียนที่ดิน 2459 สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 3/2551 เพื่อพิจารณาการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และการดำเนินงานของทางคณะกรรมการฯ ในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่การอนุญาตให้มีการจัดสรรที่ดินที่มีเงื่อนไข โครงการจัดสรรที่ดินที่ได้ออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินแล้ว และได้แจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัด การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค พิจารณาการขออนุญาตแก้ไขผังโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้อาศัยหมู่บ้านวราณีย์บายพาส โดยคณะกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งที่ประชุมได้ทราบเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน 12 ราย โครงการจัดสรรที่ดินที่ได้ออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินแล้ว และได้แจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัด 3 โครงการ, การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค 10 ราย พิจารณาการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน 2 รายและการพิจารณาการขออนุญาตแก้ไขแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน 4 ราย การขออนุญาตก่อภาระผูกพันแก่ที่ดินสาธารณูปโภคในที่ดินที่ได้รับอนูญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน (เปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาระจำยอม) 1 ราย
นายตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุมว่า ในการพิจารณารายละเอียดเพื่อออกใบอนุญาตจัดสรรให้กับโครงการต่างๆ จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเป็นหลัก รวมทั้งในแต่ละโครงการที่มีการยื่นขออนุญาตมานั้นจะต้องเน้นย้ำการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้มีการเสนอไว้ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นายตรี กล่าวด้วยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้ฝากเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องของการระบายน้ำ หากโครงการใดไม่มีการดำเนินการในส่วนของการจัดทำท่อระบายน้ำ ก็ไม่ควรที่จะอนุญาตจนกว่าจะมีการแก้ไข หรือหากมีอยู่แล้วแต่ไม่ได้ขนาดก็จะต้องไปดำเนินการเพื่อให้เพียงพอรองรับปริมาณน้ำที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องของน้ำท่วม ซึ่งขณะนี้ในหลายพื้นที่กำลังประสบอยู่ หากโครงการใดไม่สามารถทำได้ก็ไม่ควรอนุญาตและไม่ควรที่จะเกรงใจเจ้าของโครงการ แต่ควรมองเห็นความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนเป็นหลัก
วันนี้ (7 ส.ค.) ที่ห้องประชุมหอทะเบียนที่ดิน 2459 สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 3/2551 เพื่อพิจารณาการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และการดำเนินงานของทางคณะกรรมการฯ ในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่การอนุญาตให้มีการจัดสรรที่ดินที่มีเงื่อนไข โครงการจัดสรรที่ดินที่ได้ออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินแล้ว และได้แจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัด การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค พิจารณาการขออนุญาตแก้ไขผังโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้อาศัยหมู่บ้านวราณีย์บายพาส โดยคณะกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งที่ประชุมได้ทราบเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน 12 ราย โครงการจัดสรรที่ดินที่ได้ออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินแล้ว และได้แจ้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัด 3 โครงการ, การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค 10 ราย พิจารณาการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน 2 รายและการพิจารณาการขออนุญาตแก้ไขแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน 4 ราย การขออนุญาตก่อภาระผูกพันแก่ที่ดินสาธารณูปโภคในที่ดินที่ได้รับอนูญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน (เปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาระจำยอม) 1 ราย
นายตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุมว่า ในการพิจารณารายละเอียดเพื่อออกใบอนุญาตจัดสรรให้กับโครงการต่างๆ จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเป็นหลัก รวมทั้งในแต่ละโครงการที่มีการยื่นขออนุญาตมานั้นจะต้องเน้นย้ำการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้มีการเสนอไว้ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นายตรี กล่าวด้วยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้ฝากเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องของการระบายน้ำ หากโครงการใดไม่มีการดำเนินการในส่วนของการจัดทำท่อระบายน้ำ ก็ไม่ควรที่จะอนุญาตจนกว่าจะมีการแก้ไข หรือหากมีอยู่แล้วแต่ไม่ได้ขนาดก็จะต้องไปดำเนินการเพื่อให้เพียงพอรองรับปริมาณน้ำที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องของน้ำท่วม ซึ่งขณะนี้ในหลายพื้นที่กำลังประสบอยู่ หากโครงการใดไม่สามารถทำได้ก็ไม่ควรอนุญาตและไม่ควรที่จะเกรงใจเจ้าของโครงการ แต่ควรมองเห็นความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนเป็นหลัก