ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – บีโอไอเผยใต้ตอนล่างปีหมูไฟมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 10,681 ล้านบาทจาก 18 โครงการ โดยมีโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลย์ที่ จ.สงขลา เป็นเมกะโปรเจกต์ ดึงเงินลงทุนมากที่สุดในภาคใต้ ส่วนยะลาม้ามืดทุ่ม 18 ล้านผลิตน้ำนมถั่วเหลือง ชี้แนวโน้มปี 51 ปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน ปัญหาค่าเงินบาท และการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ที่เป็นตัวชูโรงของภาคใต้ทำให้การลงทุนทรงตัว
นายจำรัส ศรีประสม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เผยภาวการณ์ลงทุนในภาคใต้ตอนล่างปี 2550 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนรวม 18 โครงการ เม็ดเงินลงทุน 10,681 ล้านบาท ประกอบด้วยสงขลา 11 โครงการ ตรัง 6 โครงการ ยะลา 1 โครงการ ส่วน นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง และสตูลยังไม่มีโครงการได้รับการอนุมัติ
จ.สงขลา มีเงินลงทุน 9,992.70 ล้านบาท ซึ่งมีโครงการที่มีขนาดการลงทุนสูงสุดในรอบปี 2550 คือโครงการของบริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซีย จำกัด กิจการขนส่งทางท่อปีละประมาณ 438,000 ลูกบาศก์ฟุต เงินลงทุน 7,650 ล้านบาท ถือหุ้นโดยคนไทยร้อยละ 50 และมาเลเซียร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นการผลิตอาหารพร้อมรับประทานหรือกึ่งรับประทาน การผลิตสัตว์น้ำอบแห้ง การผลิตยางผสม การให้บริการแช่แข็ง/บริการห้องเย็น การผลิตถุงมือสำหรับการตรวจโรคทำจากน้ำยางสังเคราะห์ การผลิตสายรัดชนิดเหล็กแผ่นแบน การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (2 โครงการ) การขนส่งทางท่อ การผลิตแผ่นยิปซัม และการผลิตถุงมือยางธรรมชาติ
ส่วน จ.ตรัง มีเงินลงทุน 670.30 ล้านบาท ได้แก่ การผลิตไบโอดีเซล การผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (3 โครงการ) และการผลิตยางแท่ง และม้ามืดแห่งปีได้แก่ จ.ยะลาที่แม้จะประสบเหตุความไม่สงบแต่ก็ยังมีความมั่นใจควักเงินลงทุน 18 ล้านบาทตั้งโครงการผลิตน้ำนมถั่วเหลือง น้ำชา กาแฟ และน้ำส้ม
ทั้งนี้ สถิติการส่งเสริมการลงทุนย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2550 พบว่า แต่ละปีภาคใต้ตอนล่างมีโครงการที่ได้รับอนุมัติฯ ลดลงตามลำดับ ดังนี้ 24 โครงการ 20 โครงการ และ 18 โครงการ แต่พบว่าเม็ดเงินลงทุนกลับเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนี้ 4,468.90 ล้านบาท 6,751.80 ล้านบาท และ 10,681.00 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์ลงทุนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล ตั้งแต่ พ.ศ.2547-2550 มีโครงการลงทุนรวม 84 โครงการ เงินลงทุน 27,501.86 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในสงขลาเป็นหลักรวม 75 โครงการ รองลงมาตามลำดับได้แก่ สตูล 3 โครงการ ปัตตานี 3 โครงการ ยะลา 2 โครงการ และนราธิวาส 1 โครงการที่ได้รับการอนุมัติในปี 2547 เท่านั้น
นายจำรัส ศรีประสม กล่าวต่อด้วยว่า แนวโน้มการลงทุนภาคใต้ปี 2551 คาดว่ายังทรงตัวอยู่ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล และกำหนดนโยบายของรัฐจึงน่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่นักลงทุนจะมีความมั่นใจมากขึ้น และสถานการณ์ทางการเมืองจะสามารถสร้างความมั่นใจให้นักธุรกิจกล้าตัดสินใจในการลงทุน
ทั้งนี้ ยังมีตัวแปรที่สำคัญในการตัดสินใจการลงทุนของนักลงทุน เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาค่าเงินบาท ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เด่นในภาคใต้ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
นายจำรัส ศรีประสม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เผยภาวการณ์ลงทุนในภาคใต้ตอนล่างปี 2550 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนรวม 18 โครงการ เม็ดเงินลงทุน 10,681 ล้านบาท ประกอบด้วยสงขลา 11 โครงการ ตรัง 6 โครงการ ยะลา 1 โครงการ ส่วน นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง และสตูลยังไม่มีโครงการได้รับการอนุมัติ
จ.สงขลา มีเงินลงทุน 9,992.70 ล้านบาท ซึ่งมีโครงการที่มีขนาดการลงทุนสูงสุดในรอบปี 2550 คือโครงการของบริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซีย จำกัด กิจการขนส่งทางท่อปีละประมาณ 438,000 ลูกบาศก์ฟุต เงินลงทุน 7,650 ล้านบาท ถือหุ้นโดยคนไทยร้อยละ 50 และมาเลเซียร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นการผลิตอาหารพร้อมรับประทานหรือกึ่งรับประทาน การผลิตสัตว์น้ำอบแห้ง การผลิตยางผสม การให้บริการแช่แข็ง/บริการห้องเย็น การผลิตถุงมือสำหรับการตรวจโรคทำจากน้ำยางสังเคราะห์ การผลิตสายรัดชนิดเหล็กแผ่นแบน การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (2 โครงการ) การขนส่งทางท่อ การผลิตแผ่นยิปซัม และการผลิตถุงมือยางธรรมชาติ
ส่วน จ.ตรัง มีเงินลงทุน 670.30 ล้านบาท ได้แก่ การผลิตไบโอดีเซล การผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (3 โครงการ) และการผลิตยางแท่ง และม้ามืดแห่งปีได้แก่ จ.ยะลาที่แม้จะประสบเหตุความไม่สงบแต่ก็ยังมีความมั่นใจควักเงินลงทุน 18 ล้านบาทตั้งโครงการผลิตน้ำนมถั่วเหลือง น้ำชา กาแฟ และน้ำส้ม
ทั้งนี้ สถิติการส่งเสริมการลงทุนย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548-2550 พบว่า แต่ละปีภาคใต้ตอนล่างมีโครงการที่ได้รับอนุมัติฯ ลดลงตามลำดับ ดังนี้ 24 โครงการ 20 โครงการ และ 18 โครงการ แต่พบว่าเม็ดเงินลงทุนกลับเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนี้ 4,468.90 ล้านบาท 6,751.80 ล้านบาท และ 10,681.00 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์ลงทุนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล ตั้งแต่ พ.ศ.2547-2550 มีโครงการลงทุนรวม 84 โครงการ เงินลงทุน 27,501.86 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในสงขลาเป็นหลักรวม 75 โครงการ รองลงมาตามลำดับได้แก่ สตูล 3 โครงการ ปัตตานี 3 โครงการ ยะลา 2 โครงการ และนราธิวาส 1 โครงการที่ได้รับการอนุมัติในปี 2547 เท่านั้น
นายจำรัส ศรีประสม กล่าวต่อด้วยว่า แนวโน้มการลงทุนภาคใต้ปี 2551 คาดว่ายังทรงตัวอยู่ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล และกำหนดนโยบายของรัฐจึงน่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่นักลงทุนจะมีความมั่นใจมากขึ้น และสถานการณ์ทางการเมืองจะสามารถสร้างความมั่นใจให้นักธุรกิจกล้าตัดสินใจในการลงทุน
ทั้งนี้ ยังมีตัวแปรที่สำคัญในการตัดสินใจการลงทุนของนักลงทุน เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาค่าเงินบาท ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เด่นในภาคใต้ ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น