ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - มหาวิทยาลัยทักษิณจึงได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมจัดอบรมและฝึกปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็ง รวมตัวจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำ และสร้างเครือข่าย “รักษ์สายน้ำ”พร้อมมอบชุดปฏิบัติงาน เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ (ค่าออกซิเจนละลายน้ำ) ให้คณะทำงานในโครงการฯ ของเครือข่าย “รักษ์สายน้ำ” ทั้ง 46 ชุมชน ในวันพุธที่ 2 ก.ค.นี้
ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะประธานโครงการสร้างการมีส่วนร่วมในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำและสร้างเครือข่าย “รักษ์สายน้ำ” ในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต (พื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาและลุ่มน้ำย่อยริมทะเลสาบสงขลา) เปิดเผยว่า จากการที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีผลงานวิจัยและงานบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามาอย่างต่อเนื่อง บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจปัญหาของทะเลสาบและสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความสนใจในการสร้างการมีส่วนร่วมและมีโอกาสทำงานร่วมกับชุมชน
ดังนั้น มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง พร้อมมอบชุดปฏิบัติงาน เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ (ค่าออกซิเจนละลายน้ำ) ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2551 ระหว่างเวลา 11.00–16.30 น. ณ ห้องประชุมไอที สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
โดยโครงการนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมหลักในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำในท้องถิ่นของตนเองและเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทั้งลุ่มน้ำ โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานสำรวจลำน้ำซึ่งเป็นตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ครู นักเรียน จากพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และลุ่มน้ำย่อยริมทะเลสาบสงขลา รวม 46 พื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ คณะทำงานฯได้จัดประชุมชี้แจงและอบรมคณะทำงานสำรวจลำน้ำ ในโครงการ สร้างการมีส่วนร่วมในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำ และสร้างเครือข่าย “รักษ์สายน้ำ” ในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต (พื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และลุ่มน้ำย่อยริมทะเลสาบสงขลา)ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละลุ่มน้ำไปแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 เมษายน ณ ห้องกังสดาล โรงแรมเอเชี่ยนหาดใหญ่ และครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 พฤษภาคม2551 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมพาราไดส์ รีสอร์ท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะประธานโครงการสร้างการมีส่วนร่วมในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำและสร้างเครือข่าย “รักษ์สายน้ำ” ในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต (พื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาและลุ่มน้ำย่อยริมทะเลสาบสงขลา) เปิดเผยว่า จากการที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีผลงานวิจัยและงานบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามาอย่างต่อเนื่อง บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจปัญหาของทะเลสาบและสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความสนใจในการสร้างการมีส่วนร่วมและมีโอกาสทำงานร่วมกับชุมชน
ดังนั้น มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็ง พร้อมมอบชุดปฏิบัติงาน เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ (ค่าออกซิเจนละลายน้ำ) ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2551 ระหว่างเวลา 11.00–16.30 น. ณ ห้องประชุมไอที สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
โดยโครงการนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมหลักในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำในท้องถิ่นของตนเองและเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทั้งลุ่มน้ำ โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานสำรวจลำน้ำซึ่งเป็นตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ครู นักเรียน จากพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และลุ่มน้ำย่อยริมทะเลสาบสงขลา รวม 46 พื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ คณะทำงานฯได้จัดประชุมชี้แจงและอบรมคณะทำงานสำรวจลำน้ำ ในโครงการ สร้างการมีส่วนร่วมในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของลำน้ำ และสร้างเครือข่าย “รักษ์สายน้ำ” ในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤต (พื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และลุ่มน้ำย่อยริมทะเลสาบสงขลา)ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละลุ่มน้ำไปแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 เมษายน ณ ห้องกังสดาล โรงแรมเอเชี่ยนหาดใหญ่ และครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 พฤษภาคม2551 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมพาราไดส์ รีสอร์ท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา