ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ไฟใต้ยังระอุ ผู้ประกอบการ 5 จังหวัดชายแดนใต้ยังเดือดร้อนถ้วนหน้า ธปท.ใช้น้ำเย็นปลอบขยายเวลาซอฟต์โลนให้แก่ จ.สงขลาและสตูล ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่ออีก 2 ปี จนถึงปี 2553 โดยมีวงเงินเหลืออีก 1.8 พันล้านบาท รอการจัดสรรให้ผู้ประกอบการรายเก่าและใหม่รายละไม่เกิน 5.0 ล้านบาท
นอกจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้จะปิดช่องทางการเติบโตเศรษฐกิจในพื้นที่แล้ว ความไม่สงบที่พยายามแทรกซึมสู่ จ.สงขลา ยังเป็นสาเหตุของการขยายผลกระทบทางอ้อมในวงกว้างยิ่งขึ้น ทำให้มีการประกาศเขตพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการบรรเทาความเดือดร้อนและยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่อไป เพราะยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนสามารถแก้โจทย์ปัญหาของไฟใต้ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาความเดือดร้อนทั้งปวงได้
อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ได้ผลักดันมาตรการความช่วยเหลือด้านการเงิน ด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้
ในส่วนของความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล ซึ่งได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น นายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ขยายเวลาและปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูลเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว
โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่สิ้นสุดความช่วยเหลือในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และปรับปรุงให้ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนขยายการให้ความช่วยเหลือครอบคุลมกิจการทุกประเภทที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย
นายนิรุธ กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือสามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือได้ไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท ส่วนผู้ประกอบการรายเดิมให้ได้รับความช่วยเหลือไม่เกินวงเงินเดิมที่เคยได้รับ แต่หากรายใดวงเงินเดิมที่ได้รับต่ำกว่า 5,000,000 บาท สามารถขอยื่นวงเงินเพิ่มได้ โดยวงเงินรวมกันแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท
“การปรับปรุงความช่วยเหลือทางการเงินให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และครอบคลุม จะทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่น และสามารถวางแผนการประกอบธุรกิจระยะยาวได้ โดยการจัดสรรวงเงินมาจาก ธปท.ร้อยละ 60 และกำหนดให้สถาบันการเงินสมทบอีกร้อยละ 40” นายนิรุธ กล่าวต่อและว่า
ทั้งนี้ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ธปท.ได้อนุมัติวงเงินไปแล้วรวม 3,184.6 ล้านบาท และยังมีวงเงินคงเหลือที่จะให้ความช่วยเหลือได้อีก 1,815.3 ล้านบาท
นอกจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้จะปิดช่องทางการเติบโตเศรษฐกิจในพื้นที่แล้ว ความไม่สงบที่พยายามแทรกซึมสู่ จ.สงขลา ยังเป็นสาเหตุของการขยายผลกระทบทางอ้อมในวงกว้างยิ่งขึ้น ทำให้มีการประกาศเขตพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการบรรเทาความเดือดร้อนและยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่อไป เพราะยังไม่มีรัฐบาลชุดไหนสามารถแก้โจทย์ปัญหาของไฟใต้ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาความเดือดร้อนทั้งปวงได้
อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ได้ผลักดันมาตรการความช่วยเหลือด้านการเงิน ด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยอัตราพิเศษช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาเฉพาะกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้
ในส่วนของความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล ซึ่งได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น นายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ขยายเวลาและปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูลเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว
โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่สิ้นสุดความช่วยเหลือในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และปรับปรุงให้ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนขยายการให้ความช่วยเหลือครอบคุลมกิจการทุกประเภทที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย
นายนิรุธ กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือสามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือได้ไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท ส่วนผู้ประกอบการรายเดิมให้ได้รับความช่วยเหลือไม่เกินวงเงินเดิมที่เคยได้รับ แต่หากรายใดวงเงินเดิมที่ได้รับต่ำกว่า 5,000,000 บาท สามารถขอยื่นวงเงินเพิ่มได้ โดยวงเงินรวมกันแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท
“การปรับปรุงความช่วยเหลือทางการเงินให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และครอบคลุม จะทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่น และสามารถวางแผนการประกอบธุรกิจระยะยาวได้ โดยการจัดสรรวงเงินมาจาก ธปท.ร้อยละ 60 และกำหนดให้สถาบันการเงินสมทบอีกร้อยละ 40” นายนิรุธ กล่าวต่อและว่า
ทั้งนี้ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ธปท.ได้อนุมัติวงเงินไปแล้วรวม 3,184.6 ล้านบาท และยังมีวงเงินคงเหลือที่จะให้ความช่วยเหลือได้อีก 1,815.3 ล้านบาท