ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รองนายกฯ “สุวิทย์ คุณกิตติ” มั่นใจซ้อมแผนหนีภัยสึนามิพรุ่งนี้ พร้อมทุกพื้นที่ ขอความร่วมมือประชาชนและผู้ประกอบการออกมาร่วมซ้อมแผน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความพร้อมในการซ้อมแผนอพยพหนีภัยสึนามิ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งจะมีขึ้นในวันวันพรุ่งนี้ (7 ก.ค.) ว่า การซ้อมแผนอพยพหนีภัยสึนามิที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ทุกจังหวัดมีความพร้อมเต็มที่ และคงจะไม่มีอุปสรรคอะไร เพียงแต่จะต้องมีการประเมินผลอีกครั้งหลังจากผ่านการฝึกซ้อมไปแล้ว ว่าเป็นอย่างไร ควรที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขจุดไหน เพื่อให้เกิดความพร้อมมากขึ้นต่อไป
แต่ที่สำคัญ อยากจะเชิญชวนประชาชน และผู้ประกอบการออกมาฝึกซ้อม เพราะว่าจะทำให้รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นควรจะต้องทำอย่างไร เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวมทั้งส่วนผู้ประกอบการก็ต้องขอความร่วมมือในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เข้ามาพักทราบถึงการฝึกซ้อมใหญ่ที่จะเกิด เพราะจะมีการเปิดสัญญาณเตือนภัย เพื่อแขกที่เข้าพักจะได้ไม่ตื่นตกใจ หรืออาจจะเชิญเขาเข้าร่วมด้วย”
นายสุวิทย์ กล่าวถึงการติดตั้งหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ว่า ขณะนี้ดำเนินการไปค่อนข้างมากแล้ว และได้มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการเพิ่มเติมอีก 144 แห่ง ซึ่งก็จะช่วยให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้วสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการไม่ใช่เฉพาะระบบเตือนภัยอย่างเดียว แต่จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ด้วย เพราะถือว่ามีความจำเป็น เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้นมาอยากให้พี่น้องประชาชนตื่นตัว แม้จะเป็นการเตือนแล้วมันไม่เกิดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต่อไปจะไม่เกิด
ฉะนั้น หากมีการเตือนก็อยากจะให้ระมัดระวัง อย่างน้อยเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ เนื่องจากภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่สามารถรู้ตัวล่วงหน้า หากเราเตรียมความพร้อมไว้ก็สามารถลดผลกระทบ ก็จะสามารถรักษาชีวิตและทรัพย์สินได้มากกว่าที่เราจะไม่ให้ความสนใจเลย เพราะฉะนั้นจะต้องสนใจติดตามเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
ส่วนความคืบหน้าของการติดตั้งทุ่นเตือนภัยเพิ่มอีก 1 ตัว นายสุวิทย์ กล่าวว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการ จะทำให้ประเทศไทยมีทุ่นเตือนภัย 2 ตัว โดยทางอินเดียจะมีอยู่ 7 ตัว ซึ่งก็มีการทำงานประสานกัน แต่ว่าการประสานงานกันในระบบเตือนภัยทั้งหมดที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย คงจะต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมถึงการสร้างเครือข่ายเตือนภัยด้วย
นอกจากนี้ ก็จะต้องมีมาตรการที่ชัดเจน และมีกระบวนการการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่บ่อยคนไทยก็จะเกิดความเคยชิน และไม่ให้ความสนใจอีก ซึ่งไม่อยากให้เกิดลักษณะเช่นนั้น เพราะปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาความไม่สมดุลของสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างมากมาย
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความพร้อมในการซ้อมแผนอพยพหนีภัยสึนามิ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งจะมีขึ้นในวันวันพรุ่งนี้ (7 ก.ค.) ว่า การซ้อมแผนอพยพหนีภัยสึนามิที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ทุกจังหวัดมีความพร้อมเต็มที่ และคงจะไม่มีอุปสรรคอะไร เพียงแต่จะต้องมีการประเมินผลอีกครั้งหลังจากผ่านการฝึกซ้อมไปแล้ว ว่าเป็นอย่างไร ควรที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขจุดไหน เพื่อให้เกิดความพร้อมมากขึ้นต่อไป
แต่ที่สำคัญ อยากจะเชิญชวนประชาชน และผู้ประกอบการออกมาฝึกซ้อม เพราะว่าจะทำให้รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นควรจะต้องทำอย่างไร เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวมทั้งส่วนผู้ประกอบการก็ต้องขอความร่วมมือในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เข้ามาพักทราบถึงการฝึกซ้อมใหญ่ที่จะเกิด เพราะจะมีการเปิดสัญญาณเตือนภัย เพื่อแขกที่เข้าพักจะได้ไม่ตื่นตกใจ หรืออาจจะเชิญเขาเข้าร่วมด้วย”
นายสุวิทย์ กล่าวถึงการติดตั้งหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ว่า ขณะนี้ดำเนินการไปค่อนข้างมากแล้ว และได้มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการเพิ่มเติมอีก 144 แห่ง ซึ่งก็จะช่วยให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้วสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการไม่ใช่เฉพาะระบบเตือนภัยอย่างเดียว แต่จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ด้วย เพราะถือว่ามีความจำเป็น เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้นมาอยากให้พี่น้องประชาชนตื่นตัว แม้จะเป็นการเตือนแล้วมันไม่เกิดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต่อไปจะไม่เกิด
ฉะนั้น หากมีการเตือนก็อยากจะให้ระมัดระวัง อย่างน้อยเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ เนื่องจากภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่สามารถรู้ตัวล่วงหน้า หากเราเตรียมความพร้อมไว้ก็สามารถลดผลกระทบ ก็จะสามารถรักษาชีวิตและทรัพย์สินได้มากกว่าที่เราจะไม่ให้ความสนใจเลย เพราะฉะนั้นจะต้องสนใจติดตามเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
ส่วนความคืบหน้าของการติดตั้งทุ่นเตือนภัยเพิ่มอีก 1 ตัว นายสุวิทย์ กล่าวว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการ จะทำให้ประเทศไทยมีทุ่นเตือนภัย 2 ตัว โดยทางอินเดียจะมีอยู่ 7 ตัว ซึ่งก็มีการทำงานประสานกัน แต่ว่าการประสานงานกันในระบบเตือนภัยทั้งหมดที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย คงจะต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมถึงการสร้างเครือข่ายเตือนภัยด้วย
นอกจากนี้ ก็จะต้องมีมาตรการที่ชัดเจน และมีกระบวนการการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่บ่อยคนไทยก็จะเกิดความเคยชิน และไม่ให้ความสนใจอีก ซึ่งไม่อยากให้เกิดลักษณะเช่นนั้น เพราะปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาความไม่สมดุลของสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างมากมาย