พัทลุง - เกษตรเมืองลุง ผลิตก๊าชชีวภาพจากมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทน หวังลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายสมชาติ นาควิโรจน์ เกษตรตำบลพญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง ผู้คิดค้นการผลิตก๊าชชีวภาพ แบบถังลอย กล่าวว่า ปัจจุบันราคาก๊าชหุงต้มได้ปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตนจึงได้คิดค้นการผลิตก๊าชชีวภาพแบบถังลอย ให้เกษตรกรในพื้นที่ ต.พญาขัน ทดลองใช้นำร่อง จำนวน 2 ครัวเรือน
ปรากฏว่าได้ผลเกินเป้าหมาย และหากเทียบกับก๊าชหุงต้มที่ซื้อตามท้องตลาดทั่วไปไม่มีผลแตกต่างแต่อย่างใด นอกจากนี้ การผลิตก๊าชชีวภาพยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตใช้มูลสัตว์ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงอยู่แล้วในพื้นที่ ส่วนกากที่เหลือจากการผลิตก๊าชยังเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี นำไปใส่บำรุงต้นไม้ได้อีด้วย
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตก๊าชชีวภาพ ประกอบด้วย ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร จำนวน 5 ลูก ท่อพีวีซี และกรงเหล็กสำหรับวางถังพลาสติก โดยใช้งบประมาณไม่เกิน 15,000 บาท แต่คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะสามารถใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพถังพลาสติกที่ใช้ว่ามีความทนทานแค่ไหน
จ่าสิบเอกไพศาล ผลปราชญ์ เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 106 ม.5 ต.พญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง เป็น 1 ใน 2 ครัวเรือน ที่ทดลองใช้ก๊าชชีวภาพจากมูลสัตว์ กล่าวว่า ได้ทดลองทำมาตั้งแต่ปลายปี 2550 เนื่องจากราคาก๊าชปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งปกติในครัวเรือนของตน จะใช้ก๊าชหุงต้ม ประมาณเดือนละ 1 ถังเล็ก หรือประมาณ 100 บาท เมื่อหันมาใช้ก๊าชชีวภาพสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งสามารถนำกากที่เหลือจากการผลิตก๊าช ไปใส่ต้นไม้ได้อีกด้วย สำหรับการผลิตก๊าชชีวภาพในครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ในวงเงิน 15,000 บาท โดยใช้มูลวัวเป็นวัตถุดิบ
ด้าน นายปกรณ์ สงทอง เกษตรอำเภอเมืองพัทลุง กล่าวว่า การผลิตก๊าชชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือน สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จะร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง ขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ ต.พญาขัน
ขณะนี้เกษตรตำบลได้ประสานกับ อบต.พญาขัน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายสมชาติ นาควิโรจน์ เกษตรตำบลพญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง ผู้คิดค้นการผลิตก๊าชชีวภาพ แบบถังลอย กล่าวว่า ปัจจุบันราคาก๊าชหุงต้มได้ปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตนจึงได้คิดค้นการผลิตก๊าชชีวภาพแบบถังลอย ให้เกษตรกรในพื้นที่ ต.พญาขัน ทดลองใช้นำร่อง จำนวน 2 ครัวเรือน
ปรากฏว่าได้ผลเกินเป้าหมาย และหากเทียบกับก๊าชหุงต้มที่ซื้อตามท้องตลาดทั่วไปไม่มีผลแตกต่างแต่อย่างใด นอกจากนี้ การผลิตก๊าชชีวภาพยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตใช้มูลสัตว์ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงอยู่แล้วในพื้นที่ ส่วนกากที่เหลือจากการผลิตก๊าชยังเป็นปุ๋ยหมักอย่างดี นำไปใส่บำรุงต้นไม้ได้อีด้วย
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตก๊าชชีวภาพ ประกอบด้วย ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร จำนวน 5 ลูก ท่อพีวีซี และกรงเหล็กสำหรับวางถังพลาสติก โดยใช้งบประมาณไม่เกิน 15,000 บาท แต่คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะสามารถใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพถังพลาสติกที่ใช้ว่ามีความทนทานแค่ไหน
จ่าสิบเอกไพศาล ผลปราชญ์ เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 106 ม.5 ต.พญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง เป็น 1 ใน 2 ครัวเรือน ที่ทดลองใช้ก๊าชชีวภาพจากมูลสัตว์ กล่าวว่า ได้ทดลองทำมาตั้งแต่ปลายปี 2550 เนื่องจากราคาก๊าชปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งปกติในครัวเรือนของตน จะใช้ก๊าชหุงต้ม ประมาณเดือนละ 1 ถังเล็ก หรือประมาณ 100 บาท เมื่อหันมาใช้ก๊าชชีวภาพสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งสามารถนำกากที่เหลือจากการผลิตก๊าช ไปใส่ต้นไม้ได้อีกด้วย สำหรับการผลิตก๊าชชีวภาพในครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ในวงเงิน 15,000 บาท โดยใช้มูลวัวเป็นวัตถุดิบ
ด้าน นายปกรณ์ สงทอง เกษตรอำเภอเมืองพัทลุง กล่าวว่า การผลิตก๊าชชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือน สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จะร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง ขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ ต.พญาขัน
ขณะนี้เกษตรตำบลได้ประสานกับ อบต.พญาขัน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว