ศูนย์ข่าวภูเก็ต-ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีระบุควรกำหนด เรื่องการอนุรักษ์ปะการังเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องใน “ปีปะการังสากล” เชื่อปะการังส่งผลกระทบหลาย ด้านทั้งเรื่องอาหาร-การท่องเที่ยว
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “งานวิจัยและการจัดการแนวปะการังในวาระแห่งปีปะการังสากล 2551” และบรรยายพิเศษ เรื่องนโยบายการจัดการทะเลและแนวปะการังของประเทศไทย ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเล จัดขึ้น เนื่องในปีปะการังสากล ตามมติการประชุม International Coral Reef Initiative (ICRI) กำหนดให้ปี พ.ศ.2551 (2008) เป็นปีแห่งปะการังสากล ที่ห้องประชุมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดภูเก็ตสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน
ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้มวลมนุษย์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวปะการัง และภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์แนวปะการังอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยมีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่มีความรู้และสนใจในการอนุรักษ์ปะการัง เข้าร่วมประมาณ 100 คน ว่า
ปัจจุบันนี้ควรกำหนดให้ปะการังเป็นวาระแห่งชาติ ในมิติทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากปะการังเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายที่สมบูรณ์ แต่หากปะการังขาดความสมบูรณ์ก็จะไปกระทบกับส่วนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน แต่ปัจจุบันเราไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ โดยเน้นเพียงเรื่องของข้าวยากหมากแพง แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องของกับข้าว ทั้งที่ปะการังเป็นพื้นฐานในเรื่องของอาหาร
นอกจากนี้ปะการังยังมีบทบาทในเรื่องของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ครึ่งหนึ่งจะไปดำน้ำดูปะการัง หากไม่มีสิ่งเหล่านี้เขาก็จะไม่เดินทางเข้ามา แต่ในทางกลับกันเมื่อปะรังมีมากเขาก็จะใช้ระยะเวลาในการอยู่พักผ่อนมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวทางทะเล จำเป็นต้องมาดูเรื่องของปะการัง โดยทำการฟื้นฟูให้มีอยู่และมีมากขึ้น รวมทั้งจะต้องมีในพื้นที่ที่ควรจะมี ตลอดจนการจัดลำดับความสำคัญ และรู้จักการเชื่อมต่อทั้งในเรื่องของการเป็นแหล่งอาหารและแหล่งท่องเที่ยว
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีความตื่นตัวมาก และสนใจที่จะเข้าร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพราะหากปล่อยให้มีการฟื้นฟูตามธรรมชาติก็ค่อนข้างจะช้า และไม่ทันกับความต้องการ หรือจะใช้ระบบของปะการังเทียมเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้เช่นกัน
ขณะนี้ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องของการนำเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงมาใช้ เพื่อร่นระยะเวลาการฟื้นฟูตามธรรมชาติ และสามารถที่จะเลือกพื้นที่ในการฟื้นฟูได้ตามความต้องการ ซึ่งก็ได้มีการเริ่มทดลองบ้างแล้ว รวมทั้งในส่วนของนักดำน้ำปัจจุบันก็ให้ความสนใจกับเรื่องของการฟื้นฟูมากขึ้น
ดังนั้น จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีในการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้ามาร่วมดูแล อนุรักษ์ฟื้นฟูเรื่องการขยายพันธุ์ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีการมอบอำนาจหรือหน้าที่ให้แล้วก็ต้องมีการให้ประโยชน์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมหรือทางหนึ่งทางใด
ดร.ปลอดประสพ ยังกล่าวด้วยว่า ทิศทางการพัฒนาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานับว่าถูกต้องแล้ว แม้ว่าในการการฟื้นฟูและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อาจจะเป็นเพียงแค่เริ่มต้น เพราะปัจจุบันทรัพยากรที่เรามีอยู่เสื่อมโทรมลงทุกวัน การรอเพียงการฟื้นฟูของธรรมชาตินั้นจะไม่ทันการอย่างแน่นอน รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งปะการังถาวร ควรจะกำหนดการปิดเปิดระยะเวลาในการเข้าชม และสร้างแหล่งปะการังเทียมให้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า การดำเนินการที่ผ่านมาถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว แม้อาจจะช้าไปบ้าง แต่ยังเห็นว่าทางราชการยังให้ความสำคัญกับเรื่องของปะการังน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับเรื่องของป่าชายเลน ป่าบก
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “งานวิจัยและการจัดการแนวปะการังในวาระแห่งปีปะการังสากล 2551” และบรรยายพิเศษ เรื่องนโยบายการจัดการทะเลและแนวปะการังของประเทศไทย ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเล จัดขึ้น เนื่องในปีปะการังสากล ตามมติการประชุม International Coral Reef Initiative (ICRI) กำหนดให้ปี พ.ศ.2551 (2008) เป็นปีแห่งปะการังสากล ที่ห้องประชุมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดภูเก็ตสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน
ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้มวลมนุษย์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวปะการัง และภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์แนวปะการังอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยมีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่มีความรู้และสนใจในการอนุรักษ์ปะการัง เข้าร่วมประมาณ 100 คน ว่า
ปัจจุบันนี้ควรกำหนดให้ปะการังเป็นวาระแห่งชาติ ในมิติทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากปะการังเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายที่สมบูรณ์ แต่หากปะการังขาดความสมบูรณ์ก็จะไปกระทบกับส่วนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน แต่ปัจจุบันเราไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ โดยเน้นเพียงเรื่องของข้าวยากหมากแพง แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องของกับข้าว ทั้งที่ปะการังเป็นพื้นฐานในเรื่องของอาหาร
นอกจากนี้ปะการังยังมีบทบาทในเรื่องของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ครึ่งหนึ่งจะไปดำน้ำดูปะการัง หากไม่มีสิ่งเหล่านี้เขาก็จะไม่เดินทางเข้ามา แต่ในทางกลับกันเมื่อปะรังมีมากเขาก็จะใช้ระยะเวลาในการอยู่พักผ่อนมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวทางทะเล จำเป็นต้องมาดูเรื่องของปะการัง โดยทำการฟื้นฟูให้มีอยู่และมีมากขึ้น รวมทั้งจะต้องมีในพื้นที่ที่ควรจะมี ตลอดจนการจัดลำดับความสำคัญ และรู้จักการเชื่อมต่อทั้งในเรื่องของการเป็นแหล่งอาหารและแหล่งท่องเที่ยว
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีความตื่นตัวมาก และสนใจที่จะเข้าร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพราะหากปล่อยให้มีการฟื้นฟูตามธรรมชาติก็ค่อนข้างจะช้า และไม่ทันกับความต้องการ หรือจะใช้ระบบของปะการังเทียมเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้เช่นกัน
ขณะนี้ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องของการนำเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงมาใช้ เพื่อร่นระยะเวลาการฟื้นฟูตามธรรมชาติ และสามารถที่จะเลือกพื้นที่ในการฟื้นฟูได้ตามความต้องการ ซึ่งก็ได้มีการเริ่มทดลองบ้างแล้ว รวมทั้งในส่วนของนักดำน้ำปัจจุบันก็ให้ความสนใจกับเรื่องของการฟื้นฟูมากขึ้น
ดังนั้น จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีในการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้ามาร่วมดูแล อนุรักษ์ฟื้นฟูเรื่องการขยายพันธุ์ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีการมอบอำนาจหรือหน้าที่ให้แล้วก็ต้องมีการให้ประโยชน์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมหรือทางหนึ่งทางใด
ดร.ปลอดประสพ ยังกล่าวด้วยว่า ทิศทางการพัฒนาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานับว่าถูกต้องแล้ว แม้ว่าในการการฟื้นฟูและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อาจจะเป็นเพียงแค่เริ่มต้น เพราะปัจจุบันทรัพยากรที่เรามีอยู่เสื่อมโทรมลงทุกวัน การรอเพียงการฟื้นฟูของธรรมชาตินั้นจะไม่ทันการอย่างแน่นอน รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งปะการังถาวร ควรจะกำหนดการปิดเปิดระยะเวลาในการเข้าชม และสร้างแหล่งปะการังเทียมให้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า การดำเนินการที่ผ่านมาถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว แม้อาจจะช้าไปบ้าง แต่ยังเห็นว่าทางราชการยังให้ความสำคัญกับเรื่องของปะการังน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับเรื่องของป่าชายเลน ป่าบก