ยะลา - ม.ราชภัฏยะลาอบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักแก่อาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาราคาปุ๋ยแพง และเป็นหนทางหนึ่งในการอนุรักษ์ดิน
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดอบรมหลักสูตรการส่งเสริมความรู้และการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ให้กับอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งประกอบด้วยผู้นำเกษตรกร ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่น อาจารย์ฝ่ายวิชาการการเกษตรของสถานศึกษาและจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 40 คน การอบรมใช้เวลา 2 วัน ทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีการผลิตปุ๋ยหมักในห้องเรียน และการศึกษาการทำปุ๋ยหมักนอกสถานที่ ซึ่งผู้อบรมทั้งหมด ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการทำปุ๋ยหมัก ที่สวนการปลูกลำไย ที่บ้านควนโนรี อ.แม่ลาน จ.ปัตตานีและส่วนส้มโชกุน ของคุณภากร นิจจรัญกุล ที่บ้านเขาตูม ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมยศ อุทยารัตน์ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับสภาวะวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางภาคเกษตร จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ทดแทนภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาการเกษตรมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพัฒนา คือความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ดังนั้น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์และมีต้นทุนต่ำ สามารถแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาปุ๋ยที่มีราคาสูงขึ้นในขณะนี้ ดังนั้น ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดขึ้น
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดอบรมหลักสูตรการส่งเสริมความรู้และการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ให้กับอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งประกอบด้วยผู้นำเกษตรกร ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่น อาจารย์ฝ่ายวิชาการการเกษตรของสถานศึกษาและจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 40 คน การอบรมใช้เวลา 2 วัน ทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีการผลิตปุ๋ยหมักในห้องเรียน และการศึกษาการทำปุ๋ยหมักนอกสถานที่ ซึ่งผู้อบรมทั้งหมด ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการทำปุ๋ยหมัก ที่สวนการปลูกลำไย ที่บ้านควนโนรี อ.แม่ลาน จ.ปัตตานีและส่วนส้มโชกุน ของคุณภากร นิจจรัญกุล ที่บ้านเขาตูม ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมยศ อุทยารัตน์ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับสภาวะวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางภาคเกษตร จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ทดแทนภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาการเกษตรมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพัฒนา คือความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ดังนั้น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์และมีต้นทุนต่ำ สามารถแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาปุ๋ยที่มีราคาสูงขึ้นในขณะนี้ ดังนั้น ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดขึ้น