xs
xsm
sm
md
lg

ก.วิทย์ดึงนักวิฉัยพลังงานถ่ายทอด เทคโนโลยีอุตฯปาล์มไร้ของเสีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กระบี่ - ก.วิทย์ ดึงนักวิจัยด้านพลังงานและเอกชน ร่วมสัมมนาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแบบไร้ของเสีย

วันนี้ (24 เม.ย.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกระบี่ และคณะกรรมการปาล์มน้ำมันกระบี่ จัดสัมมนาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแบบไร้ของเสีย(Zero waste Management Technology for Oil Palm industry) ณ โรงแรมกระบี่มารีไทม์ ปาร์คแอนสปารีสอร์ท จังหวัดกระบี่ เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี ความเข้าใจวิทยาการความก้าวหน้าด้านพลังงานทดแทนและการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมี นายพูลสุข พงษ์พัฒน์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการสัมมนา

นายพูลสุข พงษ์พัฒน์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยในการสัมมนา ว่า จากที่เกิดวิกฤตด้านพลังงานในปัจจุบัน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมและอุตสาหกรรมต่างๆ มีราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ และได้มีการจัดหาพลังงานทดแทนจากแหล่งอื่น

โดยพบว่า พลังงานทดแทนที่ได้จากภาคเกษตรน่าจะเป็นพลังงานที่เหมาะสม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สามารถปลูกพืชได้หลายชนิด ที่สามารถพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนได้ เรียกว่าน้ำมันบนดิน ซึ่งไม่มีวันหมด

นายพูลสุข กล่าวอีกว่า การพัฒนาพลังงานทดแทนจากภาคการเกษตรต้องอาศัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในทุกกระบวนการผลิต ซึ่งต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้น

ดังนั้น แนวทางที่สามารถทำได้ คือ สนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมขึ้นใช้เองในประเทศ หรือพัฒนาจากภูมิปัญญาของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงได้จัดสัมนาขึ้น เพื่อจะให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยาภาพของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแบบไร้ของเสีย

จึงได้เชิญทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และภาคเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มมีผลปลอยได้จากปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น และการที่เลือกพื้นที่จังหวัดกระบี่ เนื่องจากเห็นว่ามีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ทั้งพื้นที่ปลูกปาล์ม โรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน จึงเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางในการผลิตและพัฒนาปาล์มน้ำมันอย่างครบวงจรต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น