ศูนย์ข่าวภูเก็ต -คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหากิจการประมง วุฒิสภา ลงพื้นที่ภูเก็ตรับฟังปัญหาชาวประมงเสนอรัฐบาลให้การช่วยเสนอ พบปัญหาเร่งด่วนที่ชาวประมงต้องการให้ช่วย คือ ราคาน้ำมันสูงจนทำให้ชาวประมงแบกรับภาระไม่ไหว
วานนี้( 4 มิ.ย.)คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหากิจการประมง วุฒิสภา ซึ่งนำโดยพลเรือเอกณรงค์ ยุทธวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้เดินทางมารับฟังปัญหาการประกอบธุรกิจประมงในจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายไพเราะ ศุทธาภรณ์ ประมงจังหวัดภูเก็ต นายสมยศ บุญวงศ์ยกุล นายกสมาคมประมงจังหวัดภูเก็ต นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนประมงพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ต นายวันชัย พนาธเนศ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันนำเสนอปัญหาและแนวทางในการขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ
พลเรือเอกณรงค์ ยุทธวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า วุฒิสภาได้รับทราบถึงปัญหาและความเดือดร้อนของชาวประมง ที่กำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรง จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา ปัญหาการประกอบธุรกิจประมงร่วมกับต่างชาติ ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลง เป็นต้น วุฒิสภาจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาติดตามและแก้ไขปัญหากิจการประมงขึ้น เพื่อติดตามข้อมูลปัญหาและการให้การช่วยเหลือเสนอมายังวุฒิสภา เพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาให้กับชาวประมงต่อไป
ทั้งนี้ ได้ศึกษาใน 4 ประเด็นหลัก คือ ปัญหาการทำประมงชายฝั่ง ปัญหาการทำประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย ปัญหาการทำประมงพาณิชย์ในนอกน่านน้ำ และปัญหาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง ซึ่งคณะกรรมาธิการฯได้ออกไปรับทราบปัญหาของชาวประมง ในจังหวัดที่เป็นแหล่งประมงใหญ่ เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สงขลา ปัตตานี ระนอง ภูเก็ต กระบี่ และสมุทรปราการ
พลเรือเอกณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการที่ได้เดินทางไปรับฟังปัญหาของชาวประมงในหลายพื้นที่ ปัญหาที่ชาวประมงกำลังประสบและเป็นปัญหาที่เดือดร้อนมากในขณะนี้ คือปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ จึงทำให้ประมงของไทยอยู่ในภาวะวิกฤต
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต นายสมยศ บุญวงศ์ยกุล นายกสมาคมประมงจังหวัดภูเก็ต ได้สะท้อนปัญหาว่า ปัญหาที่ชาวประมงภูเก็ตกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ คือ ปัญหาราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนในการประกอบการสูงมาก ซึ่งที่ผ่านมาทางสมาคมฯภูเก็ตได้เสนอทางออกไปยังอธิบดีกรมประมง ในการสนับสนุนให้ชาวประมงใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน ปัญหาการกำหนดเขตการทำประมงพาณิชย์ เนื่องจากทะเลฝั่งอันดามันแตกต่างจากทะเลฝั่งอ่าวไทย ห่างจากฝั่งมากๆก็จะเป็นไหล่ทวีปน้ำจะลึกมากไม่เหมาะในการทำประมง และปัญหาตาอวนที่มีขนาดไม่เกิน 1 นิ้ว ซึ่งจุดนี้รัฐบาลน่าที่จะเข้าไปควบคุมโรงงานผลิตอวนมากกว่า
ด้านนายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนประมงพื้นบ้านภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้ คือ ทรัพยากรชายฝั่งถูกทำลายจากการขยายตัวทางด้านการท่องเที่ยว ทำให้ส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน
ขณะที่นายวันชัย พนาธเนศ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สหกรณ์ต้องการให้วุฒิสภาช่วยเหลือในการให้ทางกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ขยายเวลาในการผ่อนชำระหนี้ที่ได้มาจากหลังสึนามิจำนวน 4 ล้านบาท โดยการขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี และสนับสนุนกองทุนในเรื่องของการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรและการทำตลา
วานนี้( 4 มิ.ย.)คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหากิจการประมง วุฒิสภา ซึ่งนำโดยพลเรือเอกณรงค์ ยุทธวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้เดินทางมารับฟังปัญหาการประกอบธุรกิจประมงในจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายไพเราะ ศุทธาภรณ์ ประมงจังหวัดภูเก็ต นายสมยศ บุญวงศ์ยกุล นายกสมาคมประมงจังหวัดภูเก็ต นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนประมงพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ต นายวันชัย พนาธเนศ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันนำเสนอปัญหาและแนวทางในการขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ
พลเรือเอกณรงค์ ยุทธวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า วุฒิสภาได้รับทราบถึงปัญหาและความเดือดร้อนของชาวประมง ที่กำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรง จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา ปัญหาการประกอบธุรกิจประมงร่วมกับต่างชาติ ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลง เป็นต้น วุฒิสภาจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาติดตามและแก้ไขปัญหากิจการประมงขึ้น เพื่อติดตามข้อมูลปัญหาและการให้การช่วยเหลือเสนอมายังวุฒิสภา เพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาให้กับชาวประมงต่อไป
ทั้งนี้ ได้ศึกษาใน 4 ประเด็นหลัก คือ ปัญหาการทำประมงชายฝั่ง ปัญหาการทำประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย ปัญหาการทำประมงพาณิชย์ในนอกน่านน้ำ และปัญหาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง ซึ่งคณะกรรมาธิการฯได้ออกไปรับทราบปัญหาของชาวประมง ในจังหวัดที่เป็นแหล่งประมงใหญ่ เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สงขลา ปัตตานี ระนอง ภูเก็ต กระบี่ และสมุทรปราการ
พลเรือเอกณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการที่ได้เดินทางไปรับฟังปัญหาของชาวประมงในหลายพื้นที่ ปัญหาที่ชาวประมงกำลังประสบและเป็นปัญหาที่เดือดร้อนมากในขณะนี้ คือปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ จึงทำให้ประมงของไทยอยู่ในภาวะวิกฤต
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต นายสมยศ บุญวงศ์ยกุล นายกสมาคมประมงจังหวัดภูเก็ต ได้สะท้อนปัญหาว่า ปัญหาที่ชาวประมงภูเก็ตกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ คือ ปัญหาราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนในการประกอบการสูงมาก ซึ่งที่ผ่านมาทางสมาคมฯภูเก็ตได้เสนอทางออกไปยังอธิบดีกรมประมง ในการสนับสนุนให้ชาวประมงใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน ปัญหาการกำหนดเขตการทำประมงพาณิชย์ เนื่องจากทะเลฝั่งอันดามันแตกต่างจากทะเลฝั่งอ่าวไทย ห่างจากฝั่งมากๆก็จะเป็นไหล่ทวีปน้ำจะลึกมากไม่เหมาะในการทำประมง และปัญหาตาอวนที่มีขนาดไม่เกิน 1 นิ้ว ซึ่งจุดนี้รัฐบาลน่าที่จะเข้าไปควบคุมโรงงานผลิตอวนมากกว่า
ด้านนายสุทา ประทีป ณ ถลาง ตัวแทนประมงพื้นบ้านภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้ คือ ทรัพยากรชายฝั่งถูกทำลายจากการขยายตัวทางด้านการท่องเที่ยว ทำให้ส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน
ขณะที่นายวันชัย พนาธเนศ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สหกรณ์ต้องการให้วุฒิสภาช่วยเหลือในการให้ทางกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ขยายเวลาในการผ่อนชำระหนี้ที่ได้มาจากหลังสึนามิจำนวน 4 ล้านบาท โดยการขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี และสนับสนุนกองทุนในเรื่องของการเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรและการทำตลา