ศูนย์ข่าวภูเก็ต -รองผู้ว่าฯภูเก็ตระบุทุกภาคส่วนของสังคมต้องระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่
วันที่ 22 พ.ค.51 ที่ห้องประชุมจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมืองภูเก็ต นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเวทีรับฟังปัญหาสังคม : สู่แนวทางการแก้ไข ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นปัญหาสังคมของจังหวัดภูเก็ต และแนวทางการแก้ไขปัญหา จากภาคส่วนต่างๆ
นายสมิทธิ์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีปัญหาสังคมหลายเรื่อง เช่นปัญหาเด็ก และเยาวชน ปัญหาความสำคัญในครอบครัวเปราะบาง ปัญหาความอ่อนแอของชุมชนและสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาค่านิยม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการบุกรุกสถานที่สาธารณะ เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ จำเป็นที่ต้องใช้พลังทางสังคมและชุมชน ร่วมกันแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาสังคมของจังหวัด นั้นทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันร่วมสะท้อนปัญหาในพื้นที่ หรือปัญหาที่ได้พบเห็น หรือปัญหาข้อติดขัดเสนอต่อเวทีสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน และต้องร่วมสร้างจิตสำนึกโดยต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาและมองว่าปัญหาสังคมเหล่านั้น เป็นปัญหาชุมชนหรือสังคม ไม่ใช่ผลักว่าการแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องแก้ไข
โดยความเป็นจริง การแก้ไขปัญหาสังคมให้ได้ผลนั้นต้องเกิดจากการร่วมมือกันของฐานชุมชนด้วยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ท้องถิ่น และประชาสังคมเพื่อการจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง ทั้งนี้เพราะแต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ท้องถิ่นต้องกำหนดการพัฒนาด้วยการมองและสะท้อนปัญหาของตัวเอง เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ขณะที่นางสาวพรรณี สิทธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการเวทีรับฟังปัญหาสังคม : สู่แนวทางการแก้ไขเกิดขึ้น เนื่องจากกรอบภารกิจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มุ่งพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม สร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาสังคม เสริมสร้างและการส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ของประชาสังคม เพื่อให้เกิดกลไกทางสังคมและการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการพิทักษ์สิทธิและหน้าที่ของประชาชน สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม การสร้างระบบเตือนภัยทางสังคม
โดยการส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลปัญหาที่ได้มาสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
วันที่ 22 พ.ค.51 ที่ห้องประชุมจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมืองภูเก็ต นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเวทีรับฟังปัญหาสังคม : สู่แนวทางการแก้ไข ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นปัญหาสังคมของจังหวัดภูเก็ต และแนวทางการแก้ไขปัญหา จากภาคส่วนต่างๆ
นายสมิทธิ์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีปัญหาสังคมหลายเรื่อง เช่นปัญหาเด็ก และเยาวชน ปัญหาความสำคัญในครอบครัวเปราะบาง ปัญหาความอ่อนแอของชุมชนและสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาค่านิยม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการบุกรุกสถานที่สาธารณะ เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ จำเป็นที่ต้องใช้พลังทางสังคมและชุมชน ร่วมกันแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาสังคมของจังหวัด นั้นทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันร่วมสะท้อนปัญหาในพื้นที่ หรือปัญหาที่ได้พบเห็น หรือปัญหาข้อติดขัดเสนอต่อเวทีสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน และต้องร่วมสร้างจิตสำนึกโดยต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาและมองว่าปัญหาสังคมเหล่านั้น เป็นปัญหาชุมชนหรือสังคม ไม่ใช่ผลักว่าการแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องแก้ไข
โดยความเป็นจริง การแก้ไขปัญหาสังคมให้ได้ผลนั้นต้องเกิดจากการร่วมมือกันของฐานชุมชนด้วยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ท้องถิ่น และประชาสังคมเพื่อการจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง ทั้งนี้เพราะแต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ท้องถิ่นต้องกำหนดการพัฒนาด้วยการมองและสะท้อนปัญหาของตัวเอง เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ขณะที่นางสาวพรรณี สิทธิการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการเวทีรับฟังปัญหาสังคม : สู่แนวทางการแก้ไขเกิดขึ้น เนื่องจากกรอบภารกิจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มุ่งพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม สร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาสังคม เสริมสร้างและการส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ของประชาสังคม เพื่อให้เกิดกลไกทางสังคมและการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการพิทักษ์สิทธิและหน้าที่ของประชาชน สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม การสร้างระบบเตือนภัยทางสังคม
โดยการส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลปัญหาที่ได้มาสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป