ยะลา - ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถอนเรื่องร้องเรียนข้าราชการ 160 ราย หลังเกิดความมั่นใจในงานบริการของศูนย์ดำรงธรรม ศอ.บต.
วันนี้ (23 ม.ค.) เวลา 13.30 น.ภายในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา นายพรชัย หลิมตระกูล หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยถึงการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม ในระยะเวลาที่ผ่านมา ว่า สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน มุ่งเน้นให้พี่น้องประชาชนมีสิทธิในการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถร้องทุกข์ โดยอำนาจของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
เช่น การร้องทุกข์เกี่ยวกับ เรื่องขอความเป็นธรรม ร้องทุกข์เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ แจ้งเบาะแส และอื่นๆ โดยการดำเนินงานจะเปิดโอกาสให้ประชาชนปรึกษาหารือ แนะนำให้สามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และร่วมกันตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การทุจริต ไม่สนับสนุน นโยบายสันติสุข
หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรม ศอ.บต.กล่าวอีกว่า ผลจากการปฏิบัติงานในช่วงปีที่ผ่านมา ทางศูนย์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา และสร้างความพึงพอใจให้แก่พี่น้องประชาชน จนกระทั่งทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการอำนวยความเป็นธรรมของภาครัฐมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้จากสถิติในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากพี่น้องประชาชน ในปี 2550 มีจำนวนถึง 432 ราย
นอกจากนั้น ได้มีพี่น้องประชาชนเข้ามาขอคำปรึกษาหารือ หรือแม้แต่บางรายมีความตั้งใจจะเข้ามาร้องทุกข์ แต่เมื่อได้รับการชี้แจงและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ที่ให้คำแนะนำทั้งด้านกฎหมาย
รวมทั้งการใช้โทรศัพท์หมายเลข 1880 ก็มิได้มีการร้องเรียนเพิ่มเติมถึง 160 ราย ซึ่งการดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้ยึดนโยบายของ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอให้ทุกคน ให้บริการประชาชนอย่างเป็นมิตร และให้ดูแลอย่างดี ตามสโลแกน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา จึงส่งผลให้ประชาชนจำนวนมาก เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการให้บริการของ ศอ.บต.
วันนี้ (23 ม.ค.) เวลา 13.30 น.ภายในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา นายพรชัย หลิมตระกูล หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยถึงการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม ในระยะเวลาที่ผ่านมา ว่า สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน มุ่งเน้นให้พี่น้องประชาชนมีสิทธิในการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถร้องทุกข์ โดยอำนาจของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
เช่น การร้องทุกข์เกี่ยวกับ เรื่องขอความเป็นธรรม ร้องทุกข์เกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ แจ้งเบาะแส และอื่นๆ โดยการดำเนินงานจะเปิดโอกาสให้ประชาชนปรึกษาหารือ แนะนำให้สามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และร่วมกันตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การทุจริต ไม่สนับสนุน นโยบายสันติสุข
หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรม ศอ.บต.กล่าวอีกว่า ผลจากการปฏิบัติงานในช่วงปีที่ผ่านมา ทางศูนย์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา และสร้างความพึงพอใจให้แก่พี่น้องประชาชน จนกระทั่งทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการอำนวยความเป็นธรรมของภาครัฐมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้จากสถิติในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากพี่น้องประชาชน ในปี 2550 มีจำนวนถึง 432 ราย
นอกจากนั้น ได้มีพี่น้องประชาชนเข้ามาขอคำปรึกษาหารือ หรือแม้แต่บางรายมีความตั้งใจจะเข้ามาร้องทุกข์ แต่เมื่อได้รับการชี้แจงและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ที่ให้คำแนะนำทั้งด้านกฎหมาย
รวมทั้งการใช้โทรศัพท์หมายเลข 1880 ก็มิได้มีการร้องเรียนเพิ่มเติมถึง 160 ราย ซึ่งการดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้ยึดนโยบายของ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขอให้ทุกคน ให้บริการประชาชนอย่างเป็นมิตร และให้ดูแลอย่างดี ตามสโลแกน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา จึงส่งผลให้ประชาชนจำนวนมาก เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการให้บริการของ ศอ.บต.