พัทลุง - นักวิชาการมองพัทลุง ต้องพัฒนาด้านการเกษตรเป็นหลัก เชื่อจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพัทลุง นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากร เจ้าหน้าที่การจัดทำแผนโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความสามารถของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าว ให้สนองความต้องการของประชาชน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดพัทลุง ข้อมูลบางส่วนยังไม่สมบูรณ์และไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ยังขาดการประสานความร่วมมือระหว่างภาคราชการ และภาคเอกชน ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้ กล่าวว่า การวางแผนพัฒนาจังหวัดต้องเริ่มจากส่วนล่าง ไปสู่ส่วนบน คือ ต้องรู้ความต้องการของประชาชน นอกจากนี้ ภาคราชการและภาคเอกชนต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในส่วนของจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี 2542-2549 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด หรือ GPP ประมาณ 18,000 ล้านบาท หากเทียบใน 14 จังหวัดภาคใต้แล้ว จังหวัดพัทลุงอยู่ในลำดับที่ 11 ทั้งนี้ เนื่องจากการผลิตสินค้าในจังหวัดพัทลุง ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากจังหวัดอื่นเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมมีน้อย
นอกจากนี้ จากข้อมูลเมื่อปี 2547-2549 พบว่าอัตราการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง อยู่ในระหว่าง 6-8% โดยสินค้าที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง คือ สินค้าเกษตร ดังนั้น การวางแผนพัฒนาจังหวัดจะต้องผลักดันทางด้านเกษตรเป็นตัวหลัก จึงจะทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพัทลุง นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากร เจ้าหน้าที่การจัดทำแผนโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความสามารถของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าว ให้สนองความต้องการของประชาชน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดพัทลุง ข้อมูลบางส่วนยังไม่สมบูรณ์และไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ยังขาดการประสานความร่วมมือระหว่างภาคราชการ และภาคเอกชน ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้ กล่าวว่า การวางแผนพัฒนาจังหวัดต้องเริ่มจากส่วนล่าง ไปสู่ส่วนบน คือ ต้องรู้ความต้องการของประชาชน นอกจากนี้ ภาคราชการและภาคเอกชนต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในส่วนของจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี 2542-2549 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด หรือ GPP ประมาณ 18,000 ล้านบาท หากเทียบใน 14 จังหวัดภาคใต้แล้ว จังหวัดพัทลุงอยู่ในลำดับที่ 11 ทั้งนี้ เนื่องจากการผลิตสินค้าในจังหวัดพัทลุง ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากจังหวัดอื่นเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมมีน้อย
นอกจากนี้ จากข้อมูลเมื่อปี 2547-2549 พบว่าอัตราการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง อยู่ในระหว่าง 6-8% โดยสินค้าที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง คือ สินค้าเกษตร ดังนั้น การวางแผนพัฒนาจังหวัดจะต้องผลักดันทางด้านเกษตรเป็นตัวหลัก จึงจะทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงดีขึ้น