ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ดีเดย์หลัง 27 เม.ย.รวมพลเรียกร้องรัฐบาลแก้ปัญหาราคากุ้งอีกระลอก
นายครรชิต เหมะรักษ์ แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.สงขลา และอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งทั้งระบบเมื่อต้นเดือนมีนาคมทีผ่านมา โดยให้เวลา 1 เดือน หลังจากที่ประสบกับภาวะขาดทุนต่อเนื่อง หลังจากวันที่ 27 เมษายน นี้ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้จะรวมตัวเคลื่อนไหวอีกครั้งหลังจากที่ได้ยืดระยะเวลาให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ
ส่วนรูปแบบของการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้นแกนนำผู้เลี้ยงกุ้งใน 7 จังหวัดภาคใต้ เช่น ปัตตานี พัทลุง ตรัง สตูล ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช และสงขลาจะหารือกันอีกครั้งหนึ่ง แต่โดยรวมยังเป็นไปตามข้อเรียกร้องเดิมคือให้รัฐบาลนำมาตรการแทรกแซงราคากุ้ง ประกันราคา และเปิดโครงการรับจำนำกุ้ง หรือมาตรการอื่น ๆ เพื่อพยุงราคากุ้งไม่ให้ตกต่ำไปกว่านี้ โดยให้ราคาต้นทุนการผลิต บวกกำไร และความเสี่ยง 10-20 บาท/กก. อย่างน้อย ราคากุ้งขาวขนาด 40 ตัว/กก.ราคาไม่ต่ำกว่า 160 บาท/กก., 50 ตัว/ กก. 140 บาท, 60 ตัว/กก.130 บาท,70ตัว/กก. 120 บาท,80 ตัว/กก.110 บาท,90ตัว/กก. ราคา 100 บาท
นอกจากนี้ให้รัฐบาลขอความร่วมมือบริษัทผลิตอาหารกุ้งให้ลดราคาลง 5% และควบคุมอาหารให้มีคุณภาพ หาน้ำมันดีเซลราคาถูกซึ่งเป็นต้นทุนที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งให้กับผู้เลี้ยงกุ้ง และขยายไฟฟ้าแรงสูงให้ครอบคลุมพื้นที่การเลี้ยงกุ้งของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย รัฐบาลจะต้องห้ามผู้ส่งออกนำกุ้งจากต่างประเทศเข้ามาแปรรูป หรือส่งออกในนามของกุ้งไทย ยกเว้นนำเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศ รวมทั้งให้รัฐบาลขยายระยะเวลาชำระหนี้ ของโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 51
อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายจรัส เพชรภักดี ผู้ช่วยพาณิชย์จังหวัด รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัดสงขลา ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ ซึ่งมีนายวิทยา พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบให้ทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) เพื่อให้มีการประกันราคาโดยการรับจำนำ การลดราคาอาหารกุ้ง และห้ามผู้ส่งออกนำกุ้งจากต่างประเทศเข้ามาแปรรูปเพื่อส่งออกในนามกุ้งไทย ทั้งนี้ต้องรอผลการประชุมพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรตามประเด็นข้อเรียกร้องอีกครั้ง
สำหรับประเด็น การจัดหาน้ำมันดีเซลราคาถูก มาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย การขยายเขตไฟฟ้าแรงสูงครอบคลุมพื้นที่การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรรายย่อย จะให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุด เพื่อหาข้อมูลและพิจารณาแก้ไขตามประเด็นปัญหาดังกล่าว โดยมีประมงจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ และจะมีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป
นายครรชิต เหมะรักษ์ แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.สงขลา และอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งทั้งระบบเมื่อต้นเดือนมีนาคมทีผ่านมา โดยให้เวลา 1 เดือน หลังจากที่ประสบกับภาวะขาดทุนต่อเนื่อง หลังจากวันที่ 27 เมษายน นี้ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้จะรวมตัวเคลื่อนไหวอีกครั้งหลังจากที่ได้ยืดระยะเวลาให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ
ส่วนรูปแบบของการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้นแกนนำผู้เลี้ยงกุ้งใน 7 จังหวัดภาคใต้ เช่น ปัตตานี พัทลุง ตรัง สตูล ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช และสงขลาจะหารือกันอีกครั้งหนึ่ง แต่โดยรวมยังเป็นไปตามข้อเรียกร้องเดิมคือให้รัฐบาลนำมาตรการแทรกแซงราคากุ้ง ประกันราคา และเปิดโครงการรับจำนำกุ้ง หรือมาตรการอื่น ๆ เพื่อพยุงราคากุ้งไม่ให้ตกต่ำไปกว่านี้ โดยให้ราคาต้นทุนการผลิต บวกกำไร และความเสี่ยง 10-20 บาท/กก. อย่างน้อย ราคากุ้งขาวขนาด 40 ตัว/กก.ราคาไม่ต่ำกว่า 160 บาท/กก., 50 ตัว/ กก. 140 บาท, 60 ตัว/กก.130 บาท,70ตัว/กก. 120 บาท,80 ตัว/กก.110 บาท,90ตัว/กก. ราคา 100 บาท
นอกจากนี้ให้รัฐบาลขอความร่วมมือบริษัทผลิตอาหารกุ้งให้ลดราคาลง 5% และควบคุมอาหารให้มีคุณภาพ หาน้ำมันดีเซลราคาถูกซึ่งเป็นต้นทุนที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งให้กับผู้เลี้ยงกุ้ง และขยายไฟฟ้าแรงสูงให้ครอบคลุมพื้นที่การเลี้ยงกุ้งของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย รัฐบาลจะต้องห้ามผู้ส่งออกนำกุ้งจากต่างประเทศเข้ามาแปรรูป หรือส่งออกในนามของกุ้งไทย ยกเว้นนำเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศ รวมทั้งให้รัฐบาลขยายระยะเวลาชำระหนี้ ของโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 51
อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายจรัส เพชรภักดี ผู้ช่วยพาณิชย์จังหวัด รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัดสงขลา ได้มีการประชุมปรึกษาหารือ ซึ่งมีนายวิทยา พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบให้ทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) เพื่อให้มีการประกันราคาโดยการรับจำนำ การลดราคาอาหารกุ้ง และห้ามผู้ส่งออกนำกุ้งจากต่างประเทศเข้ามาแปรรูปเพื่อส่งออกในนามกุ้งไทย ทั้งนี้ต้องรอผลการประชุมพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรตามประเด็นข้อเรียกร้องอีกครั้ง
สำหรับประเด็น การจัดหาน้ำมันดีเซลราคาถูก มาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย การขยายเขตไฟฟ้าแรงสูงครอบคลุมพื้นที่การเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรรายย่อย จะให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุด เพื่อหาข้อมูลและพิจารณาแก้ไขตามประเด็นปัญหาดังกล่าว โดยมีประมงจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ และจะมีการประชุมเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป