ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ม.ศิลปากร นำเสนอการศึกษาและออกแบบอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง เน้นจำลองบรรยากาศ ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) พร้อมด้วยนายสมชาย ดวงแข ที่ปรึกษานายก อบจ.ภูเก็ต ได้ร่วมประชุมกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าการศึกษาและออกแบบอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง ณ ห้องประชุมสภาฯ
สำหรับโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาส่งเสริมและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยจะมีการจำลองพื้นที่และมิติทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการนำเสนอมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดภูเก็ต โดยเน้นแนวทางการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยว และมิติทางประวัติศาสตร์ การนำเสนอบรรยากาศ วิถีชีวิต ผ่านงานสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์มากกว่าการสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการชมเพียงอย่างเดียว
สำหรับกิจกรรมและประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ของโครงการทั้งหมด 96 ไร่ จะเป็นลักษณะของการสอดแทรกความรู้ควบคู่ไปกับการพักผ่อนและความบันเทิง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาอย่างเกิดประโยชน์และคุ้มค่า ซึ่งจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 9 ส่วน คือ 1.นิทรรศการและศูนย์ข้อมูลศึกถลาง 2.หมู่บ้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นถลาง 3.สวนเพื่อการเรียนรู้ 4.ส่วนเทศกาลและบันเทิง 5.ส่วนบริหารและจัดการโครงการ 6.ส่วนบริการนักท่องเที่ยว 7. ส่วนบริการทั่วไปของโครงการ 8.ส่วนจอดรถ และ 9.สวนสาธารณะเพื่อชุมชน
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) พร้อมด้วยนายสมชาย ดวงแข ที่ปรึกษานายก อบจ.ภูเก็ต ได้ร่วมประชุมกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าการศึกษาและออกแบบอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง ณ ห้องประชุมสภาฯ
สำหรับโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาส่งเสริมและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยจะมีการจำลองพื้นที่และมิติทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการนำเสนอมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดภูเก็ต โดยเน้นแนวทางการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยว และมิติทางประวัติศาสตร์ การนำเสนอบรรยากาศ วิถีชีวิต ผ่านงานสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์มากกว่าการสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการชมเพียงอย่างเดียว
สำหรับกิจกรรมและประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ของโครงการทั้งหมด 96 ไร่ จะเป็นลักษณะของการสอดแทรกความรู้ควบคู่ไปกับการพักผ่อนและความบันเทิง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาอย่างเกิดประโยชน์และคุ้มค่า ซึ่งจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 9 ส่วน คือ 1.นิทรรศการและศูนย์ข้อมูลศึกถลาง 2.หมู่บ้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นถลาง 3.สวนเพื่อการเรียนรู้ 4.ส่วนเทศกาลและบันเทิง 5.ส่วนบริหารและจัดการโครงการ 6.ส่วนบริการนักท่องเที่ยว 7. ส่วนบริการทั่วไปของโครงการ 8.ส่วนจอดรถ และ 9.สวนสาธารณะเพื่อชุมชน