ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – แกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหากุ้งที่เหลืออีก 4 ข้อภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ หลังจากที่เคยมีการชุมนุมประท้วงใหญ่เมื่อเดือนมิถุยายนที่ผ่านมา แต่รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการครบตามที่รับปากไว้ โดยหากยังไม่มีความคืบหน้าใดกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดจะมีรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อกดดันต่อไป
ปัญหาของผู้เลี้ยงกุ้งยังไม่จบ แกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย จ.สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส ร่วมประชุมก่อนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหากุ้งที่เหลืออีก 4 ข้อประกอบด้วย ลดราคาอาหารกุ้งลงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ขยายเขตไฟฟ้าแรงสูงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้เกษตรกรออกไปอีก 1 ปี โดยรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบภาระดอกเบี้ย รวมทั้งจัดหาน้ำมันราคาถูกกว่าท้องตลาดลิตรละ 3 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้ง เพราะแม้ว่าขณะนี้จะสามารถขจัดหาน้ำมันราคาถูกมาช่วยเหลือแต่ยังไม่มีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมาว่าจะดำเนินการอย่างไร
ข้อเรียกร้องทั้ง 4 เรื่องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ หากยังไม่มีความคืบหน้าใดกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดจะมีรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อกดดันต่อไป
นายกาจบัณฑิต รามมาก แกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า หลังจากที่ผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดได้รวมตัวประท้วงปิดถนนเชิงสะพานติณสูลานนท์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำรวมถึงปัญหาการเลี้ยงกุ้งทั้งระบบ และรัฐบาลได้ช่วยเหลือในเรื่องของราคาโดยยอมเปิดโครงการรับจำนำกุ้ง 1 หมื่นตัน พร้อมกับสัญญาว่าจะเร่งดำเนินการตามข้อเรียกร้องที่เหลือภายใน 30 วัน
แต่ปรากฏว่าขณะนี้เลยเวลาตามที่กำหนดไว้แต่ปัญหาทั้ง 4 ข้อยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด และดูเหมือนผู้ที่รับผิดชอบจะยังคงนิ่งเฉย ผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดจึงจำเป็นต้องออกติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหา พร้อมกับขีดเส้นตายภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้จะต้องได้รับคำตอบ แต่หากผู้ที่เกี่ยวข้องยังนิ่งเฉยผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดก็นัดหารือเพื่อกำหนดมาตรการเคลื่อนไหวต่อไป
นายกาจบัณฑิต ระบุว่า ปัญหาสำคัญขณะนี้ คือ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สมาคมผู้บริหารอาหารสัตว์ไทย ได้ประกาศปรับราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอีก 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสวนทางกับข้อเรียกร้องของผู้เลี้ยงกุ้ง รวมทั้งมติของอนุกรรมการพิจารณาราคาอาหารของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมให้ชะลอการขึ้นราคาอาหารสัตว์เอาไว้ก่อน
ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีคำสั่งยับยั้งและชะลอการขึ้นราคาอาหารสัตว์ไว้ก่อนเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งรวมถึงเกษตรกรในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
ปัญหาของผู้เลี้ยงกุ้งยังไม่จบ แกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย จ.สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส ร่วมประชุมก่อนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหากุ้งที่เหลืออีก 4 ข้อประกอบด้วย ลดราคาอาหารกุ้งลงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ขยายเขตไฟฟ้าแรงสูงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้เกษตรกรออกไปอีก 1 ปี โดยรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบภาระดอกเบี้ย รวมทั้งจัดหาน้ำมันราคาถูกกว่าท้องตลาดลิตรละ 3 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้ง เพราะแม้ว่าขณะนี้จะสามารถขจัดหาน้ำมันราคาถูกมาช่วยเหลือแต่ยังไม่มีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมาว่าจะดำเนินการอย่างไร
ข้อเรียกร้องทั้ง 4 เรื่องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ หากยังไม่มีความคืบหน้าใดกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดจะมีรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อกดดันต่อไป
นายกาจบัณฑิต รามมาก แกนนำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า หลังจากที่ผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดได้รวมตัวประท้วงปิดถนนเชิงสะพานติณสูลานนท์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำรวมถึงปัญหาการเลี้ยงกุ้งทั้งระบบ และรัฐบาลได้ช่วยเหลือในเรื่องของราคาโดยยอมเปิดโครงการรับจำนำกุ้ง 1 หมื่นตัน พร้อมกับสัญญาว่าจะเร่งดำเนินการตามข้อเรียกร้องที่เหลือภายใน 30 วัน
แต่ปรากฏว่าขณะนี้เลยเวลาตามที่กำหนดไว้แต่ปัญหาทั้ง 4 ข้อยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด และดูเหมือนผู้ที่รับผิดชอบจะยังคงนิ่งเฉย ผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดจึงจำเป็นต้องออกติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหา พร้อมกับขีดเส้นตายภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้จะต้องได้รับคำตอบ แต่หากผู้ที่เกี่ยวข้องยังนิ่งเฉยผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 8 จังหวัดก็นัดหารือเพื่อกำหนดมาตรการเคลื่อนไหวต่อไป
นายกาจบัณฑิต ระบุว่า ปัญหาสำคัญขณะนี้ คือ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สมาคมผู้บริหารอาหารสัตว์ไทย ได้ประกาศปรับราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอีก 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสวนทางกับข้อเรียกร้องของผู้เลี้ยงกุ้ง รวมทั้งมติของอนุกรรมการพิจารณาราคาอาหารของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมให้ชะลอการขึ้นราคาอาหารสัตว์เอาไว้ก่อน
ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีคำสั่งยับยั้งและชะลอการขึ้นราคาอาหารสัตว์ไว้ก่อนเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งรวมถึงเกษตรกรในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ