สุราษฎร์ธานี - มรส.สุราษฎร์ธานี ผุดโครงการ “ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิต พอเพียง” นำนักศึกษาสัมผัสประสบการณ์ตรงจากหมู่บ้านรางวัลพระราชทานเศรษฐกิจ พอเพียง ขานรับนโยบายรัฐ สร้างสังคมเข้มแข็งและสมานฉันท์บนฐานความพอเพียง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 3-27เมษายน 2551 นี้ มรส.ได้จัดโครงการ “ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง” ขึ้น โดยนำนักศึกษาจากองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรม และนักศึกษาที่สนใจประมาณ 40 คน ออกพื้นที่ เรียนรู้และสัมผัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากประสบการณ์ตรงกับชุมชนบ้านคลองยวน หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็งที่ได้รับพระราชทานโล่รางวัลให้เป็น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” ประจำปี 2548
สำหรับกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้จากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในชุมชน ในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของชุมชนบ้านคลองยวน เพื่อให้นักศึกษา ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ร่วมกันศึกษาถึงแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการสร้างสังคมที่มีความสุข และการนำไประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
“โครงการดังกล่าวถือเป็นการขานรับนโยบายทางสังคมของรัฐที่มุ่งสร้างสังคมเข้มแข็ง ให้คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของคุณธรรม และเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างสถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนา และสถาบันการศึกษา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวในวงเงิน 210,000บาท ตามแผนงบประมาณเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ด้าน นายบัณฑิต บินนุ นายกองค์การนักศึกษา มรส.กล่าวว่า การเข้าค่ายดังกล่าวใช้เวลา 26 วัน ซึ่งตรงกับช่วงปิดภาคเรียน ถือเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทั้งยังเป็นการพัฒนาความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และที่สำคัญที่สุดคือการได้เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างสังคมคุณธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบแห่งภูมิภาคเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน
“หลังการเข้าค่ายเสร็จสิ้นลง นักศึกษา ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านจะร่วมกันวิเคราะห์ข้อคิดเห็น รายงานผลการศึกษาชุมชนแก่มหาวิทยาลัย ชุมชน และหน่วยงานราชการ เพื่อจัดเสนอข้อพัฒนาชุมชนเพิ่มเติม อันจะนำไปสู่สังคมเข้มแข็งตามนโยบายรัฐอย่างถาวรยั่งยืนต่อไป” นายบัณฑิต กล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ สุขกรี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 3-27เมษายน 2551 นี้ มรส.ได้จัดโครงการ “ค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง” ขึ้น โดยนำนักศึกษาจากองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรม และนักศึกษาที่สนใจประมาณ 40 คน ออกพื้นที่ เรียนรู้และสัมผัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากประสบการณ์ตรงกับชุมชนบ้านคลองยวน หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็งที่ได้รับพระราชทานโล่รางวัลให้เป็น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” ประจำปี 2548
สำหรับกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้จากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และคนในชุมชน ในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของชุมชนบ้านคลองยวน เพื่อให้นักศึกษา ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ร่วมกันศึกษาถึงแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการสร้างสังคมที่มีความสุข และการนำไประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
“โครงการดังกล่าวถือเป็นการขานรับนโยบายทางสังคมของรัฐที่มุ่งสร้างสังคมเข้มแข็ง ให้คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของคุณธรรม และเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างสถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนา และสถาบันการศึกษา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวในวงเงิน 210,000บาท ตามแผนงบประมาณเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ด้าน นายบัณฑิต บินนุ นายกองค์การนักศึกษา มรส.กล่าวว่า การเข้าค่ายดังกล่าวใช้เวลา 26 วัน ซึ่งตรงกับช่วงปิดภาคเรียน ถือเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทั้งยังเป็นการพัฒนาความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และที่สำคัญที่สุดคือการได้เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างสังคมคุณธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบแห่งภูมิภาคเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน
“หลังการเข้าค่ายเสร็จสิ้นลง นักศึกษา ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านจะร่วมกันวิเคราะห์ข้อคิดเห็น รายงานผลการศึกษาชุมชนแก่มหาวิทยาลัย ชุมชน และหน่วยงานราชการ เพื่อจัดเสนอข้อพัฒนาชุมชนเพิ่มเติม อันจะนำไปสู่สังคมเข้มแข็งตามนโยบายรัฐอย่างถาวรยั่งยืนต่อไป” นายบัณฑิต กล่าว