xs
xsm
sm
md
lg

ชาวบ้านควนขนุนขอที่ดินคืนหลังสละให้สร้าง “ม.ทักษิณ” แต่ถูกทิ้งร้าง 15 ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


พัทลุง – ชาวบ้านควนขนุนบุกค้านสร้างพุทธมณฑลภาคใต้ เผยที่ดินดังกล่าวยกให้สร้าง ม.ทักษิณ ทั้งที่มีดินทำกินน้อยนิด แต่ถูกปล่อยร้างกว่า 15 ปี เผยจังหวัดทำหูทนลมปล่อยให้ผู้รับเหมาเข้ามาจัดการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หมู่ 6 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีตัวแทนชาวพนางตุง ประมาณ 10 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างของ ม.ทักษิณ ได้เข้าไปคัดค้านการก่อสร้างของมหาวิทยาลัย

หลังจากมหาวิทยาลัยและจังหวัดพัทลุง ดำเนินการตามสัญญาในการคืนที่ดินให้ชาวบ้าน 300 ไร่ ตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับชาวบ้าน โดยขณะเข้าไปคัดค้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบไม่ต่ำกว่า 30 นาย ได้ตรึงกำลังรักษาความสงบบริเวณก่อสร้างอย่างเข้มงวด

นายเปลื้อม จันทร์สุขศรี อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 167 หมู่ 6 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ตัวแทนผู้ได้รับความเดือดร้อน กล่าวว่า จากที่ดิน 1,500 ไร่ ที่มหาวิทยาลัยเคยมาขอจากชาวบ้าน เพื่อก่อสร้างมหาวิทยาลัยทักษิณ และชาวบ้านได้ยกที่ดินทำกินให้นั้น

ผ่านไป 15 ปี มหาวิทยาลัยกลับไปสร้างที่อื่น และปล่อยทิ้งที่ดินไว้เฉยๆ ชาวบ้านซึ่งมีที่ดินทำกินแค่เพียงเล็กน้อย จึงอยากขอที่ดินคืน เพื่อนำกลับมาทำกิน โดยได้มีการประชุมกันหลายรอบ กับทางจังหวัดพัทลุง แต่สรุปสุดท้ายชาวบ้านได้รับที่ดินคืนเพียง 300 ไร่ จากผู้เดือดร้อนทั้งหมด 22 ราย

โดยทางจังหวัดสัญญาว่าจะมารังวัดที่ดินให้ชัดเจน แต่ก็ไม่ทำตามสัญญา และปล่อยให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง เข้ามาดำเนินการก่อสร้างพุทธมณฑล และเตรียมจะทำแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว โดยจะปลูกบัวหลากสี แต่ชาวบ้าน กลับต้องสูญเสียที่ทำกินโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงอยากเรียกร้องให้จังหวัดพัทลุงดำเนินการทุกอย่างให้ชัดเจนตามสัญญา

รายงานจากเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลพนางตุง เปิดเผยว่า ในพื้นที่ 1,500 ไร่ ที่มหาวิทยาลัยปักป้ายห้ามราษฎรเข้าไปปลูกพืชผลนั้น ถูกทิ้งร้างมานานกว่า 15 ปี โดยมหาวิทยาลัยเอง ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร และเมื่อมีชาวบ้านบุกรุกทำกิน เพราะเห็นว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้ประโยชน์ และที่ดินดังกล่าว ก็เคยทำกินกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แม้จะไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ ชาวบ้านก็โดนฟ้องดำเนินคดี และคดียังไม่สิ้นสุด

หากประเมินมูลค่าที่ชาวบ้านต้องเสียโอกาสทำกินในระยะ 15 ปี จาก 150 ครอบครัว ในหมู่ 6 ตำบลพนางตุง มีการประมาณการว่า แต่ละครอบครัว เคยมีรายได้บนผืนดินดังกล่าว ครอบครัวละ 2 หมื่นบาทต่อปี เมื่อรวมกัน 150 ครอบครัว คิดเป็นค่าเสียโอกาสปีละ 3 ล้านบาท รวมกัน 15 ปี มีค่าเสียโอกาสรวมกันทั้งหมู่บ้าน 45 ล้านบาท

นอกจากนี้ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังคงเป็นสภาตำบลเมื่อปี 2543 ได้เคยทำหนังสือขอที่ดินคืนจาก ม.ทักษิณ เพื่อนำกลับมาดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 1 ครั้ง กระทั่งปี 2548 สภาตำบล เปลี่ยนฐานะ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ยังได้ทำหนังสือขอที่ดินคืนจาก ม.ทักษิณ อีก 2 ครั้ง เพราะเห็นว่า ม.ทักษิณ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว กระทั่งมีโครงการก่อสร้างพุทธมณฑลภาค


กำลังโหลดความคิดเห็น