ตรัง - ด่านศุลกากรกันตัง จังหวัดตรัง เผยการส่งออกสินค้าผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง มีรายได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื่อหากการสร้างท่าเรือแห่งใหม่แล้วเสร็จ จะเพิ่มศักยภาพการส่งออกได้ดียิ่งขึ้น
นายสหชัย งามไพโรจน์พิบูลย์ นายด่านศุลกากรกันตัง จังหวัดตรัง เปิดเผยถึงการส่งออกสินค้าผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง ว่า มีรายได้จากการส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 มีจำนวน 4,546 ล้านบาท ปี 2548 มีจำนวน 7,700 ล้านบาท ปี 2549 มีจำนวน 10,500 ล้านบาท และปี 2550 มีจำนวน 11,500 ล้านบาท
ในส่วนของภาคการนำเข้าที่ท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง มีตัวเลขที่แตกต่างกับการส่งออกสูงมาก ถึงแม้ว่าแนวโน้มการนำเข้าจะสูงขึ้นด้วยก็ตาม โดยการนำเข้า ปี 2548 มีจำนวน 579 ล้านบาท ปี 2548 มีจำนวน 1,158 ล้านบาท ปี 2549 มีจำนวน 468 ล้านบาท และปี 2550 มีจำนวน 731 ล้านบาท
สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สามารถทำรายได้ให้อย่างมหาศาลขณะนี้ คือ น้ำยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูป ซีเมนต์อัดเม็ด และยิปซัม ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ ถ่านหิน และชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมามีตัวเลขโดยรวมประมาณ 2-3 พันล้านบาท เฉพาะในส่วนของน้ำยางพารา และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา ที่ส่งออกผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง ไปยังตลาดใหญ่ที่ประเทศจีนนั้น มียอดสูงถึงปีละกว่า 7 แสนตัน นอกจากนั้น ก็ยังมีการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น อีกปีละ 4-5 แสนตัน จนสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยได้ปีละนับหมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพในทุกด้านของจังหวัดตรัง ดังนั้น แผนแม่บทการพัฒนากระทรวงคมนาคม จึงได้กำหนดให้จังหวัดตรัง เป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าในชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตก อันเป็นที่มาของการผลักดันการก่อสร้างท่าเทียบเรือต่างประเทศแห่งใหม่ ในพื้นที่ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง อย่างเต็มที่ ด้วยงบประมาณที่สูงถึงจำนวน 700 ล้านบาท และทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันผลักดันในเรื่องนี้ ขณะที่กรมทางหลวงก็ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 97 ล้านบาท เพื่อขยายเส้นทางคมนาคมเข้าสู่พื้นที่ตำบลนาเกลือด้วยการขยายไหล่ทางให้กว้างขึ้น เพื่อให้รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์สามารถขับสวนทางกันได้อย่างปลอดภัย
ส่วนในอนาคตหากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการปรับปรุงเส้นทาง ก็จะสามารถดึงผู้ประกอบการจากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ตอนบน ให้มาขนถ่ายสินค้าในจังหวัดตรังได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ทางด่านศุลกากรกันตัง ก็เตรียมหารือไปที่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว หากได้รับความร่วมมือ ก็อาจจะหาจุดเทกอง เพื่อรองรับการขนถ่ายต่อไป แต่แผนการทั้งหมดนี้จะต้องสอดรับกัน เพื่อผลักดันให้จังหวัดตรังเป็นศูนย์กลางในการส่งออกสินค้าฝั่งตะวันตก และสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดตรังด้วย
สำหรับสถิติการขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง ขณะนี้เรือ 1 ลำ สามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ได้จำนวน 150-180 ตู้ ซึ่งทุกครั้งที่เรือสินค้าออกไป ก็จะสามารถบรรทุกได้เต็มพิกัด โดยในระยะเวลา 1 เดือน จะสามารถบรรทุกได้ประมาณ 8 เที่ยว แต่ด้วยศักยภาพของจังหวัดตรังในขณะนี้ ทำให้เรือสามารถออกไปส่งสินค้าได้ถึงสัปดาห์ละ 3 ลำ หรือประมาณเดือนละ 12 ลำ จนทำให้มีรายได้ให้เข้าสู่ประเทศไทยปีละหลายหมื่นล้านบาท
นายสหชัย งามไพโรจน์พิบูลย์ นายด่านศุลกากรกันตัง จังหวัดตรัง เปิดเผยถึงการส่งออกสินค้าผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง ว่า มีรายได้จากการส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 มีจำนวน 4,546 ล้านบาท ปี 2548 มีจำนวน 7,700 ล้านบาท ปี 2549 มีจำนวน 10,500 ล้านบาท และปี 2550 มีจำนวน 11,500 ล้านบาท
ในส่วนของภาคการนำเข้าที่ท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง มีตัวเลขที่แตกต่างกับการส่งออกสูงมาก ถึงแม้ว่าแนวโน้มการนำเข้าจะสูงขึ้นด้วยก็ตาม โดยการนำเข้า ปี 2548 มีจำนวน 579 ล้านบาท ปี 2548 มีจำนวน 1,158 ล้านบาท ปี 2549 มีจำนวน 468 ล้านบาท และปี 2550 มีจำนวน 731 ล้านบาท
สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สามารถทำรายได้ให้อย่างมหาศาลขณะนี้ คือ น้ำยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูป ซีเมนต์อัดเม็ด และยิปซัม ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ ถ่านหิน และชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมามีตัวเลขโดยรวมประมาณ 2-3 พันล้านบาท เฉพาะในส่วนของน้ำยางพารา และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา ที่ส่งออกผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง ไปยังตลาดใหญ่ที่ประเทศจีนนั้น มียอดสูงถึงปีละกว่า 7 แสนตัน นอกจากนั้น ก็ยังมีการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น อีกปีละ 4-5 แสนตัน จนสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยได้ปีละนับหมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพในทุกด้านของจังหวัดตรัง ดังนั้น แผนแม่บทการพัฒนากระทรวงคมนาคม จึงได้กำหนดให้จังหวัดตรัง เป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าในชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตก อันเป็นที่มาของการผลักดันการก่อสร้างท่าเทียบเรือต่างประเทศแห่งใหม่ ในพื้นที่ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง อย่างเต็มที่ ด้วยงบประมาณที่สูงถึงจำนวน 700 ล้านบาท และทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันผลักดันในเรื่องนี้ ขณะที่กรมทางหลวงก็ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 97 ล้านบาท เพื่อขยายเส้นทางคมนาคมเข้าสู่พื้นที่ตำบลนาเกลือด้วยการขยายไหล่ทางให้กว้างขึ้น เพื่อให้รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์สามารถขับสวนทางกันได้อย่างปลอดภัย
ส่วนในอนาคตหากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการปรับปรุงเส้นทาง ก็จะสามารถดึงผู้ประกอบการจากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ตอนบน ให้มาขนถ่ายสินค้าในจังหวัดตรังได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ทางด่านศุลกากรกันตัง ก็เตรียมหารือไปที่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว หากได้รับความร่วมมือ ก็อาจจะหาจุดเทกอง เพื่อรองรับการขนถ่ายต่อไป แต่แผนการทั้งหมดนี้จะต้องสอดรับกัน เพื่อผลักดันให้จังหวัดตรังเป็นศูนย์กลางในการส่งออกสินค้าฝั่งตะวันตก และสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดตรังด้วย
สำหรับสถิติการขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง ขณะนี้เรือ 1 ลำ สามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ได้จำนวน 150-180 ตู้ ซึ่งทุกครั้งที่เรือสินค้าออกไป ก็จะสามารถบรรทุกได้เต็มพิกัด โดยในระยะเวลา 1 เดือน จะสามารถบรรทุกได้ประมาณ 8 เที่ยว แต่ด้วยศักยภาพของจังหวัดตรังในขณะนี้ ทำให้เรือสามารถออกไปส่งสินค้าได้ถึงสัปดาห์ละ 3 ลำ หรือประมาณเดือนละ 12 ลำ จนทำให้มีรายได้ให้เข้าสู่ประเทศไทยปีละหลายหมื่นล้านบาท