กระบี่ -ผวจ.กระบี่ ย้ำกลางที่ประชุม “เครือข่ายป้องกันภัยแรงงานต่างด้าว” ไม่รังเกียจแรงงาน พม่า ลาว และ กัมพูชา แต่ต้องดูแลแรงงานไทยด้วย เผยที่ผ่านมาได้ยินจนชิน แรงงานกระบี่ไม่อยากทำงาน หรือไม่ได้รับโอกาส
นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ได้กล่าวในโอกาสเป็นประธานการอบรม เครือข่ายป้องกันภัยแรงงานต่างด้าว และบรรยายพิเศษหัวข้อ “แรงงานต่างด้าวกับการจัดระเบียบสังคม” ที่ห้องประชุมพุทธานุภาพ ศูนย์ราชการ สำนักงานกระทรวงแรงงานจังหวัดกระบี่ โดยมีเครือข่ายป้องกัยภัยแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง อบต.เทศบาล และ อบจ.จังหวัดกระบี่ รวม 124 คน เข้าฟังการบรรยาย ว่า
ปัจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และ กัมพูชา เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดกระบี่ ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย โดยจากที่ทางจัดหางานจังหวัด ได้จัดระบบแรรงงานต่างด้าว ปี 2551 ของจังหวัดกระบี่ เมื่อวันวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 มีแรงงานต่างด้าว ได้รับอนุญาตทำงานทั้งหมด จำนวน 2,238 คน แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มีใบอนุญาตทำงานแต่สิ้นสภาพ จำนวน 329 คน กลุ่มที่ 2 ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ และต่อใบอนุญาตใหม่ จำนวน 148 คน และกลุ่มที่ 3 ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 นี้ จำนวน 1,761 คน
จากตัวเลขดังกล่าวอาจจะมีความเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงบ้าง เพราะเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องได้มีการออกตรวจตราจับกุมได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว ทั้งเกาะพีพี และเกาะลันตา ที่กำลังมีการก่อสร้างสถานประกอบการกันเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะนิยมใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งเมื่อเป็นกฎหมายผู้ที่มีหน้าที่ดูแลโดยตรง จะต้องมีจำนวนตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจน เพื่อสามารถเข้าไปจัดระเบียบและควบคุมได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา ทั้งการรักษาพยาบาล ปัญหายาเสพติด และแม้กระทั้งกับคนในพื้นที่เอง
ผวจ.กระบี่ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในส่วนของจังหวัดกระบี่ ความต้องการใช้แรงงานสูงมาก ทั้งภาคการเกษตรและท่องเที่ยว แต่ผู้ประกอบการบ่นอยู่เสมอว่า แรงงานกระบี่ไม่ต้องการทำงาน อาจจะไม่ถูกต้องมากนัก ในทางกลับกันคงจะไม่ได้รับโอกาสมากกว่า เพราะแรงงานกระบี่ ออกไปทำงานอยู่ทางถิ่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งวันนี้ผู้ประกอบการเองต้องคิดแล้ว หรือว่าจะต้องจ้างแรงงานต่างด้าวไปชั่วฟ้าดินสลาย การที่ตนสังข้อสังเกตดังกล่าวไม่ได้รังเกียจแรงงานต่างด้าว แต่ควรจะให้โอกาสแรงงานไทยได้ทำงานด้วย แทนที่จะจ้างแต่แรงงานต่างด้าว
สำหรับมาตรการดำเนินการตามกฎหมายจะต้องมีการดำเนินการกับนายจ้าง หรือแรงงานผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่มีการต่อรองใดๆ
นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ได้กล่าวในโอกาสเป็นประธานการอบรม เครือข่ายป้องกันภัยแรงงานต่างด้าว และบรรยายพิเศษหัวข้อ “แรงงานต่างด้าวกับการจัดระเบียบสังคม” ที่ห้องประชุมพุทธานุภาพ ศูนย์ราชการ สำนักงานกระทรวงแรงงานจังหวัดกระบี่ โดยมีเครือข่ายป้องกัยภัยแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง อบต.เทศบาล และ อบจ.จังหวัดกระบี่ รวม 124 คน เข้าฟังการบรรยาย ว่า
ปัจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และ กัมพูชา เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดกระบี่ ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย โดยจากที่ทางจัดหางานจังหวัด ได้จัดระบบแรรงงานต่างด้าว ปี 2551 ของจังหวัดกระบี่ เมื่อวันวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 มีแรงงานต่างด้าว ได้รับอนุญาตทำงานทั้งหมด จำนวน 2,238 คน แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มีใบอนุญาตทำงานแต่สิ้นสภาพ จำนวน 329 คน กลุ่มที่ 2 ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ และต่อใบอนุญาตใหม่ จำนวน 148 คน และกลุ่มที่ 3 ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 นี้ จำนวน 1,761 คน
จากตัวเลขดังกล่าวอาจจะมีความเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงบ้าง เพราะเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องได้มีการออกตรวจตราจับกุมได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยว ทั้งเกาะพีพี และเกาะลันตา ที่กำลังมีการก่อสร้างสถานประกอบการกันเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะนิยมใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งเมื่อเป็นกฎหมายผู้ที่มีหน้าที่ดูแลโดยตรง จะต้องมีจำนวนตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจน เพื่อสามารถเข้าไปจัดระเบียบและควบคุมได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา ทั้งการรักษาพยาบาล ปัญหายาเสพติด และแม้กระทั้งกับคนในพื้นที่เอง
ผวจ.กระบี่ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในส่วนของจังหวัดกระบี่ ความต้องการใช้แรงงานสูงมาก ทั้งภาคการเกษตรและท่องเที่ยว แต่ผู้ประกอบการบ่นอยู่เสมอว่า แรงงานกระบี่ไม่ต้องการทำงาน อาจจะไม่ถูกต้องมากนัก ในทางกลับกันคงจะไม่ได้รับโอกาสมากกว่า เพราะแรงงานกระบี่ ออกไปทำงานอยู่ทางถิ่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งวันนี้ผู้ประกอบการเองต้องคิดแล้ว หรือว่าจะต้องจ้างแรงงานต่างด้าวไปชั่วฟ้าดินสลาย การที่ตนสังข้อสังเกตดังกล่าวไม่ได้รังเกียจแรงงานต่างด้าว แต่ควรจะให้โอกาสแรงงานไทยได้ทำงานด้วย แทนที่จะจ้างแต่แรงงานต่างด้าว
สำหรับมาตรการดำเนินการตามกฎหมายจะต้องมีการดำเนินการกับนายจ้าง หรือแรงงานผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่มีการต่อรองใดๆ